ข่าวปลอม (fake news) บนโลกอินเตอร์เนต ๔.๐ ในมิติทางกฎหมาย

นายสงวน ลิ่วมโนมนต์
ภาคีสมาชิก

ขณะนี้ “ข่าวปลอม (Fake News)” กลายเป็นปัญหาสำคัญของโลกและไม่ว่าใครก็อาจแพร่กระจายข่าวปลอมโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นเหมือนการใช้อาวุธในมือทำร้ายผู้อื่นโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยข่าวลือที่ ออกมาแล้วเป็นเท็จ และในปัจจุบันมีปัญหาด้านนโยบายการควบคุมข่าวปลอมของผู้ให้บริการเนื่องจากการกำกับดูแลก็ไม่ง่ายเพราะผู้ให้บริการสื่อออนไลน์แต่ละเจ้ามีนโยบายไม่เหมือนกัน เช่น ไลน์ (Line) แอพพลิเคชั่นสนทนา (Chat) สัญชาติญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้ให้บริการมีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบเพื่อรับมือกับเนื้อหาที่เป็นปัญหา แต่ก็ยังเป็นปัญหาในการควบคุมเนื้อหาเนื่องจากยังมีความเห็นไม่ตรงกันว่าเนื้อหาใดบ้างไม่สมควรเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทยอาศัยพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ในการควบคุมเนื้อหา อย่างไรก็ตามการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอาจยังไม่ครอบคลุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวปลอมข้ามพรมแดน จึงขอเสนอให้ทราบถึงการแยกแยะกับข่าวปลอมออกจากข่าวจริง ๓ ประการ คือ

  1. ตรวจสอบจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล
  2. ให้ความสำคัญกับแหล่งข้อมูล และ
  3. แยกข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ซึ่งเรียกว่าเป็นการป้องกันข่าวปลอมออกสู่สังคมได้

รวมทั้งภาครัฐต้องสร้างการรู้เท่าทันให้แก่ประชาชนโดยการประชาสัมพันธ์เว็บไซด์ของหน่วยงานนั้นอันเป็นต้นทางของข้อมูลได้หรือการให้ความรู้กับเยาวชนผ่านระบบการศึกษาเพื่อให้แยกแยะได้ว่าอะไรคือข่าวปลอม ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าภาครัฐไม่มีทางปราบปรามข่าวปลอมได้ทั้งหมด

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →

One thought on “ข่าวปลอม (fake news) บนโลกอินเตอร์เนต ๔.๐ ในมิติทางกฎหมาย

  1. Pingback: 2cambrian

Comments are closed.