แนวทางเชิงรุกในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ภาคีสมาชิก โจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญของไทย คือ การยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้นวัตกรรมเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม (Innovation Country) และสังคมหลังนวัตกรรม (Post-Innovation Society) ในอันดับที่ดียิ่งขึ้น  ในการยกระดับคุณภาพการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษานั้น มีเป้าหมายคือ ครูรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิบัติงานสร้างนวัตกร (Creating innovator) และผลลัพธ์ด้านสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน โดยมีแนวทางเชิงรุกในการยกระดับคุณภาพการผลิตครู คือ …

การศึกษาแนวคิดทางปรัชญาจากอัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด (Søren Aabye Kierkegaard)

รศ.วนิดา ขำเขียวภาคีสมาชิก  การศึกษาปรัชญานอกจากเราจะใช้วิธีศึกษาจากงานเขียนในเชิงวิชาการที่แสดงถึงตัวระบบปรัชญา   แล้ว เรายังศึกษาได้จากงานเขียนอัตชีวประวัติ ของนักปรัชญาซึ่งทำให้ทราบถึงประวัติชีวิตและลักษณะนิสัยที่ส่งผลให้เกิดแนวคิดทางปรัชญา ดังตัวอย่างซึ่งได้ยกขึ้นมาในที่นี้คือ อัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด  (Søren Aabye Kierkegaard) ผู้เป็นนักปฏิวัติแนวคิดในศตวรรษที่ 19 และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของลัทธิอัตถิภาวนิยม เพราะเป็นผู้ให้ความสำคัญต่ออัตถิภาวะและนำเสนอ แนวคิดในรูปแบบงานเขียนที่ลดทอนความเป็นวิชาการมาใช้วิธีที่แสดงโวหารในเชิงวรรณกรรม เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าถึงความมีอยู่ของตนเองอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องยอมรับและเข้าใจความหมายของการมีอยู่ และรู้ว่าจะอยู่อย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา อันจะนำไปสู่การเลือกและการตัดสินใจอย่างมีเสรีภาพด้วยตนเอง และมีความกล้าที่จะเผชิญกับความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก จึงมีผลต่อจิตใจที่ทำให้สามารถกระโดดขึ้นสู่ระดับขั้นในแต่ละระดับของอัตถิภาวะซึ่งต้องอาศัยการเลือกและการตัดสินใจ คีร์เคกอร์ดแบ่งอัตถิภาวะออกเป็น …

บ้านกาญจนาภิเษก : บ้านหลังใหม่ที่ไร้กำแพง

นางสุนันท์ ไทยลาภาคีสมาชิก ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ดำเนินการโดยคุญหญิงจันทนี  สันตบุตร ณ พื้นที่ ๓๒ ไร่ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นต้นแบบของการแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยาเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด ศูนย์ฝึกฯ บ้านกาญจนาภิเษกรับเยาวชนอายุระหว่าง ๑๖–๒๔ ปีจากสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ๔ แห่ง คือ บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา …

โฉมหน้าครอบครัวไทย : อดีตและปัจจุบัน

รศ. ดร.ชาย โพธิสิตาภาคีสมาชิก บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะเสนอภาพครอบครัวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ว่าด้วยครอบครัวไทยในอดีต กับส่วนที่เกี่ยวกับความหลากหลายของครอบครัวในปัจจุบัน นักวิชาการไทยหลายคนเชื่อกันว่า ในอดีตครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจและสังคมพัฒนามากขึ้น รูปแบบการอยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเชื่อนี้อิงอยู่กับแนวคิดที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงครอบครัวในสังคมตะวันตก บทความนี้เสนอว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ในอดีตเป็นครอบครัวเดี่ยว และเป็นเช่นนั้นมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ครอบครัวเดี่ยวจะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ในปัจจุบันครอบครัวไทยมีความหลากหลายมากขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่เราอาจจำแนกครอบครัวในปัจจุบันได้ 7 ประเภท คือ …

รัฐบัญญัติมอร์ริลล์ (ค.ศ. ๑๘๖๒) กับการพัฒนาการอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา : กรณีมหาวิทยาลัยแลนด์แกรนต์

ผศ. ดร.วงเดือน นาราสัจจ์ภาคีสมาชิก รัฐบัญญัติมอร์ริลล์ ค.ศ. ๑๘๖๒ หรือรัฐบัญญัติวิทยาลัยแลนด์แกรนต์ ค.ศ. ๑๘๖๒ (Land-Grant College Act of 1862) เป็นรัฐบัญญัติที่กำหนดให้จัดสรรที่ดินสาธารณะในทุกมลรัฐหรือดินแดนอิสระที่ยังไม่มีสถานะเป็นมลรัฐ เพื่อให้นำไปหารายได้สำหรับเป็นทุนในการก่อตั้งวิทยาลัยที่เน้นการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรมและการช่าง รวมทั้งวิชาชีพอื่นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เช่น คหกรรมศาสตร์ สัตวแพทย์  รัฐบัญญัติฉบับนี้เสนอโดยนายจัสติน สมิท มอร์ริลล์ (Justin Smith …

The Ordeal–ชัยชนะของการปฏิวัติรัสเซีย

ศ.สัญชัย สุวังบุตรภาคีสมาชิก The Ordeal เป็นนวนิยายชุดขนาดยาวเชิงประวัติศาสตร์รวม ๓ เล่มจบ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ของอะเล็กเซย์ ตอลสตอย นักเขียนเรืองนามของสหภาพโซเวียต  งานประพันธ์เรื่องนี้เขียนขึ้นในช่วงที่รัฐบาลบอลเชวิคกำลังรณรงค์สร้างชาติรัสเซียใหม่บนเส้นทางสังคมนิยมและประเทศเพิ่งฟื้นตัวจากความผันผวนของสงครามกลางเมืองรัสเซีย (ค.ศ. ๑๙๑๘–๑๙๒๑)  The Ordeal แบ่งเป็น ๓ เล่ม คือ The Sisters, 1918 และ Bleak Morning …

สังคมเปิดกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Open Society and Democracy)

ผศ.สุนัย ครองยุทธภาคีสมาชิก บทความนำเสนอทรรศนะทางการเมืองของ เซอร์คาร์ล พอพเพอร์ (Sir Karl Popper, 1920-1994)  นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ทรรศนะทางการเมืองของพอพเพอร์เกิดจากการนำปรัชญาว่าด้วยความเป็นจริง ปรัชญาว่าด้วยความรู้ โดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์มาพัฒนาปรัชญาการเมือง พอพเพอร์ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมเชิงวิพากษ์ (critical rationalism) มีทรรศนะเกี่ยวกับความเป็นจริง มนุษย์ ความรู้ และการเมือง ต่างกับนักปรัชญาจิตนิยมอย่างเพลโต (Plato) และเฮเกิล …

ยุทธศาสตร์ชาติและการนำไปสู่การปฏิบัติ

ศ. ดร.วรเดช จันทรศรภาคีสมาชิก ยุทธศาสตร์ชาติเป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยที่วางกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กรอบแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติได้ถูกกำหนดไว้รวม ๖ ด้าน คือ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  ในกรอบการพัฒนายุทธศาสตร์แต่ละด้านประกอบไปด้วยจุดเน้นและประเด็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีความสลับซับซ้อนในกระบวนการของการนำไปปฏิบัติสูงมาก ต้องมีการขับเคลื่อนให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เชื่อมสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด ตลอดจนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน และต้องมีแผนงบประมาณเชิงบูรณาการ ต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ มีความสามารถในการหาแหล่งรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย …

สุนทรียภาพของชีวิตกับสภาพปัญหาของสังคมไทย

ดร.รวิช ตาแก้วภาคีสมาชิก แนวความคิดที่แตกต่างในการอบรมเรียนรู้โลกและชีวิต สร้างทรรศนะการมองโลกและชีวิตที่แตกต่างกัน สภาพปัญหาสังคมไทยเป็นภาพส่วนย่อยของสังคมโลก ความแตกต่างทางความคิดสร้างทรรศนะในการรับรู้สุนทรียภาพของชีวิตที่แตกต่าง คนไทยยุคใหม่กับยุคเก่าจึงมีทรรศนะที่แตกต่างกัน  ท่ามกลางความแตกต่างในการมองโลกและชีวิตทำอย่างไรให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แนวคิดการรับรู้ทางสุนทรียศาสตร์มีสองแนวคิด คือการรับรู้สุนทรียศาสตร์แบบทางตรงและทางอ้อม การรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางตรงเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันตกซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากสิ่งภายนอกตนเองและแสดงออกตามสิ่งที่ตนชอบและรับรู้ได้ มีข้อดีคือเป็นการรับรู้และเรียนรู้ที่สามารถรับรู้ร่วมกันกับผู้อื่นได้ และการรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางอ้อมเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันออก ซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากรูปแบบสัญลักษณ์เฉพาะตามประเพณี วัฒนธรรมร่วมกับการเข้าใจตนเองซึ่งเป็นสิ่งภายในและเชื่อมโยงไปสู่สิ่งภายนอก แนวคิดในการสร้างสุนทรียภาพของชีวิตที่แท้คือการสร้างความสุขแท้ตามความเป็นจริงตามสัญชาตญาณปัญญามนุษย์ แนวทางการสร้างความสอดคล้องในสังคมยุคใหม่กับยุคเก่าคือ การสร้างการรับรู้ เรียนรู้ทางสุนทรียภาพให้แก่เยาวชนด้วยการผสมผสานความรู้จากภายนอก(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันตก)และความรู้จากภายใน(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันออก) โดยการใช้หลักความสอดคล้อง สมดุลตามครรลองของแต่ละบุคคลให้เกิดขึ้นจากการเข้าใจตนเองและเรียนรู้ตนเอง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ว่า รู้อะไร …

ล้านนา-เชียงใหม่ : ส่งบรรณาการไปจีน สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง

ศ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียวภาคีสมาชิก ดินแดนล้านนา-เชียงใหม่ เอกสาร จีนเรียกว่า “ปาไป่สีฟู” ปรากฏใน “จดหมายเหตุประจำรัชกาล” ของจักรพรรดิจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน  เรียกว่า “หยวนสื่อ” และเอกสารสมัยราชวงศ์หมิง หรือ “จดหมายเหตุประจำรัชกาล” เรียกว่า “หมิงสื่อ”   อาลักษณ์ของราชสำนักจีนบันทึกพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ของจักรพรรดิทุกวัน  พร้อมกับลงวันที่  เดือน และปีศักราช  จดหมายเหตุประจำรัชกาลของจีนจึงเป็นเอกสารหรือหลักฐานทางสำคัญประวัติศาสตร์  จดหมายเหตุฯได้บันทึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างล้านนากับราชสำนักจีน ตั้งแต่สมัยจักรพรรดิคุบไลข่าน  …

การตั้งถิ่นฐานของสังคมไทย : ปริทัศน์เชิงภูมิศาสตร์มนุษย์

ศ. ดร.มนัส สุวรรณราชบัณฑิต ภูมิศาสตร์ (Geography) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นดินหรือพื้นโลกสามารถแบ่งสาระได้ออกเป็น 3 แขนงคือ ภูมิศาสตร์กายภาพ (Physical Geography) ภูมิศาสตร์มนุษย์ (Human Geography) และเทคนิคทางภูมิศาสตร์ (Techniques in Geography)  ในแขนงภูมิศาสตร์มนุษย์เองยังสามารถแบ่งออกเป็นแขนงย่อยได้อีกหลายแขนงย่อย  ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน (Geography of Settlement) คือหนึ่งในแขนงย่อยเหล่านั้น  ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ …

ความลึกลับของสื่อสังคม (The Mystery of Social Media)

ศ.สุกัญญา สุดบรรทัดภาคีสมาชิก ปัจจุบันมีคนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตโดยมองไม่เห็นบางสิ่งที่ซ่อนอยู่ นั่นคือปรากฏการณ์อันเป็นผลจากกลไกข่าวสารขับเคลื่อนไปพร้อมกับกลไกของเกม กลไกข่าวสารประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คำนวณจับฟองข่าวสารในบริบทเดียวกันเข้ามาหากลุ่มเดียวกัน สร้างคลื่นอิทธิพลที่มองไม่เห็นแต่มีพลังอำนาจมาก เรามองไม่เห็นกลไกคอมพิวเตอร์ที่ลอบจดจำการกระทำของเรา แต่เราก็พอใจกับสิ่งที่คอมพิวเตอร์ส่งมาให้ เราเป็นเพียง”ผู้ใช้” ที่ไม่เคยเข้าใจความลึกลับและสลับซับซ้อนของสื่อสังคม บทความนี้วิเคราะห์กลไกข่าวสารในเรื่องฟองสบู่ ห้องเสียงสะท้อน จินตทัศน์ ผู้มีอิทธิพล ผู้ติดตาม และวงคลื่นอิทธิพลของชุมชนออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้ประกอบสร้างชุมชนที่มองไม่เห็น ครั้นผนวกกับทฤษฎีของเกมซึ่งกล่าวถึงการเล่นและผู้เล่นในโลกของเกมก็จะทำให้เห็นภาพความลึกและความลับของสื่อสังคมในที่สุดบทความนี้เน้นบริบทการสื่อสารการเมืองเพื่อเป็นข้อเตือนใจให้เราใช้สติและปัญญาเหนือกลไกคอมพิวเตอร์ รู้เท่าทันการนำสื่อไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว และสามารถออกจากเกมการต่อสู้และการทำลายล้างทางการเมืองมาสู่ระนาบของกระบวนการที่ช่วยกันค้นหาทางออกแบบสันติวิธี