สุนทรียภาพของชีวิตกับสภาพปัญหาของสังคมไทย

ดร.รวิช ตาแก้วภาคีสมาชิก แนวความคิดที่แตกต่างในการอบรมเรียนรู้โลกและชีวิต สร้างทรรศนะการมองโลกและชีวิตที่แตกต่างกัน สภาพปัญหาสังคมไทยเป็นภาพส่วนย่อยของสังคมโลก ความแตกต่างทางความคิดสร้างทรรศนะในการรับรู้สุนทรียภาพของชีวิตที่แตกต่าง คนไทยยุคใหม่กับยุคเก่าจึงมีทรรศนะที่แตกต่างกัน  ท่ามกลางความแตกต่างในการมองโลกและชีวิตทำอย่างไรให้ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แนวคิดการรับรู้ทางสุนทรียศาสตร์มีสองแนวคิด คือการรับรู้สุนทรียศาสตร์แบบทางตรงและทางอ้อม การรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางตรงเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันตกซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากสิ่งภายนอกตนเองและแสดงออกตามสิ่งที่ตนชอบและรับรู้ได้ มีข้อดีคือเป็นการรับรู้และเรียนรู้ที่สามารถรับรู้ร่วมกันกับผู้อื่นได้ และการรับรู้สุนทรียศาสต์แบบทางอ้อมเป็นวิธีการรับรู้และเรียนรู้สุนทรียะตามแนวคิดแบบตะวันออก ซึ่งเป็นการรับรู้ เรียนรู้จากรูปแบบสัญลักษณ์เฉพาะตามประเพณี วัฒนธรรมร่วมกับการเข้าใจตนเองซึ่งเป็นสิ่งภายในและเชื่อมโยงไปสู่สิ่งภายนอก แนวคิดในการสร้างสุนทรียภาพของชีวิตที่แท้คือการสร้างความสุขแท้ตามความเป็นจริงตามสัญชาตญาณปัญญามนุษย์ แนวทางการสร้างความสอดคล้องในสังคมยุคใหม่กับยุคเก่าคือ การสร้างการรับรู้ เรียนรู้ทางสุนทรียภาพให้แก่เยาวชนด้วยการผสมผสานความรู้จากภายนอก(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันตก)และความรู้จากภายใน(แนวคิดการสร้างระบบการรู้ตามแบบตะวันออก) โดยการใช้หลักความสอดคล้อง สมดุลตามครรลองของแต่ละบุคคลให้เกิดขึ้นจากการเข้าใจตนเองและเรียนรู้ตนเอง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ว่า รู้อะไร …

เปลี่ยนศักยภาพสังคมสู่ความมั่งคั่ง : หลักเหตุผลในการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่เปลี่ยนโลก (Turning Social Potential to Prosper: Core Purpose of Companies that Change the World)

ศ. ดร.ผลิน ภู่จรูญราชบัณฑิต ในการดำรงอยู่ของมนุษย์นั้นแท้จริงแล้วต้องการเพียงแค่ปัจจัยสี่เท่านั้นแต่ด้วยความฉลาดเฉลียวของมนุษย์ทำให้มนุษย์พยายามทำให้ตัวเองได้รับประโยชน์สูงสุดเพื่อตอบสนองความต้องการที่ไม่เคยพอ ตัวแปรนี้นับได้ว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้โลกของเราประสบกับความวุ่นวายและความยุ่งยากมาตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน จากการทำสงครามเพื่อแย่งชิงมาสู่สงครามทางการค้าที่ใช้กิจกรรมทางธุรกิจเป็นกลไกเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว ทำให้เกิดกระบวนการแปรเปลี่ยนทรัพยากรให้กลายเป็นสินค้าและบริการที่สร้างความพึงพอใจให้กับทุกฝ่ายได้ ซึ่งแน่นอนว่าไม่เท่าเทียมกันได้ทุกคนแต่สามารถยกระดับมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่โดยรวมได้อย่างดี ในขณะที่หนึ่งในตัวแปรที่นำมาซึ่งความพึงพอใจนั้นคือ ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาใช้กลับถูกนำมาใช้อย่างมากเกินไปจนเป็นการทำลายทรัพยากรลงทุกวัน ทำให้การเติบโตที่ต้องการแทนที่จะเป็นความมั่งคั่งที่ยั่งยืนกลับนำมาซึ่งความเสื่อมถอยอย่างไม่น่าเชื่อ ปรากฏการณ์ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นทุกวันนำมาซึ่งความท้าท้ายในการจัดการศักยภาพสังคมที่มีอยู่ให้เป็นความมั่งคั่งที่ยั่งยืนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้

ชุดความคิดในพระไตรปิฎกที่ยังใช้ได้กับสังคมสังคมสมัยใหม่

ศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิภาคีสมาชิก คำสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งเป็น ๒ ส่วนใหญ่ ๆ คือ ธรรมกับวินัย  “วินัย” จัดเป็นหมวดโดยอาศัยพฤติกรรมการทำผิดและการปรับโทษเป็นหลักในการบัญญัติ  ส่วน “ธรรม” คือ คำสอนที่ทรงแสดงโปรดสาวกในโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นธรรมบรรยายทั่วไป ไม่มีชุดหลักธรรมก็มี ที่มีหัวข้อธรรมเป็นชุด ๆ ก็มี ประกอบด้วยธรรมชุดละ ๒ ข้อบ้าง …