ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์ ข้ามคาบสมุทรภาคใต้ สรุปดังนี้

ศ. ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ภาคีสมาชิก “ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์” หมายถึง ศาสตร์ในการบริหาร จัดการและพัฒนาประเทศ โดยใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ผสมกับรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และการต่างประเทศ ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศในยุคนี้โดยการศึกษาที่ตั้งของประเทศไทยเชื่อมโยงด้านกายภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน ทะเล และมหาสมุทร ดังนั้นการพัฒนาประเทศข้ามชายแดน จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจโดยมีสาระสำคัญได้ดังนี้ ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง  ติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งประกอบด้วย ๗ …

ถึงเวลาที่เด็กไทยควรเติบโตไปตามที่เขาชอบ ถนัด และสนใจ

ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ภาคีสมาชิก ปัจจุบันการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของประเทศไทย ส่งผลให้เด็กเรียนอย่างไม่มีความสุข ไม่ได้พัฒนาความถนัดและความสนใจของตนเอง ความแตกต่างของเด็กไม่ได้รับความสนใจและผลักดันให้เกิดขึ้นในการศึกษา เด็กไม่มีโอกาสคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่แสดงออกที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม ผลเสีย คือเราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ยากในสังคมไทย และประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้นำในอาเซียนได้ยาก  ปัญหาเหล่านี้มีส่วนมาจากพฤติกรรมการสอนของครูไทยที่ครูเป็นคนกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน และการดำเนินการสอนทั้งหมด แต่นักวิชาการเห็นตรงกันว่าผู้เรียนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งความพร้อม ความสนใจ และลักษณะของผู้เรียน สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีพัฒนาทางจิตตปัญญาตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา …

ฐานปรัชญาไทยจากเบคอน

ศ.กีรติ บุญเจือราชบัณฑิต การศึกษาปรัชญาได้พัฒนาวิจัยการวิเคราะห์ วิจารณ์ และสังเคราะห์ เจาะลึกได้มากพอสมควร หากเราลองนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวมาค้นหารากเหง้าของปรัชญาไทย โดยเริ่มจากความคิดของฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon ๑๕๖๓-๑๖๒๖) นักปรัชญาอังกฤษสายประสบการณ์นิยมที่สังเกตข้อมูลได้ลุ่มลึก และการตีความอันเฉียบคมของนักปรัชญาฝรั่งเศสสายเหตุผลนิยมนามว่าเรอเน เดส์การ์ต (Rene Descartes ๑๕๙๖-๑๖๕๐) ฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon  ๑๕๖๑-๑๖๒๖) ได้สังเกตจากเกณฑ์ความจริงของโซเครติส (Socrates …

เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากรและระบบการปกครองกับอนาคตของประเทศไทย

ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมราชบัณฑิต อนาคตของประเทศไทยในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิเสรีภาพ ความยั่งยืนจะเป็นได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำและความรับผิดชอบของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะรัฐบาล นักการเมือง และผู้นำทุกระดับในสังคมที่มีอำนาจในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวใน ๕ ประเด็นคือ เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากร ระบบการศึกษา การดูแลและการตรวจสอบของสังคมโดยมีหลักนิติธรรมกำกับการทำงาน ซึ่งทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบในการทำงานเพื่อเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย     เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ …

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์สวัสดิการ โดยผู้เขียนเรียงลำดับพัฒนาการ ทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งสำนักคลาสสิก และสำนักนีโอคลาสสิก จนมาถึงปัจจุบัน โดยสรุปประเด็นหลักของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการว่าเป็ นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคน ทั้งหมดในสังคม จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมหรือรายได้ประชาชาติ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นได้ มากก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไกตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่เห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการ ยอมรับสภาวะการกระจายรายได้ตามที่ดำรงอยู่ซึ่งอาจมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐบาลจึงควรให้น้ำหนักแก่ อรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจของคนจนมากกว่าคนรวย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในแนวของสิ่งที่ควรจะเป็น (normative …

คดีพญาระกา–บทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทย

นายกฤษฎา บุณยสมิตภาคีสมาชิก คดีพญาระกาเป็นคดีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยคดีหนึ่ง ซึ่งเป็นคดีพิพาทในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เนื่องจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์บทละครชื่อ “ปักษีปกรณัมเรื่องพญารกา” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ มีข้อความหมิ่นประมาทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศอย่างร้ายแรง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ทรงเข้าพระทัยผิดว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบเรื่องบทละครแล้ว แต่ไม่ทรงว่ากล่าวอย่างไรในกรณีนี้ จึงทรงโทมนัสน้อยพระทัยยิ่ง ทรงเห็นในขณะนั้นว่าไม่มีทางใดจะทำได้อีกนอกจากการลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แล้วพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ ไปโดยมิได้กราบบังคมทูลลาตามธรรมเนียมของเจ้านาย จากนั้นผู้พิพากษาจำนวน ๒๘ นาย ทูลเกล้าฯ …

โฉมหน้าครอบครัวไทย : อดีตและปัจจุบัน

รศ. ดร.ชาย โพธิสิตาภาคีสมาชิก บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะเสนอภาพครอบครัวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ว่าด้วยครอบครัวไทยในอดีต กับส่วนที่เกี่ยวกับความหลากหลายของครอบครัวในปัจจุบัน นักวิชาการไทยหลายคนเชื่อกันว่า ในอดีตครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจและสังคมพัฒนามากขึ้น รูปแบบการอยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเชื่อนี้อิงอยู่กับแนวคิดที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงครอบครัวในสังคมตะวันตก บทความนี้เสนอว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ในอดีตเป็นครอบครัวเดี่ยว และเป็นเช่นนั้นมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ครอบครัวเดี่ยวจะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ในปัจจุบันครอบครัวไทยมีความหลากหลายมากขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่เราอาจจำแนกครอบครัวในปัจจุบันได้ 7 ประเภท คือ …

สุนทรียภาพของชีวิตกับสภาพปัญหาของสังคมไทย

ดร.รวิช ตาแก้วภาคีสมาชิก แนวความคิดที่แตกต่างในการอบรมเรียนรู้โลกและชีวิต สร้างทรรศนะการมองโลกและชีวิตที่แตกต่างกัน สภาพปัญหาสังคมไทยเป็นภาพส่วนย่อยของสังคมโลก ความแตกต่างทางความคิดสร้างทรรศนะในการรับรู้สุนทรียภาพของชีวิตที่แตกต่าง คนไทยยุคใหม่กับยุคเก่าจึงมีทรรศนะที่แตกต่างกัน  ท่ามกลางความแตกต่างในการมองโลกและชีวิตทำอย่างไรให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แนวคิดการรับรู้ทางสุนทรียศาสตร์มีสองแนวคิด คือการรับรู้สุนทรียศาสตร์แบบทางตรงและทางอ้อม การรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางตรงเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันตกซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากสิ่งภายนอกตนเองและแสดงออกตามสิ่งที่ตนชอบและรับรู้ได้ มีข้อดีคือเป็นการรับรู้และเรียนรู้ที่สามารถรับรู้ร่วมกันกับผู้อื่นได้ และการรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางอ้อมเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันออก ซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากรูปแบบสัญลักษณ์เฉพาะตามประเพณี วัฒนธรรมร่วมกับการเข้าใจตนเองซึ่งเป็นสิ่งภายในและเชื่อมโยงไปสู่สิ่งภายนอก แนวคิดในการสร้างสุนทรียภาพของชีวิตที่แท้คือการสร้างความสุขแท้ตามความเป็นจริงตามสัญชาตญาณปัญญามนุษย์ แนวทางการสร้างความสอดคล้องในสังคมยุคใหม่กับยุคเก่าคือ การสร้างการรับรู้ เรียนรู้ทางสุนทรียภาพให้แก่เยาวชนด้วยการผสมผสานความรู้จากภายนอก(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันตก)และความรู้จากภายใน(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันออก) โดยการใช้หลักความสอดคล้อง สมดุลตามครรลองของแต่ละบุคคลให้เกิดขึ้นจากการเข้าใจตนเองและเรียนรู้ตนเอง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ว่า รู้อะไร …

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล : ความก้าวหน้าของฟินเทคไทย (Digital Transformation: Progress of Thailand’s FinTech)

ศ. ดร.พรชัย ชุนหจินดาภาคีสมาชิก ผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ระบบนิเวศทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค (FinTech) มาพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุดจนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการฟินเทคของไทยที่ประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ประเทศไทยมีความคืบหน้าที่สำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น แต่มีการเตรียมความพร้อมในกลุ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น นักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาแอปพลิเคชัน  ภาคการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการเร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมและให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด  ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล คือ การจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ …

สวัสดิการสังคม : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสังคมไทย

ผศ. ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรงราชบัณฑิต บทความนี้เป็นการศึกษาสวัสดิการสังคมในสังคมไทยโดยเน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยสูงอายุนั้นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุจึงต้องการการดูแลและเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกหลาน ญาติ และสังคมส่วนรวม การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงอายุ (Aging society) แนวโน้มการเพิ่มประชากรในวัยสูงอายุทวีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ บทความนี้เป็นการศึกษาด้านสวัสดิการสังคมในสังคมไทย โดยแบ่งเป็น ๕ ส่วน คือ ๑) บทนำ  ๒) ความหมายและปัจจัยที่ส่งผลต่อสวัสดิการสังคม ๓) กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสังคมไทย ซึ่งในส่วนนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้สูงอายุ  …

ไทยเป็นอันดับหนึ่งหรือเปล่า

ศ. ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตรภาคีสมาชิก นักการเงินมีชื่อเสียงอ้างถึงรายงานของบริษัทการเงินใหญ่ของโลก Credit Suisse (CS) บอกว่าไทยเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกส่งผลให้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมและสื่อมวลชนว่าจริงหรือ? บทความนี้ประมวลข้อมูลจากรายงานของ CS การอภิปรายกันดังกล่าว และแสดงข้อมูลจากงานศึกษาของคณะวิจัยที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ที่พบว่าไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงด้านทรัพย์สินจริง แต่ที่สุดในโลกหรือไม่ ตอบยากเพราะผู้มั่งมีไม่เปิดเผยข้อมูล และการเปรียบเทียบระหว่างประเทศในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย รายงานของ CS เองไม่ได้บอกเช่นนั้น แต่ได้แสดงข้อมูลว่าไทยอยู่ในกลุ่มประเทศเหลื่อมล้ำสูงด้านทรัพย์สินใน 40 ประเทศที่ศึกษา ประเด็นจึงไม่ใช่ว่า ไทยเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกหรือไม่ …