ฐานปรัชญาไทยจากเบคอน

ศ.กีรติ บุญเจือราชบัณฑิต การศึกษาปรัชญาได้พัฒนาวิจัยการวิเคราะห์ วิจารณ์ และสังเคราะห์ เจาะลึกได้มากพอสมควร หากเราลองนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวมาค้นหารากเหง้าของปรัชญาไทย โดยเริ่มจากความคิดของฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon ๑๕๖๓-๑๖๒๖) นักปรัชญาอังกฤษสายประสบการณ์นิยมที่สังเกตข้อมูลได้ลุ่มลึก และการตีความอันเฉียบคมของนักปรัชญาฝรั่งเศสสายเหตุผลนิยมนามว่าเรอเน เดส์การ์ต (Rene Descartes ๑๕๙๖-๑๖๕๐) ฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon  ๑๕๖๑-๑๖๒๖) ได้สังเกตจากเกณฑ์ความจริงของโซเครติส (Socrates …

ทฤษฎีระบบราชการกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ภาคีสมาชิก ทฤษฎีการบริหารองค์การขนาดใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับและมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมาจนกระทั่งปัจจุบันคือ ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ของแมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ซึ่งประกอบด้วยหลักการ ๗ ประการ โดยหลักการที่สำคัญที่สุด คือ หลักสายการบังคับบัญชา (Hierachy) ซึ่งแมกซ์ เวเบอร์ เห็นว่าการบริหารองค์การขนาดใหญ่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของตำแหน่งต่าง ๆ เป็นลำดับชั้น  อย่างในโครงสร้างขององค์การซึ่งเป็นลักษณะเป็นพีระมิด เช่นเดียวกับโครงสร้างในฝ่ายบริหารของรัฐบาลในประเทศไทย กล่าวคือ …

เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากรและระบบการปกครองกับอนาคตของประเทศไทย

ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมราชบัณฑิต อนาคตของประเทศไทยในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิเสรีภาพ ความยั่งยืนจะเป็นได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำและความรับผิดชอบของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะรัฐบาล นักการเมือง และผู้นำทุกระดับในสังคมที่มีอำนาจในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวใน ๕ ประเด็นคือ เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากร ระบบการศึกษา การดูแลและการตรวจสอบของสังคมโดยมีหลักนิติธรรมกำกับการทำงาน ซึ่งทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบในการทำงานเพื่อเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย     เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ …

ธรรมาภิบาลในศาสตร์พระราชา : การทำหน้าที่กับความเมตตากรุณา

ศ. ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ธรรมาภิบาล คือ การบริหารจัดการที่ดีโดยให้คุณค่าและความสำคัญแก่ชุมชน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยปัจเจกบุคคล  ผู้บริหารหรือผู้ปกครองที่มีธรรมาภิบาลจำเป็นต้องมีความยุติธรรม (justice) และความสำนึกในหน้าที่ของตน เป็นต้น ดังปรากฏในทรรศนะทางปรัชญาการเมืองของจอห์น รอลส์ (John Rawls, ค.ศ. ๑๙๒๑–๒๐๐๒) นักปรัชญาชาวอเมริกันยุคปัจจุบัน  รอลส์มีแนวคิดส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของประชาชน เนื่องจากปัจจัยเหล่านั้นทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมในสังคม ประชาชนแต่ละคนจึงไม่สามารถสละสิทธิ เสรีภาพ …

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์สวัสดิการ โดยผู้เขียนเรียงลำดับพัฒนาการ ทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งสำนักคลาสสิก และสำนักนีโอคลาสสิก จนมาถึงปัจจุบัน โดยสรุปประเด็นหลักของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการว่าเป็ นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคน ทั้งหมดในสังคม จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมหรือรายได้ประชาชาติ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นได้ มากก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไกตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่เห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการ ยอมรับสภาวะการกระจายรายได้ตามที่ดำรงอยู่ซึ่งอาจมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐบาลจึงควรให้น้ำหนักแก่ อรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจของคนจนมากกว่าคนรวย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในแนวของสิ่งที่ควรจะเป็น (normative …

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รู้สึกอย่างไรก่อนและหลังจากการลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ? : จิตวิทยาของความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (How did Mr. Abhisit Vejjajiva feel before and after resigning from the House of Representative member?: Psychology of cognitive dissonance)

รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณภาคีสมาชิก ความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (Cognitive dissonance) เลออน เฟสทิงเจอร์ (Leon Festinger, 1957) อธิบายว่า “ส่วนของการรู้คิด ๒ ส่วนมีความสัมพันธ์กันแบบไม่สอดคล้อง หากพิจารณาเฉพาะ ๒ ส่วนนี้เท่านั้น แล้วแง่มุมที่ตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นของส่วนหนึ่งเกิดตามหลังอีกส่วนหนึ่ง” (น. ๑๓) การวิจัยตามแนวทฤษฎีความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดมี ๔ แนว คือ …

คดีพญาระกา–บทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทย

นายกฤษฎา บุณยสมิตภาคีสมาชิก คดีพญาระกาเป็นคดีสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยคดีหนึ่ง ซึ่งเป็นคดีพิพาทในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา เนื่องจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงพระนิพนธ์บทละครชื่อ “ปักษีปกรณัมเรื่องพญารกา” เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๓ มีข้อความหมิ่นประมาทพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติยศอย่างร้ายแรง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  ทรงเข้าพระทัยผิดว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบเรื่องบทละครแล้ว แต่ไม่ทรงว่ากล่าวอย่างไรในกรณีนี้ จึงทรงโทมนัสน้อยพระทัยยิ่ง ทรงเห็นในขณะนั้นว่าไม่มีทางใดจะทำได้อีกนอกจากการลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม แล้วพระองค์เสด็จออกจากกรุงเทพฯ ไปโดยมิได้กราบบังคมทูลลาตามธรรมเนียมของเจ้านาย จากนั้นผู้พิพากษาจำนวน ๒๘ นาย ทูลเกล้าฯ …

เงินทดแทนเมื่อได้รับอันตรายจากการทำงาน

ศ.สุดาศิริ วศวงศ์ภาคีสมาชิก ประเทศไทยให้ความสำคัญในการคุ้มครองลูกจ้างจากการประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือสูญหายจากการทำงาน โดยตรากฎหมายเงินทดแทนขึ้นมาใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติแรงงาน พ.ศ. ๒๔๙๙ และปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คือ พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินทดแทน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑  เจตนารมณ์ของกฎหมายเงินทดแทนก็คือ การจัดให้ลูกจ้างได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือ และขจัดความไม่แน่นอนในการที่จะเรียกค่าเสียหายที่ได้รับจากการประสบอันตราย เจ็บป่วย …

แนวทางเชิงรุกในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ภาคีสมาชิก โจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญของไทย คือ การยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้นวัตกรรมเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม (Innovation Country) และสังคมหลังนวัตกรรม (Post-Innovation Society) ในอันดับที่ดียิ่งขึ้น  ในการยกระดับคุณภาพการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษานั้น มีเป้าหมายคือ ครูรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิบัติงานสร้างนวัตกร (Creating innovator) และผลลัพธ์ด้านสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน โดยมีแนวทางเชิงรุกในการยกระดับคุณภาพการผลิตครู คือ …

การศึกษาแนวคิดทางปรัชญาจากอัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด (Søren Aabye Kierkegaard)

รศ.วนิดา ขำเขียวภาคีสมาชิก  การศึกษาปรัชญานอกจากเราจะใช้วิธีศึกษาจากงานเขียนในเชิงวิชาการที่แสดงถึงตัวระบบปรัชญา   แล้ว เรายังศึกษาได้จากงานเขียนอัตชีวประวัติ ของนักปรัชญาซึ่งทำให้ทราบถึงประวัติชีวิตและลักษณะนิสัยที่ส่งผลให้เกิดแนวคิดทางปรัชญา ดังตัวอย่างซึ่งได้ยกขึ้นมาในที่นี้คือ อัตชีวประวัติของ เซอเร็น อาบี คีร์เคกอร์ด  (Søren Aabye Kierkegaard) ผู้เป็นนักปฏิวัติแนวคิดในศตวรรษที่ 19 และเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของลัทธิอัตถิภาวนิยม เพราะเป็นผู้ให้ความสำคัญต่ออัตถิภาวะและนำเสนอ แนวคิดในรูปแบบงานเขียนที่ลดทอนความเป็นวิชาการมาใช้วิธีที่แสดงโวหารในเชิงวรรณกรรม เพื่อทำให้ผู้อ่านเข้าถึงความมีอยู่ของตนเองอันเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องยอมรับและเข้าใจความหมายของการมีอยู่ และรู้ว่าจะอยู่อย่างไรเมื่อต้องเผชิญกับปัญหา อันจะนำไปสู่การเลือกและการตัดสินใจอย่างมีเสรีภาพด้วยตนเอง และมีความกล้าที่จะเผชิญกับความรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเลือก จึงมีผลต่อจิตใจที่ทำให้สามารถกระโดดขึ้นสู่ระดับขั้นในแต่ละระดับของอัตถิภาวะซึ่งต้องอาศัยการเลือกและการตัดสินใจ คีร์เคกอร์ดแบ่งอัตถิภาวะออกเป็น …

บ้านกาญจนาภิเษก : บ้านหลังใหม่ที่ไร้กำแพง

นางสุนันท์ ไทยลาภาคีสมาชิก ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนบ้านกาญจนาภิเษก ดำเนินการโดยคุญหญิงจันทนี  สันตบุตร ณ พื้นที่ ๓๒ ไร่ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมลฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นต้นแบบของการแก้ไข ฟื้นฟู เยียวยาเด็กและเยาวชนที่ก้าวพลาด ศูนย์ฝึกฯ บ้านกาญจนาภิเษกรับเยาวชนอายุระหว่าง ๑๖–๒๔ ปีจากสถานฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน ๔ แห่ง คือ บ้านกรุณา บ้านมุทิตา บ้านอุเบกขา …

โฉมหน้าครอบครัวไทย : อดีตและปัจจุบัน

รศ. ดร.ชาย โพธิสิตาภาคีสมาชิก บทความนี้มีวัตถุประสงค์จะเสนอภาพครอบครัวไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยแบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ว่าด้วยครอบครัวไทยในอดีต กับส่วนที่เกี่ยวกับความหลากหลายของครอบครัวในปัจจุบัน นักวิชาการไทยหลายคนเชื่อกันว่า ในอดีตครอบครัวไทยส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย ต่อมาเมื่อเศรษฐกิจและสังคมพัฒนามากขึ้น รูปแบบการอยู่อาศัยของคนส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยว ความเชื่อนี้อิงอยู่กับแนวคิดที่อธิบายการเปลี่ยนแปลงครอบครัวในสังคมตะวันตก บทความนี้เสนอว่า ครอบครัวไทยส่วนใหญ่ในอดีตเป็นครอบครัวเดี่ยว และเป็นเช่นนั้นมาตลอดจนถึงปัจจุบันนี้ แม้ว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ครอบครัวเดี่ยวจะมีสัดส่วนลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม ในปัจจุบันครอบครัวไทยมีความหลากหลายมากขึ้น จากข้อมูลที่มีอยู่เราอาจจำแนกครอบครัวในปัจจุบันได้ 7 ประเภท คือ …