อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รู้สึกอย่างไรก่อนและหลังจากการลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ? : จิตวิทยาของความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (How did Mr. Abhisit Vejjajiva feel before and after resigning from the House of Representative member?: Psychology of cognitive dissonance)

รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณภาคีสมาชิก ความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (Cognitive dissonance) เลออน เฟสทิงเจอร์ (Leon Festinger, 1957) อธิบายว่า “ส่วนของการรู้คิด ๒ ส่วนมีความสัมพันธ์กันแบบไม่สอดคล้อง หากพิจารณาเฉพาะ ๒ ส่วนนี้เท่านั้น แล้วแง่มุมที่ตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นของส่วนหนึ่งเกิดตามหลังอีกส่วนหนึ่ง” (น. ๑๓) การวิจัยตามแนวทฤษฎีความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดมี ๔ แนว คือ …

คดีพญาระกา–บทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทย

นายกฤษฎา บุณยสมิตภาคีสมาชิก คดีพญาระกาเป็นคดีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยคดีหนึ่ง ซึ่งเป็นคดีพิพาทในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เนื่องจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์บทละครชื่อ “ปักษีปกรณัมเรื่องพญารกา” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ มีข้อความหมิ่นประมาทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศอย่างร้ายแรง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ทรงเข้าพระทัยผิดว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบเรื่องบทละครแล้ว แต่ไม่ทรงว่ากล่าวอย่างไรในกรณีนี้ จึงทรงโทมนัสน้อยพระทัยยิ่ง ทรงเห็นในขณะนั้นว่าไม่มีทางใดจะทำได้อีกนอกจากการลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แล้วพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ ไปโดยมิได้กราบบังคมทูลลาตามธรรมเนียมของเจ้านาย จากนั้นผู้พิพากษาจำนวน ๒๘ นาย ทูลเกล้าฯ …

เงินทดแทนเมื่อได้รับอันตรายจากการทำงาน

ศ.สุดาศิริ วศวงศ์ภาคีสมาชิก ประเทศไทยให้ความสำคัญในการคุ้มครองลูกจ้างจากการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายจากการทำงาน โดยตรากฎหมายเงินทดแทนขึ้นมาใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. ๒๔๙๙ และปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑  เจตนารมณ์ของกฎหมายเงินทดแทนก็คือ การจัดให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือ และขจัดความไม่แน่นอนในการที่จะเรียกค่าเสียหายที่ได้รับจากการประสบอันตราย เจ็บป่วย …

แนวทางเชิงรุกในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ภาคีสมาชิก โจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญของไทย คือ การยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้นวัตกรรมเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม (Innovation Country) และสังคมหลังนวัตกรรม (Post-Innovation Society) ในอันดับที่ดียิ่งขึ้น  ในการยกระดับคุณภาพการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษานั้น มีเป้าหมายคือ ครูรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิบัติงานสร้างนวัตกร (Creating innovator) และผลลัพธ์ด้านสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน โดยมีแนวทางเชิงรุกในการยกระดับคุณภาพการผลิตครู คือ …

การศึกษาแนวคิดทางปรัชญาจากอัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด (Søren Aabye Kierkegaard)

รศ.วนิดา ขำเขียวภาคีสมาชิก  การศึกษาปรัชญานอกจากเราจะใช้วิธีศึกษาจากงานเขียนในเชิงวิชาการที่แสดงถึงตัวระบบปรัชญา   แล้ว เรายังศึกษาได้จากงานเขียนอัตชีวประวัติ ของนักปรัชญาซึ่งทำให้ทราบถึงประวัติชีวิตและลักษณะนิสัยที่ส่งผลให้เกิดแนวคิดทางปรัชญา ดังตัวอย่างซึ่งได้ยกขึ้นมาในที่นี้คือ อัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด  (Søren Aabye Kierkegaard) ผู้เป็นนักปฏิวัติแนวคิดในศตวรรษที่ 19 และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของลัทธิอัตถิภาวนิยม เพราะเป็นผู้ให้ความสำคัญต่ออัตถิภาวะและนำเสนอ แนวคิดในรูปแบบงานเขียนที่ลดทอนความเป็นวิชาการมาใช้วิธีที่แสดงโวหารในเชิงวรรณกรรม เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าถึงความมีอยู่ของตนเองอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องยอมรับและเข้าใจความหมายของการมีอยู่ และรู้ว่าจะอยู่อย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา อันจะนำไปสู่การเลือกและการตัดสินใจอย่างมีเสรีภาพด้วยตนเอง และมีความกล้าที่จะเผชิญกับความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก จึงมีผลต่อจิตใจที่ทำให้สามารถกระโดดขึ้นสู่ระดับขั้นในแต่ละระดับของอัตถิภาวะซึ่งต้องอาศัยการเลือกและการตัดสินใจ คีร์เคกอร์ดแบ่งอัตถิภาวะออกเป็น …

บ้านกาญจนาภิเษก : บ้านหลังใหม่ที่ไร้กำแพง

นางสุนันท์ ไทยลาภาคีสมาชิก ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ดำเนินการโดยคุญหญิงจันทนี  สันตบุตร ณ พื้นที่ ๓๒ ไร่ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นต้นแบบของการแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยาเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด ศูนย์ฝึกฯ บ้านกาญจนาภิเษกรับเยาวชนอายุระหว่าง ๑๖–๒๔ ปีจากสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ๔ แห่ง คือ บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา …

โฉมหน้าครอบครัวไทย : อดีตและปัจจุบัน

รศ. ดร.ชาย โพธิสิตาภาคีสมาชิก บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะเสนอภาพครอบครัวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ว่าด้วยครอบครัวไทยในอดีต กับส่วนที่เกี่ยวกับความหลากหลายของครอบครัวในปัจจุบัน นักวิชาการไทยหลายคนเชื่อกันว่า ในอดีตครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจและสังคมพัฒนามากขึ้น รูปแบบการอยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเชื่อนี้อิงอยู่กับแนวคิดที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงครอบครัวในสังคมตะวันตก บทความนี้เสนอว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ในอดีตเป็นครอบครัวเดี่ยว และเป็นเช่นนั้นมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ครอบครัวเดี่ยวจะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ในปัจจุบันครอบครัวไทยมีความหลากหลายมากขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่เราอาจจำแนกครอบครัวในปัจจุบันได้ 7 ประเภท คือ …

ทำไมจึงต้องสร้างความฉลาดรู้ : ศึกษาจากปรากฏการณ์และทำนายอนาคต

โครงการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร เรื่อง ทำไมจึงต้องสร้างความฉลาดรู้ : ศึกษาจากปรากฏการณ์และทำนายอนาคต โดย สํานักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร (ห้อง ๑๐๑)อาคารประชุมสุข อาชวอํารุง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รัฐบัญญัติมอร์ริลล์ (ค.ศ. ๑๘๖๒) กับการพัฒนาการอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา : กรณีมหาวิทยาลัยแลนด์แกรนต์

ผศ. ดร.วงเดือน นาราสัจจ์ภาคีสมาชิก รัฐบัญญัติมอร์ริลล์ ค.ศ. ๑๘๖๒ หรือรัฐบัญญัติวิทยาลัยแลนด์แกรนต์ ค.ศ. ๑๘๖๒ (Land-Grant College Act of 1862) เป็นรัฐบัญญัติที่กำหนดให้จัดสรรที่ดินสาธารณะในทุกมลรัฐหรือดินแดนอิสระที่ยังไม่มีสถานะเป็นมลรัฐ เพื่อให้นำไปหารายได้สำหรับเป็นทุนในการก่อตั้งวิทยาลัยที่เน้นการเรียนการสอนด้านเกษตรกรรมและการช่าง รวมทั้งวิชาชีพอื่นที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เช่น คหกรรมศาสตร์ สัตวแพทย์  รัฐบัญญัติฉบับนี้เสนอโดยนายจัสติน สมิท มอร์ริลล์ (Justin Smith …

The Ordeal–ชัยชนะของการปฏิวัติรัสเซีย

ศ.สัญชัย สุวังบุตรภาคีสมาชิก The Ordeal เป็นนวนิยายชุดขนาดยาวเชิงประวัติศาสตร์รวม ๓ เล่มจบ ซึ่งเป็นงานประพันธ์ของอะเล็กเซย์ ตอลสตอย นักเขียนเรืองนามของสหภาพโซเวียต  งานประพันธ์เรื่องนี้เขียนขึ้นในช่วงที่รัฐบาลบอลเชวิคกำลังรณรงค์สร้างชาติรัสเซียใหม่บนเส้นทางสังคมนิยมและประเทศเพิ่งฟื้นตัวจากความผันผวนของสงครามกลางเมืองรัสเซีย (ค.ศ. ๑๙๑๘–๑๙๒๑)  The Ordeal แบ่งเป็น ๓ เล่ม คือ The Sisters, 1918 และ Bleak Morning …

สังคมเปิดกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย (Open Society and Democracy)

ผศ.สุนัย ครองยุทธภาคีสมาชิก บทความนำเสนอทรรศนะทางการเมืองของ เซอร์คาร์ล พอพเพอร์ (Sir Karl Popper, 1920-1994)  นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ทรรศนะทางการเมืองของพอพเพอร์เกิดจากการนำปรัชญาว่าด้วยความเป็นจริง ปรัชญาว่าด้วยความรู้ โดยเฉพาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนความเข้าใจเรื่องธรรมชาติของมนุษย์มาพัฒนาปรัชญาการเมือง พอพเพอร์ได้ชื่อว่าเป็นนักปรัชญาเหตุผลนิยมเชิงวิพากษ์ (critical rationalism) มีทรรศนะเกี่ยวกับความเป็นจริง มนุษย์ ความรู้ และการเมือง ต่างกับนักปรัชญาจิตนิยมอย่างเพลโต (Plato) และเฮเกิล …

ยุทธศาสตร์ชาติและการนำไปสู่การปฏิบัติ

ศ. ดร.วรเดช จันทรศรภาคีสมาชิก ยุทธศาสตร์ชาติเป็นยุทธศาสตร์ฉบับแรกของประเทศไทยที่วางกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กรอบแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติได้ถูกกำหนดไว้รวม ๖ ด้าน คือ ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ด้านการสร้างความเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ  ในกรอบการพัฒนายุทธศาสตร์แต่ละด้านประกอบไปด้วยจุดเน้นและประเด็นการพัฒนาที่ต้องอาศัยการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีความสลับซับซ้อนในกระบวนการของการนำไปปฏิบัติสูงมาก ต้องมีการขับเคลื่อนให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เชื่อมสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด ตลอดจนนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ แผนแม่บทยุทธศาสตร์เฉพาะด้าน และต้องมีแผนงบประมาณเชิงบูรณาการ ต้องมีงบประมาณที่เพียงพอ มีความสามารถในการหาแหล่งรายได้ให้เพียงพอกับรายจ่าย …