เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้อธิบายแนวคิดเศรษฐศาสตร์ในการวิเคราะห์สวัสดิการ โดยผู้เขียนเรียงลำดับพัฒนาการ ทางความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญ ทั้งสำนักคลาสสิก และสำนักนีโอคลาสสิก จนมาถึงปัจจุบัน โดยสรุปประเด็นหลักของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการว่าเป็ นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับความอยู่ดีมีสุขของคน ทั้งหมดในสังคม จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มขึ้นของผลผลิตมวลรวมหรือรายได้ประชาชาติ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นได้ มากก็ด้วยการใช้ทรัพยากรและปัจจัยการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และกลไกตลาดที่มีการแข่งขันอย่างเสรี จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนที่เห็นว่า การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการ ยอมรับสภาวะการกระจายรายได้ตามที่ดำรงอยู่ซึ่งอาจมีความเหลื่อมล้ำมาก รัฐบาลจึงควรให้น้ำหนักแก่ อรรถประโยชน์หรือความพึงพอใจของคนจนมากกว่าคนรวย ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในแนวของสิ่งที่ควรจะเป็น (normative …

ศาสตร์พระราชาและการลดความเหลื่อมล้ำ

ศ. ดร.ปราณี ทินกรภาคีสมาชิก บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากพระปฐมบรมราชโองการ พระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริ รวมทั้งพระราชดำรัสเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยเฉพาะในส่วนที่พระองค์ทรงมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาความอดอยากหิวโหย และปัญหาความยากจนให้แก่ราษฎร ผู้เขียนประมวลว่า พระองค์ท่านทรงมีพระปรีชาสามารถในศาสตร์หลายแขนงรวมถึงเศรษฐศาสตร์ และได้ทรงใช้หลักวิชาการเศรษฐศาสตร์ร่วมกับวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาความยากจน การอุทิศพระองค์เป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาความยากจนของพระองค์ท่านได้มีส่วนทำให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆ มองเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่าปัญหาความยากจนเป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำที่ถือได้ว่ารุนแรงที่สุด เพราะกลุ่มคนจนคือกลุ่มประชากรที่มีรายได้อยู่ในระดับต่ำสุดเมื่อเทียบกับประชากรกลุ่มอื่นๆ  ปัจจุบันนี้คนจนในประเทศไทยได้ลดลงมาจากที่เคยมีเกินครึ่งของประเทศ เหลือเพียงร้อยละ 8.6 ของประชากร อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ระหว่างประชากรกลุ่มต่างๆ แม้ว่าจะลดลงบ้าง แต่ก็ลดลงน้อยและช้ามาก …