บทบาทสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองต่อการพัฒนาสังคมไทย

ศ. ดร. ไผทชิต เอกจริยกรประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองศ. ดร. ผลิน ภู่จรูญเลขานุการสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

จากเศรษฐกิจซบเซาสู่อนาคตสีเขียว

ศ. ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตรภาคีสมาชิก จากกลางทศวรรษ ๒๕๕๐ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มถดถอย ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งหมด ส่วนหนึ่งเกิดจากภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซา และสงครามการค้า อีกส่วนเป็นปัญหาโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยเอง ซึ่งต้องการแนวนโยบายใหม่ๆ  รัฐบาลมีแผนการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้ลงทุนในอุตสาหกรรมไฮเทคตามนโยบายThailand 4.O เพื่อส่งออก ดูใหม่แต่หากเกิดขึ้นจริง อาจไม่พอเพียง เพราะขาดความเชื่อมโยงไปยังส่วนต่างๆของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะต่อภาคเกษตร ในสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย ภัยแล้ง และปัญหาโลกร้อนที่ทำให้อากาศแปรปรวนไม่เป็นผลดีกับเศรษฐกิจเกษตร รายได้ภาคเกษตรจะยิ่งถดถอย จนยากที่จะออกจากความซบเซา แต่จะส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำ และจำนวนคนยากจนเพิ่มสูงขึ้น …

ข่าวปลอม (fake news) บนโลกอินเตอร์เนต ๔.๐ ในมิติทางกฎหมาย

นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ภาคีสมาชิก ขณะนี้ “ข่าวปลอม (Fake News)” กลายเป็นปัญหาสำคัญของโลกและไม่ว่าใครก็อาจแพร่กระจายข่าวปลอมโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นเหมือนการใช้อาวุธในมือทำร้ายผู้อื่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยข่าวลือที่ ออกมาแล้วเป็นเท็จ และในปัจจุบันมีปัญหาด้านนโยบายการควบคุมข่าวปลอมของผู้ให้บริการเนื่องจากการกำกับดูแลก็ไม่ง่ายเพราะผู้ให้บริการสื่อออนไลน์แต่ละเจ้ามีนโยบายไม่เหมือนกัน เช่น ไลน์ (Line) แอพพลิเคชั่นสนทนา (Chat) สัญชาติญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้ให้บริการมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อรับมือกับเนื้อหาที่เป็นปัญหา แต่ก็ยังเป็นปัญหาในการควบคุมเนื้อหาเนื่องจากยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าเนื้อหาใดบ้างไม่สมควรเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ในการควบคุมเนื้อหา อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอาจยังไม่ครอบคลุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวปลอมข้ามพรมแดน จึงขอเสนอให้ทราบถึงการแยกแยะกับข่าวปลอมออกจากข่าวจริง ๓ …

ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์ ข้ามคาบสมุทรภาคใต้ สรุปดังนี้

ศ. ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ภาคีสมาชิก “ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์” หมายถึง ศาสตร์ในการบริหาร จัดการและพัฒนาประเทศ โดยใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ผสมกับรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และการต่างประเทศ ภูมิรัฐประศาสนศาสตร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารประเทศในยุคนี้โดยการศึกษาที่ตั้งของประเทศไทยเชื่อมโยงด้านกายภาพกับประเทศเพื่อนบ้าน ทะเล และมหาสมุทร ดังนั้นการพัฒนาประเทศข้ามชายแดน จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจโดยมีสาระสำคัญได้ดังนี้ ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ของไทยตั้งแต่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระนอง  ติดต่อกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งประกอบด้วย ๗ …

ถึงเวลาที่เด็กไทยควรเติบโตไปตามที่เขาชอบ ถนัด และสนใจ

ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ภาคีสมาชิก ปัจจุบันการเรียนการสอนในระบบการศึกษาของประเทศไทย ส่งผลให้เด็กเรียนอย่างไม่มีความสุข ไม่ได้พัฒนาความถนัดและความสนใจของตนเอง ความแตกต่างของเด็กไม่ได้รับความสนใจและผลักดันให้เกิดขึ้นในการศึกษา เด็กไม่มีโอกาสคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่แสดงออกที่จะพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม ผลเสีย คือเราจะหานวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ยากในสังคมไทย และประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้นำในอาเซียนได้ยาก  ปัญหาเหล่านี้มีส่วนมาจากพฤติกรรมการสอนของครูไทยที่ครูเป็นคนกำหนดรายละเอียด ขั้นตอน และการดำเนินการสอนทั้งหมด แต่นักวิชาการเห็นตรงกันว่าผู้เรียนมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ทั้งความพร้อม ความสนใจ และลักษณะของผู้เรียน สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้จึงควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเป็นผู้มีพัฒนาทางจิตตปัญญาตามคำสอนในทางพระพุทธศาสนา …

ฐานปรัชญาไทยจากเบคอน

ศ.กีรติ บุญเจือราชบัณฑิต การศึกษาปรัชญาได้พัฒนาวิจัยการวิเคราะห์ วิจารณ์ และสังเคราะห์ เจาะลึกได้มากพอสมควร หากเราลองนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวมาค้นหารากเหง้าของปรัชญาไทย โดยเริ่มจากความคิดของฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon ๑๕๖๓-๑๖๒๖) นักปรัชญาอังกฤษสายประสบการณ์นิยมที่สังเกตข้อมูลได้ลุ่มลึก และการตีความอันเฉียบคมของนักปรัชญาฝรั่งเศสสายเหตุผลนิยมนามว่าเรอเน เดส์การ์ต (Rene Descartes ๑๕๙๖-๑๖๕๐) ฟรังซิส เบคอน (Francis Bacon  ๑๕๖๑-๑๖๒๖) ได้สังเกตจากเกณฑ์ความจริงของโซเครติส (Socrates …

ทฤษฎีระบบราชการกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ภาคีสมาชิก ทฤษฎีการบริหารองค์การขนาดใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับและมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมาจนกระทั่งปัจจุบันคือ ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ของแมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ซึ่งประกอบด้วยหลักการ ๗ ประการ โดยหลักการที่สำคัญที่สุด คือ หลักสายการบังคับบัญชา (Hierachy) ซึ่งแมกซ์ เวเบอร์ เห็นว่าการบริหารองค์การขนาดใหญ่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของตำแหน่งต่าง ๆ เป็นลำดับชั้น  อย่างในโครงสร้างขององค์การซึ่งเป็นลักษณะเป็นพีระมิด เช่นเดียวกับโครงสร้างในฝ่ายบริหารของรัฐบาลในประเทศไทย กล่าวคือ …

เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากรและระบบการปกครองกับอนาคตของประเทศไทย

ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรมราชบัณฑิต อนาคตของประเทศไทยในเรื่องความเป็นอยู่ของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิเสรีภาพ ความยั่งยืนจะเป็นได้อย่างไร ขึ้นอยู่กับการกระทำและความรับผิดชอบของประชาชนทุกคนโดยเฉพาะรัฐบาล นักการเมือง และผู้นำทุกระดับในสังคมที่มีอำนาจในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้เกิดความสำเร็จหรือล้มเหลวใน ๕ ประเด็นคือ เสถียรภาพทางการเมือง คุณภาพของประชากร ระบบการศึกษา การดูแลและการตรวจสอบของสังคมโดยมีหลักนิติธรรมกำกับการทำงาน ซึ่งทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบในการทำงานเพื่อเขียนประวัติศาสตร์ของประเทศไทย     เมื่อพิจารณาถึงประวัติศาสตร์การพัฒนาเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๗ …

ธรรมาภิบาลในศาสตร์พระราชา : การทำหน้าที่กับความเมตตากรุณา

ศ. ดร.ภัทรพร สิริกาญจน ภาคีสมาชิก ธรรมาภิบาล คือ การบริหารจัดการที่ดีโดยให้คุณค่าและความสำคัญแก่ชุมชน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยปัจเจกบุคคล  ผู้บริหารหรือผู้ปกครองที่มีธรรมาภิบาลจำเป็นต้องมีความยุติธรรม (justice) และความสำนึกในหน้าที่ของตน เป็นต้น ดังปรากฏในทรรศนะทางปรัชญาการเมืองของจอห์น รอลส์ (John Rawls, ค.ศ. ๑๙๒๑–๒๐๐๒) นักปรัชญาชาวอเมริกันยุคปัจจุบัน  รอลส์มีแนวคิดส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ และความเท่าเทียมกันของประชาชน เนื่องจากปัจจัยเหล่านั้นทำให้ประชาชนได้รับความยุติธรรมในสังคม ประชาชนแต่ละคนจึงไม่สามารถสละสิทธิ เสรีภาพ …

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์สวัสดิการ โดยผู้เขียนเรียงลำดับพัฒนาการ ทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งสำนักคลาสสิก และสำนักนีโอคลาสสิก จนมาถึงปัจจุบัน โดยสรุปประเด็นหลักของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการว่าเป็ นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคน ทั้งหมดในสังคม จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมหรือรายได้ประชาชาติ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นได้ มากก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไกตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่เห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการ ยอมรับสภาวะการกระจายรายได้ตามที่ดำรงอยู่ซึ่งอาจมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐบาลจึงควรให้น้ำหนักแก่ อรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจของคนจนมากกว่าคนรวย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในแนวของสิ่งที่ควรจะเป็น (normative …