ยุทธศาสตร์ชาติและการนำไปสู่การปฏิบัติ

ศ. ดร.วรเดช จันทรศร
ภาคีสมาชิก

ยุทธศาสตร์ชาติเป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยที่วางกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กรอบแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติได้ถูกกำหนดไว้รวม ๖ ด้าน คือ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  ในกรอบการพัฒนายุทธศาสตร์แต่ละด้านประกอบไปด้วยจุดเน้นและประเด็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีความสลับซับซ้อนในกระบวนการของการนำไปปฏิบัติสูงมาก ต้องมีการขับเคลื่อนให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เชื่อมสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด ตลอดจนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน และต้องมีแผนงบประมาณเชิงบูรณาการ ต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ มีความสามารถในการหาแหล่งรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย ต้องมีการจัดสรรงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ และมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องแยกกันปฏิบัติไปตามเป้าหมาย และต้องเชื่อมโยงผลการปฏิบัติให้เกิดผลรวมเชิงบูรณาการ เงื่อนไขของความสำเร็จจึงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และอาจจำเป็นต้องมีการดำเนินการในเชิงนโยบาย กล่าวคือ การดำเนินการสื่อสารและซักซ้อมความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง การออกแบบมาตรการหรือวิธีการในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง  การสร้างผู้นำและพัฒนาภาวะผู้นำ  การฝึกอบรมและให้ความรู้  การนำผู้ปฏิบัติระดับแนวหน้ามาเป็นกำลังสำคัญ การจัดระบบความรับผิดชอบ ตลอดจนการติดตาม ประเมินผลนโยบาย การปรับปรุงนโยบายและการนำไปปฏิบัติโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →

One thought on “ยุทธศาสตร์ชาติและการนำไปสู่การปฏิบัติ

  1. Pingback: 3sunshine

Comments are closed.