อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รู้สึกอย่างไรก่อนและหลังจากการลาออกจากตำแหน่ง ส.ส. ? : จิตวิทยาของความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (How did Mr. Abhisit Vejjajiva feel before and after resigning from the House of Representative member?: Psychology of cognitive dissonance)

รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ
ภาคีสมาชิก

ความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด (Cognitive dissonance) เลออน เฟสทิงเจอร์ (Leon Festinger, 1957) อธิบายว่า “ส่วนของการรู้คิด ๒ ส่วนมีความสัมพันธ์กันแบบไม่สอดคล้อง หากพิจารณาเฉพาะ ๒ ส่วนนี้เท่านั้น แล้วแง่มุมที่ตรงกันข้ามกับที่ควรจะเป็นของส่วนหนึ่งเกิดตามหลังอีกส่วนหนึ่ง” (น. ๑๓) การวิจัยตามแนวทฤษฎีความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดมี ๔ แนว คือ

  1. ความไม่สอดคล้องหลังการตัดสินใจ (Postdecision dissonance)
  2. พฤติกรรมต่อต้านเจตคติ (Counterattitudinal behavior) หรือที่เรียกกันในชื่ออื่นว่า การบังคับให้ยอมตาม (Forced compliance) และ พฤติกรรมที่คลาดเคลื่อนจากเจตคติ (Attitude-discrepant behavior)
  3. การสมัครใจและไม่สมัครใจรับข้อมูล และ
  4. บทบาทของการสนับสนุนทางสังคม คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคได้ประกาศว่าไม่สนับสนุนให้พลเอง ประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อถึงวันประชุมรัฐสภาที่ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีบอกว่ารู้สึก “อึดอัด” อย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน สภาวะความอึดอัดนี้ก็คือ สภาวะ “ความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด” จึงตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก่อนการออกเสียงลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อรักษาเกียรติภูมิของตนเอง และตีความได้ว่าเป็นการลดความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิดลง

ภาพ https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Abhisit_royal.jpg

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →