การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม (Inclusive Education for Social Justice)

รศ. ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจภาคีสมาชิก การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การจัดการการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้บรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตนในโรงเรียนเดียวกันกับเด็กปรกติ ในชุมชนใกล้บ้าน เป็นการนำความช่วยเหลือ สนับสนุน เข้ามาในโรงเรียนหรือในห้องเรียน เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนทุกคน เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความหลากหลายเพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนในชุมชนท้องถิ่นเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เปิดทางให้มีการสนับสนุนการศึกษาทางเลือกที่หลากหลาย สนองความต้องการของเด็กและเยาวชนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ที่ต่างวัฒนธรรม บนฐานการมีส่วนร่วมจัดการของชุมชนท้องถิ่นด้วย การศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกระดับความสามารถ ทุกเชื้อชาติ ภาษา และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และจัดให้มีบริการเสริมตามความต้องการของแต่ละบุคคล การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ความพิการ เพศ …

การให้บริการขนส่งคนโดยสารโดยรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน

ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกรราชบัณฑิต ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีปัญหาในทางปฏิบัติและในทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการขนส่งคนโดยสารโดยรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน เนื่องจากกฎหมายยังไม่อนุญาตให้มีการให้บริการในลักษณะดังกล่าวได้ ซึ่งในต่างประเทศก็เคยมีปัญหาในเรื่องนี้มาแล้ว ในที่สุดหลายประเทศเห็นประโยชน์จากบริการในลักษณะนี้ จึงได้มีการออกกฎหมายอนุญาต แต่มีการกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เมื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียทั้งหมดแล้วสมควรที่ประเทศไทยจะแก้กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ แต่ควรมีมาตรการในการกำกับดูแลหลายประการเพื่อคุ้มครองคนโดยสาร เช่น การกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องมาจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะเพิ่มเติม มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อคนโดยสาร

การเปรียบเทียบความรับผิดของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความชำรุดบกพร่องในประเทศสหรัฐอเมริกาและไทย

ศ. ดร.ศักดา ธนิตกุลภาคีสมาชิก การควบคุมโรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) นับได้ว่าเป็นความท้าทายสำคัญที่สุดต่อความอยู่รอดของการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ทั่วโลก เนื่องจากโรคมาเร็กซ์เป็นเชื้อไวรัสสัตว์ปีกที่มีความร้ายแรงถึงขนาดที่สามารถทำลายไก่ทั้งฝูงได้  ทั้งนี้ การควบคุมโรคมาเร็กซ์โดยการใช้วัคซีนถือได้ว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ  ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับที่ ๙ (มีสัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ ๒ ของการผลิตทั้งโลก) และได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อเป็นอันดับที่ ๕ ของโลก  อนึ่ง ร้อยละ ๓๐-๔๐ ของการผลิตไก่เนื้อของประเทศไทย ถูกส่งออกไปยังญี่ปุ่น (ร้อยละ …

ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security) และมาตรการทางกฎหมายเพื่อรับมือภัยคุกคาม

ศ. ดร.จตุรนต์  ถิระวัฒน์ภาคีสมาชิก เทคโนโลยีสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อประชาชนในสังคมของทุกรัฐในการใช้ชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ประกอบวิชาชีพ แต่เทคโนโลยีดิจิทัลก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบทั้งในแง่ความปั่นป่วนและโดยเฉพาะภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์(cyber security) ซึ่งครอบคลุม มาตรการต่าง ๆ ซึ่งทำให้การใช้ข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์สามารถดำเนินไปได้อย่างปรกติและมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่แล้ว ภัยคุกคาม และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น โดยครอบคลุมเรื่องมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ มาตรการทางเทคนิค กลไกและองค์กรที่รับผิดชอบ การสร้างความพร้อมสำหรับบุคลากรและความร่วมมือระหว่างประเทศ  สถานการณ์และลักษณะของภัยคุกคามไซเบอร์ในปัจจุบันสะท้อนความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์โดยอาศัยมาตรการทางกฎหมายที่มุ่งรับมือภัยคุกคามเหล่านี้ซึ่งแม้ประเทศไทยกำลังพิจารณาร่างกฎหมายในด้านนี้อยู่แต่เนื้อหาก็ยังขาดความสมบูรณ์และต้องถ่วงดุลเรื่องการใช้อำนาจของหน่วยงานที่รับผิดชอบมิให้กระทำการโดยมิชอบจากการนำข้อมูลที่ได้รับไปใช้ในทางมิชอบ โดยการสร้างกลไกที่ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย  ส่วนกฎหมายอาญาที่ใช้อยู่ซึ่งมีเป้าหมายในการปราบปรามก็ยังต้องปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอให้เท่าทันพัฒนาการของเทคโนโลยี  และพยายามแก้ไขปัญหาต่าง …

จิตวิทยาการแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รศ. ดร.ประจักษ์ ปฏิทัศน์ภาคีสมาชิก ความยากจนคือองค์รวมทั้งหมดของผลลัพธ์ที่เกิดจากพลวัตรการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสภาพแวดล้อมที่บุคคลดำเนินชีวิต คนยากจนเพราะขาดการเรียนรู้ที่จะปรับตัวในการประกอบอาชีพอย่างเหมาะสม และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำให้สำเร็จอย่างยั่งยืน รัฐจึงจำเป็นต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นองค์รวม โดยมุ่งเน้นที่การปรับแก้พฤติกรรมการประกอบอาชีพของคนยากจน และภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัญหาความยากจนทุกภาคส่วน ให้ร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้และประคับประคองคนยากจนให้สามารถปรับตัวอย่างเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ กลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวทางทำได้หลายแนวทาง แต่แนวทางการพัฒนาคนยาจนให้มีชุดความคิดการเป็นผู้ประกอบการโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เพราะจะส่งผลทำให้คนยากจนสามารถดิ้นรนหลุดพ้นจากวงจรความยากจนได้ด้วยตัวเอง และยังป้องกันมิให้บุคคลกลับเข้าสู่วงจรความยากจนซ้ำอีก อย่างยั่งยืน ภาคีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในปัญหาความยากจน มีอย่างน้อย  ๓ ภาคส่วน ที่ถือเป็นต้นตอทำให้เกิดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำซ้ำซากในสังคมไทย ได้แก่ ๑) …

ชุดความคิดในพระไตรปิฎกที่ยังใช้ได้กับสังคมสังคมสมัยใหม่

ศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิภาคีสมาชิก คำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ ธรรมกับวินัย  “วินัย” จัดเป็นหมวดโดยอาศัยพฤติกรรมการทำผิดและการปรับโทษเป็นหลักในการบัญญัติ  ส่วน “ธรรม” คือ คำสอนที่ทรงแสดงโปรดสาวกในโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นธรรมบรรยายทั่วไป ไม่มีชุดหลักธรรมก็มี ที่มีหัวข้อธรรมเป็นชุด ๆ ก็มี ประกอบด้วยธรรมชุดละ ๒ ข้อบ้าง …

สังคมใหม่ สังคมเสมอภาค

โครงการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๕๖๒สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เรื่อง สังคมใหม่สังคมเสมอภาคเมื่อวันพุธที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส ถนนหลานหลวง กรุงเทพมหานคร

ความเสมอภาคในความยุติธรรม

ศ.กีรติ บุญเจือราชบัณฑิต ความเสมอภาคในความยุติธรรม แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า equality in justice ซึ่งแผลงมาจากภาษาละตินว่า equalitas in justitia คำแรกมีความหมายเหมือน equation ซึ่งแจ่มแจ้งและชัดเจนตามเกณฑ์ของเรอเน เดการ์ต (René Descartes) แต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่คำหลังซึ่ง ๔ คำใน ๔ ภาษาวิชาการมีความหมายไม่ตรงกัน คือ ภาษากรีกใช้ว่า dikaiosyne   …

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ กับการเลือกตั้งทั่วไปในปี ๒๕๖๒ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยังคงเป็นนายกรัฐมนตรีต่อหรือไม่?

ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมราชบัณฑิต การปฏิรูปทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ที่ได้ก่อกำเนิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา นับเป็นเวลาเกือบ ๙๐ ปีแล้ว ก็ไม่สามารถทำให้คนไทยทุกคนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเหมือนกับประชาชนในประเทศเพื่อนบ้านที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงตามหลังประเทศไทยเกือบ ๓๐ ปี  ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยกลับกลายเป็นประเทศที่มีปัญหาการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำทางสังคมเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ดังนั้น การเลือกตั้งในวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ …

ศาสตร์พระราชาและการลดความเหลื่อมล้ำ

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากพระปฐมบรมราชโองการ พระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ รวมทั้งพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยเฉพาะในส่วนที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความอดอยากหิวโหย และปัญหาความยากจนให้แก่ราษฎร ผู้เขียนประมวลว่า พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์หลายแขนงรวมถึงเศรษฐศาสตร์ และได้ทรงใช้หลักวิชาการเศรษฐศาสตร์ร่วมกับวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจน การอุทิศพระองค์เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความยากจนของพระองค์ท่านได้มีส่วนทำให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆ มองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถือได้ว่ารุนแรงที่สุด เพราะกลุ่มคนจนคือกลุ่มประชากรที่มีรายได้อยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบันนี้คนจนในประเทศไทยได้ลดลงมาจากที่เคยมีเกินครึ่งของประเทศ เหลือเพียงร้อยละ 8.6 ของประชากร อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ แม้ว่าจะลดลงบ้าง แต่ก็ลดลงน้อยและช้ามาก …