ศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร

ราชบัณฑิต   โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ สาขาวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง    

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

    – ประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง (พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๖)

    – ประธานกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์รัฐศาสตร์

    – ประธานคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมการเมืองการปกครองไทย

ประวัติการศึกษา

          –รัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๖

          – Diploma in Sovietology มหาวิทยาลัยไฟรบูร์ก สวิตเซอร์แลนด์ พ.ศ. ๒๕๐๘

          – M.A. (Diplomacy & World Affairs) Occidental College สหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๑๒

          – M.A. (Government on Russian Studies) มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๑๖

          – ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก Royal Roads University, Canada

          – ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรประจำปี ๒๕๓๗ (ว.ป.อ. รุ่นที่ ๓๖)

ประวัติการทำงานวิชาการ

    – กรรมการกฤษฎีกา

    – สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (๒๕๕๗-ปัจจุบัน)

    – กรรมการสภามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปัจจุบัน)

    – กรรมการสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานบริหาร

          – อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

          – อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    – อดีตเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า

    – อดีตนายกสมาคมข้าราชการพลเรือน

    – อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ

    – อธิการบดีมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งโลก (ปัจจุบัน)

    – นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒๕๕๓-ปัจจุบัน)

    – ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐

ผลงานวิชาการ

          – รัฐธรรมนูญเจ้าปัญหาที่มาและที่เป็นอยู่ รัฐธรรมนูญ ๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม ๒๕๓๕ และแก้ไข ๒๕๓๘), ๒๕๓๘

          – การเลือกตั้งของคนไทยในต่างประเทศ, ๒๕๔๓.                                                            

          – เอกสารการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๗๕ (โดยสภาผู้แทนราษฎรชุดแรก). กรุงเทพฯ :
         โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๒.

          – นัยประชาธิปไตยในวิถีการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๓.                     – สารานุกรมการเมืองไทย. ฉบับรวมเล่ม ๑, ๒. (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,
          ๒๕๔๗.

         – รายงานการศึกษาเรื่องปัญหาชายแดนไทย-มาเลเซีย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕ : ๕๓ หน้า.

          – สารานุกรมการเมืองไทย เล่ม ๓. (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า, ๒๕๔๙.

เกียรติคุณที่ได้รับ

         – ทุน Chevalier Program                                                                                    
         – ทุน Rockefeller Foundation Scholars                                                                  
         – นักรัฐประศาสนศาสตร์ดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๘ จากสมาคมรัฐประศาสนศาสตร์แห่งประเทศไทย        
         – รางวัลครุฑทองคำ ผู้บริหารราชการพลเรือนดีเด่นประจำปี ๒๕๓๘ จากสมาคมข้าราชการพลเรือน     
         – ตำแหน่ง “กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” ด้านสังคมศาสตร์ประจำปี ๒๕๔๒ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า

          – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก                                                            

          – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ