เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย

ศ. ดร.ปราณี ทินกร
ภาคีสมาชิก

บทความนี้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์สวัสดิการ โดยผู้เขียนเรียงลำดับพัฒนาการ ทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งสำนักคลาสสิก และสำนักนีโอคลาสสิก จนมาถึงปัจจุบัน โดยสรุปประเด็นหลักของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการว่าเป็ นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคน ทั้งหมดในสังคม จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมหรือรายได้ประชาชาติ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นได้ มากก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไกตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่เห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการ ยอมรับสภาวะการกระจายรายได้ตามที่ดำรงอยู่ซึ่งอาจมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐบาลจึงควรให้น้ำหนักแก่ อรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจของคนจนมากกว่าคนรวย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในแนวของสิ่งที่ควรจะเป็น (normative economics)

เมื่อมองภาพกว้างของสังคมโดยรวม ผู้เขียนเห็นว่าหากเราทุ่มเททรัพยากรเพื่อสวัสดิการให้แก่คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อสวัสดิการของกลุ่มบุคคลอื่น เนื่องจากรัฐบาลมีงบประมาณจำกัดในการ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมโดยรวม และปัจจุบันประเทศไทยกำลังเคลื่อนไปสู่ “สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์”ภายใน ๓-๔ ปี ข้างหน้า ผู้เขียนจึงได้นำงบประมาณด้านการสังคมสงเคราะห์มาพิจารณา และพบว่ากว่าร้อยละ ๘๐ ของงบนี้จะไปสู่สวัสดิการผู้สูงอายุ รวมทั้งมีแนวโน้มและอัตราเพิ่มในรอบสิบปี ที่ผ่านมาอย่างรวดเร็วจน อาจกลายเป็นความเสี่ยงต่อความยั่งยืนทางการคลัง ผู้เขียนได้เสนอข้อคิดเห็นและแนวทางในการแก้ไข

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →