ความลึกลับของสื่อสังคม (The Mystery of Social Media)

ศ.สุกัญญา สุดบรรทัดภาคีสมาชิก ปัจจุบันมีคนจำนวนมากใช้อินเทอร์เน็ตโดยมองไม่เห็นบางสิ่งที่ซ่อนอยู่ นั่นคือปรากฏการณ์อันเป็นผลจากกลไกข่าวสารขับเคลื่อนไปพร้อมกับกลไกของเกม กลไกข่าวสารประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่คำนวณจับฟองข่าวสารในบริบทเดียวกันเข้ามาหากลุ่มเดียวกัน สร้างคลื่นอิทธิพลที่มองไม่เห็นแต่มีพลังอำนาจมาก เรามองไม่เห็นกลไกคอมพิวเตอร์ที่ลอบจดจำการกระทำของเรา แต่เราก็พอใจกับสิ่งที่คอมพิวเตอร์ส่งมาให้ เราเป็นเพียง”ผู้ใช้” ที่ไม่เคยเข้าใจความลึกลับและสลับซับซ้อนของสื่อสังคม บทความนี้วิเคราะห์กลไกข่าวสารในเรื่องฟองสบู่ ห้องเสียงสะท้อน จินตทัศน์ ผู้มีอิทธิพล ผู้ติดตาม และวงคลื่นอิทธิพลของชุมชนออนไลน์ ปัจจัยเหล่านี้ประกอบสร้างชุมชนที่มองไม่เห็น ครั้นผนวกกับทฤษฎีของเกมซึ่งกล่าวถึงการเล่นและผู้เล่นในโลกของเกมก็จะทำให้เห็นภาพความลึกและความลับของสื่อสังคมในที่สุดบทความนี้เน้นบริบทการสื่อสารการเมืองเพื่อเป็นข้อเตือนใจให้เราใช้สติและปัญญาเหนือกลไกคอมพิวเตอร์ รู้เท่าทันการนำสื่อไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว และสามารถออกจากเกมการต่อสู้และการทำลายล้างทางการเมืองมาสู่ระนาบของกระบวนการที่ช่วยกันค้นหาทางออกแบบสันติวิธี

การศึกษาปรัชญาเพื่อชีวิตในยุคสังคมนวัตกรรม

รศ.สิวลี ศิริไลราชบัณฑิต สังคมปัจจุบันช่วงเวลาคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ เกือบทั่วโลกเป็นสังคมนวัตกรรม ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในทุกด้านของชีวิตมนุษย์ มีการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ การสร้างสิ่งเดิมให้เปลี่ยนไป การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงแนวความคิด วิธีทำงาน เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ การดำเนินชีวิตมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นทุกด้าน  การมุ่งเสริมสร้างให้คนในสังคมเป็นคนเก่ง มีความสามารถที่จะอยู่และใช้เทคโนโลยีได้ถือเป็นเรื่องสำคัญ คำถามสำคัญประการหนึ่งที่เกิดขึ้นคือ ปรัชญาซึ่งเป็นเรื่องของความคิดในขอบข่ายของวิชามนุษยศาสตร์จะยังคงมีประโยชน์และใช้ได้อย่างไรในสังคมนวัตกรรม  ทั้งนี้ เพราะคนส่วนหนึ่งมีความเข้าใจผิดต่อปรัชญาและมองไม่เห็นประโยชน์  การพิจารณาหาคำตอบเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับประเด็นสำคัญหลายประการคือ ความเข้าใจความหมายของปรัชญา ลักษณะสำคัญของปรัชญา พัฒนาการของปรัชญาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน การเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของสังคม …

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล : ความก้าวหน้าของฟินเทคไทย (Digital Transformation: Progress of Thailand’s FinTech)

ศ. ดร.พรชัย ชุนหจินดาภาคีสมาชิก ผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ระบบนิเวศทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีทางการเงินหรือฟินเทค (FinTech) มาพัฒนาบริการทางการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุดจนได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือที่เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล (Digital transformation) แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการฟินเทคของไทยที่ประสบความสำเร็จจนได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ประเทศไทยมีความคืบหน้าที่สำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง แม้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังไม่ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น แต่มีการเตรียมความพร้อมในกลุ่มบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เช่น นักเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาแอปพลิเคชัน  ภาคการศึกษาจึงมีบทบาทสำคัญในการเร่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะเหมาะสมและให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด  ดังนั้น ปัจจัยแห่งความสำเร็จขององค์กรที่ต้องการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล คือ การจัดการต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ …

สวัสดิการสังคม : กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสังคมไทย

ผศ. ดร.ปฐมาภรณ์ บุษปธำรงราชบัณฑิต บทความนี้เป็นการศึกษาสวัสดิการสังคมในสังคมไทยโดยเน้นที่กลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากวัยสูงอายุนั้นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุจึงต้องการการดูแลและเอาใจใส่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากลูกหลาน ญาติ และสังคมส่วนรวม การเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยที่ผ่านมาเป็นการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมสูงอายุ (Aging society) แนวโน้มการเพิ่มประชากรในวัยสูงอายุทวีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ บทความนี้เป็นการศึกษาด้านสวัสดิการสังคมในสังคมไทย โดยแบ่งเป็น ๕ ส่วน คือ ๑) บทนำ  ๒) ความหมายและปัจจัยที่ส่งผลต่อสวัสดิการสังคม ๓) กรณีศึกษาผู้สูงอายุในสังคมไทย ซึ่งในส่วนนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับผู้สูงอายุ  …

เตา กวาน ยาน ฮุย

นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ภาคีสมาชิก ปัญหาและความท้าทายของจีนในยุคจีนสมัยใหม่ (New Normal) มี ๔ กับดัก คือ กับดักรายได้ปานกลาง  ที่เคยปรากฏมาก่อนทางมิติเศรษฐกิจในหลายประเทศ กับดักประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่พยายามลอกเลียนแบบตะวันตก โดยไม่คำนึงถึงเอกลักษณ์และสภาพความเป็นจริงของประเทศจีนที่ปรากฏอยู่ในมิติทางการเมือง กับดักทางวาทกรรม ซึ่งจีนกำลังตกเป็นเหยื่อของ “สงครามเย็นทางวัฒนธรรม” และ กับดักทิวซิดิเดส (Thucydides ‘ s trap) เป็นกับดักทางการเมือง มักเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยยุโรปซึ่งวิจัยภัยคุกคามที่มาจากประเทศจีน …

ปัจจัยเชิงปฏิกิริยาที่ก่อกำเนิดรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ภาคีสมาชิก การกำเนิดขึ้นของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอังกฤษเกิดจากปัจจัยหลากหลายประการที่สะสมกันมาและส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ หรือเรียกว่าเป็น “ปัจจัยเชิงปฏิกิริยา” เริ่มตั้งแต่ “พัฒนาการของการปกครองในอังกฤษ” ซึ่งมีพัฒนาการผ่านระยะเวลามาเกือบพันปีนับแต่การจากไปของชาวโรมันกระทั่งการมีรัฐสภาเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ค่อย ๆ ถูกจำกัดลงเป็นลำดับ ได้สั่งสมและก่อสร้างรากฐานรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภา มีการแบ่งอำนาจให้แก่ขุนนาง เสนาบดี รวมถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ต่าง ๆ กระทั่งมาถึงราชวงศ์ทิวดอร์  ซึ่งในช่วงนี้เป็นจุดกำเนิดของ “ปัญหาด้านศาสนาในอังกฤษ” ส่งผลให้มีการแยกนิกายของคริสต์ศาสนาออกมาเป็นนิกายอังกฤษ จนกลายเป็นที่ยึดถือและค่านิยมของชาวอังกฤษว่าพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษจะต้องเป็นโปรเตสแตนต์ที่นับถือนิกายอังกฤษเท่านั้น ปัจจัยเช่นนี้เองที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางการปกครองในอังกฤษและก่อให้เกิด “กฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันติวงศ์” ที่สำคัญได้แก่ …

เปลี่ยนศักยภาพสังคมสู่ความมั่งคั่ง : หลักเหตุผลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เปลี่ยนโลก (Turning Social Potential to Prosper: Core Purpose of Companies that Change the World)

ศ. ดร.ผลิน ภู่จรูญราชบัณฑิต ในการดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นแท้จริงแล้วต้องการเพียงแค่ปัจจัยสี่เท่านั้นแต่ด้วยความฉลาดเฉลียวของมนุษย์ทำให้มนุษย์พยายามทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่เคยพอ ตัวแปรนี้นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้โลกของเราประสบกับความวุ่นวายและความยุ่งยากมาตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จากการทำสงครามเพื่อแย่งชิงมาสู่สงครามทางการค้าที่ใช้กิจกรรมทางธุรกิจเป็นกลไกเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว ทำให้เกิดกระบวนการแปรเปลี่ยนทรัพยากรให้กลายเป็นสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่เท่าเทียมกันได้ทุกคนแต่สามารถยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมได้อย่างดี ในขณะที่หนึ่งในตัวแปรที่นำมาซึ่งความพึงพอใจนั้นคือ ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้กลับถูกนำมาใช้อย่างมากเกินไปจนเป็นการทำลายทรัพยากรลงทุกวัน ทำให้การเติบโตที่ต้องการแทนที่จะเป็นความมั่งคั่งที่ยั่งยืนกลับนำมาซึ่งความเสื่อมถอยอย่างไม่น่าเชื่อ ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกวันนำมาซึ่งความท้าท้ายในการจัดการศักยภาพสังคมที่มีอยู่ให้เป็นความมั่งคั่งที่ยั่งยืนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

ไทยเป็นอันดับหนึ่งหรือเปล่า

ศ. ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตรภาคีสมาชิก นักการเงินมีชื่อเสียงอ้างถึงรายงานของบริษัทการเงินใหญ่ของโลก Credit Suisse (CS) บอกว่าไทยเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกส่งผลให้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางในสื่อสังคมและสื่อมวลชนว่าจริงหรือ? บทความนี้ประมวลข้อมูลจากรายงานของ CS การอภิปรายกันดังกล่าว และแสดงข้อมูลจากงานศึกษาของคณะวิจัยที่คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ และธรรมศาสตร์ที่พบว่าไทยมีความเหลื่อมล้ำสูงด้านทรัพย์สินจริง แต่ที่สุดในโลกหรือไม่ ตอบยากเพราะผู้มั่งมีไม่เปิดเผยข้อมูล และการเปรียบเทียบระหว่างประเทศในเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย รายงานของ CS เองไม่ได้บอกเช่นนั้น แต่ได้แสดงข้อมูลว่าไทยอยู่ในกลุ่มประเทศเหลื่อมล้ำสูงด้านทรัพย์สินใน 40 ประเทศที่ศึกษา ประเด็นจึงไม่ใช่ว่า ไทยเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลกหรือไม่ …

การครุศึกษาไทย : ถึงยุคที่ใครต้องการครูแบบไหนก็ต้องผลิตเอาเอง

ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ภาคีสมาชิก ปัญหาของการเรียนการสอนที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งคือ ครูไม่รู้จักและไม่เข้าใจปรัชญาของการศึกษาที่หลากหลายอย่างเพียงพออ  ไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าผู้เรียนที่มีความหลากหลาย การเรียนรู้ย่อมมีความแตกต่างกัน  อีกทั้งครูยังมีความรู้ไม่ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ สถาบันการผลิตครูไม่มีความรู้ที่เพียงพอในทุกเรื่อง การเรียนการสอนเน้นเพียงความรู้ในทางทฤษฎีแต่นำไปปฏิบัติไม่ได้  ทางออกของปัญหาคือ ครูต้องรู้จักเด็กที่ตนสอนนั้นมีความหลากหลาย ดังนั้นการเรียนการสอนจึงต้องมีความหลากหลาย ครูต้องรู้จักเด็กตามสภาพที่เป็นจริง ครูต้องมีประสบการณ์ในการสอนและการสัมผัสกับเด็กมาก่อน ครูต้องได้รับการฝึกฝนและเตรียมตัวเพื่อทำงานในสภาพแตกต่างกัน และที่สำคัญคือ ครูต้องรู้เนื้อหาที่หลากหลายอย่างเพียงพอ  ครูจึงต้องได้รับการปรับปรุง พัฒนา รวมทั้งเรียนรู้ปัญหามาก่อนที่จะทำการสอนในโรงเรียนที่หลากหลาย การเป็นครูนั้นต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน สร้างให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถสอนตัวเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ …

การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม (Inclusive Education for Social Justice)

รศ. ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจภาคีสมาชิก การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การจัดการการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้บรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตนในโรงเรียนเดียวกันกับเด็กปรกติ ในชุมชนใกล้บ้าน เป็นการนำความช่วยเหลือ สนับสนุน เข้ามาในโรงเรียนหรือในห้องเรียน เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนทุกคน เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความหลากหลายเพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนในชุมชนท้องถิ่นเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เปิดทางให้มีการสนับสนุนการศึกษาทางเลือกที่หลากหลาย สนองความต้องการของเด็กและเยาวชนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ที่ต่างวัฒนธรรม บนฐานการมีส่วนร่วมจัดการของชุมชนท้องถิ่นด้วย การศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกระดับความสามารถ ทุกเชื้อชาติ ภาษา และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และจัดให้มีบริการเสริมตามความต้องการของแต่ละบุคคล การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ความพิการ เพศ …

การให้บริการขนส่งคนโดยสารโดยรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน

ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกรราชบัณฑิต ประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีปัญหาในทางปฏิบัติและในทางกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการขนส่งคนโดยสารโดยรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน เนื่องจากกฎหมายยังไม่อนุญาตให้มีการให้บริการในลักษณะดังกล่าวได้ ซึ่งในต่างประเทศก็เคยมีปัญหาในเรื่องนี้มาแล้ว ในที่สุดหลายประเทศเห็นประโยชน์จากบริการในลักษณะนี้ จึงได้มีการออกกฎหมายอนุญาต แต่มีการกำหนดเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เมื่อพิจารณาถึงข้อดีข้อเสียทั้งหมดแล้วสมควรที่ประเทศไทยจะแก้กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ แต่ควรมีมาตรการในการกำกับดูแลหลายประการเพื่อคุ้มครองคนโดยสาร เช่น การกำหนดให้ผู้ให้บริการต้องมาจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก มีใบอนุญาตขับขี่สาธารณะเพิ่มเติม มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความรับผิดต่อคนโดยสาร

การเปรียบเทียบความรับผิดของผู้ขายวัคซีนสัตว์ปีกที่มีความชำรุดบกพร่องในประเทศสหรัฐอเมริกาและไทย

ศ. ดร.ศักดา ธนิตกุลภาคีสมาชิก การควบคุมโรคมาเร็กซ์ (Marek’s disease) นับได้ว่าเป็นความท้าทายสำคัญที่สุดต่อความอยู่รอดของการเลี้ยงไก่เชิงพาณิชย์ทั่วโลก เนื่องจากโรคมาเร็กซ์เป็นเชื้อไวรัสสัตว์ปีกที่มีความร้ายแรงถึงขนาดที่สามารถทำลายไก่ทั้งฝูงได้  ทั้งนี้ การควบคุมโรคมาเร็กซ์โดยการใช้วัคซีนถือได้ว่าค่อนข้างมีประสิทธิภาพ  ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ผลิตไก่เนื้ออันดับที่ ๙ (มีสัดส่วนการผลิตคิดเป็นร้อยละ ๒ ของการผลิตทั้งโลก) และได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ส่งออกไก่เนื้อเป็นอันดับที่ ๕ ของโลก  อนึ่ง ร้อยละ ๓๐-๔๐ ของการผลิตไก่เนื้อของประเทศไทย ถูกส่งออกไปยังญี่ปุ่น (ร้อยละ …