แนวทางเชิงรุกในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

ศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ภาคีสมาชิก โจทย์การพัฒนาประเทศที่สำคัญของไทย คือ การยกระดับขีดความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้นวัตกรรมเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้เป็นประเทศแห่งนวัตกรรม (Innovation Country) และสังคมหลังนวัตกรรม (Post-Innovation Society) ในอันดับที่ดียิ่งขึ้น  ในการยกระดับคุณภาพการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษานั้น มีเป้าหมายคือ ครูรุ่นใหม่ต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ในการปฏิบัติงานสร้างนวัตกร (Creating innovator) และผลลัพธ์ด้านสมรรถนะการสร้างนวัตกรรมของผู้เรียน โดยมีแนวทางเชิงรุกในการยกระดับคุณภาพการผลิตครู คือ …

การครุศึกษาไทย : ถึงยุคที่ใครต้องการครูแบบไหนก็ต้องผลิตเอาเอง

ศ. ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ภาคีสมาชิก ปัญหาของการเรียนการสอนที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งคือ ครูไม่รู้จักและไม่เข้าใจปรัชญาของการศึกษาที่หลากหลายอย่างเพียงพออ  ไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าผู้เรียนที่มีความหลากหลาย การเรียนรู้ย่อมมีความแตกต่างกัน  อีกทั้งครูยังมีความรู้ไม่ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ สถาบันการผลิตครูไม่มีความรู้ที่เพียงพอในทุกเรื่อง การเรียนการสอนเน้นเพียงความรู้ในทางทฤษฎีแต่นำไปปฏิบัติไม่ได้  ทางออกของปัญหาคือ ครูต้องรู้จักเด็กที่ตนสอนนั้นมีความหลากหลาย ดังนั้นการเรียนการสอนจึงต้องมีความหลากหลาย ครูต้องรู้จักเด็กตามสภาพที่เป็นจริง ครูต้องมีประสบการณ์ในการสอนและการสัมผัสกับเด็กมาก่อน ครูต้องได้รับการฝึกฝนและเตรียมตัวเพื่อทำงานในสภาพแตกต่างกัน และที่สำคัญคือ ครูต้องรู้เนื้อหาที่หลากหลายอย่างเพียงพอ  ครูจึงต้องได้รับการปรับปรุง พัฒนา รวมทั้งเรียนรู้ปัญหามาก่อนที่จะทำการสอนในโรงเรียนที่หลากหลาย การเป็นครูนั้นต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียน สร้างให้เด็กมีคุณธรรมจริยธรรม สามารถสอนตัวเองได้ มีความคิดสร้างสรรค์ …

การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม (Inclusive Education for Social Justice)

รศ. ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจภาคีสมาชิก การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การจัดการการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษได้บรรลุศักยภาพสูงสุดแห่งตนในโรงเรียนเดียวกันกับเด็กปรกติ ในชุมชนใกล้บ้าน เป็นการนำความช่วยเหลือ สนับสนุน เข้ามาในโรงเรียนหรือในห้องเรียน เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนทุกคน เป็นการจัดการศึกษาที่คำนึงถึงความหลากหลายเพื่อสร้างโอกาสให้ทุกคนในชุมชนท้องถิ่นเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เปิดทางให้มีการสนับสนุนการศึกษาทางเลือกที่หลากหลาย สนองความต้องการของเด็กและเยาวชนเฉพาะกลุ่ม เฉพาะพื้นที่ที่ต่างวัฒนธรรม บนฐานการมีส่วนร่วมจัดการของชุมชนท้องถิ่นด้วย การศึกษาแบบเรียนรวมจึงเป็นการศึกษาสำหรับผู้เรียนทุกระดับความสามารถ ทุกเชื้อชาติ ภาษา และสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม และจัดให้มีบริการเสริมตามความต้องการของแต่ละบุคคล การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสังคมสำหรับทุกคน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางเชื้อชาติ ความพิการ เพศ …