ชุดความคิดในพระไตรปิฎกที่ยังใช้ได้กับสังคมสังคมสมัยใหม่

ศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ
ภาคีสมาชิก

คำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ ธรรมกับวินัย  “วินัย” จัดเป็นหมวดโดยอาศัยพฤติกรรมการทำผิดและการปรับโทษเป็นหลักในการบัญญัติ  ส่วน “ธรรม” คือ คำสอนที่ทรงแสดงโปรดสาวกในโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นธรรมบรรยายทั่วไป ไม่มีชุดหลักธรรมก็มี ที่มีหัวข้อธรรมเป็นชุด ๆ ก็มี ประกอบด้วยธรรมชุดละ ๒ ข้อบ้าง ๓ ข้อบ้าง ๔ ข้อบ้าง ๕ ข้อบ้าง

หมวดธรรม คือ ชุดธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนโดยระบุจำนวนไว้ด้วย เช่น ทุกะ (ชุดธรรมะ ๒ ประการ) ติกะ (ชุดธรรมะ ๓ ประการ) จตุกกะ (ชุดธรรมะ ๔ ประการ) โดยแบ่งเป็นชุดใหญ่ ๒ ชุด คือ ชุดที่ ๑ ชุดความคิดเพื่อสำเร็จในสิ่งที่ต้องการ  และชุดที่ ๒ ชุดความคิดเพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นปึกแผ่นอย่างสันติสุข 
ใน ๒ ชุดใหญ่ แต่ละชุดจะเสนอชุดความคิดย่อยประกอบ ๒ ชุด คือ ชุดกระตุ้นความคิด กับชุดที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมซึ่งทำงานสัมพันธ์กัน

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่จัดเป็นหมวดหมู่หรือชุดซึ่งมีจำนวนกำกับด้วยเสมอ เช่น อิทธิบาท ๔ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ นั้น มีนัยสำคัญ คือ ธรรมะในชุดความคิดนั้นต้องเกิดและดำเนินไปในเชิงบูรณาการอย่างสัมพันธ์กันและครบถ้วนจึงจะเกิดผลในทางปฏิบัติ  หากในแต่ละชุดขาดข้อใดข้อหนึ่งแล้วก็อาจไม่เกิดผลหรือเกิดผลที่ไม่ครบถ้วน

ภาพ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5#/media/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Tipitaka2.jpg

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →