ราชบัณฑิต วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– อนุกรรมการบัญญัติศัพท์ปรัชญา ในการทำพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ–ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ ๑–๔)
– บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำนามานุกรมศาสนาสากล
– บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดสารานุกรมปรัชญา
– กรรมการ ในคณะกรรมการเฉพาะกิจปรับปรุงพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี สังคมสงเคราะหศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
– ปริญญาโท อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ปรัชญา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ประกาศนียบัตร ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ รุ่นที่ ๑๒ สภาวิจัยแห่งชาติ Certificate in Morality and Community สถาบัน EAPI มหาวิทยาลัย Ateneo de Manila สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
ประวัติการทำงานวิชาการ
– รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๓–๒๕๔๗)
– ประธานหลักสูตรจริยศาสตร์ศึกษา ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
– อาจารย์บรรยายวิชาปรัชญาตะวันตก จริยศาสตร์ และจริยศาสตร์การแพทย์ (พ.ศ. ๒๕๒๐–ปัจจุบัน)
ผลงานวิชาการ
– ตำรา จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล (๒๕๕๖) พิมพ์ครั้งที่ ๑๓ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ตำรา การเป็นแพทย์ : จากฮิปโปกราตีสสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (๒๕๕๒) สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ตำรา จริยธรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (๒๕๕๕) บทที่ ๒๖ : การวิเคราะห์เชิงจริยศาสตร์ในบริการสุขภาพ
– สู่กระบวนทัศน์ใหม่ขอผู้บริหารการพยาบาล (๒๕๕๘) บทที่ ๑ : คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารและผู้นำทางการพยาบาล
ฯลฯ
ความเชี่ยวชาญ
– ปรัชญาตะวันตก
– จริยศาสตร์ตะวันตก
– จริยศาสตร์สุขภาพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒)
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๗)