การตั้งถิ่นฐานของสังคมไทย : ปริทัศน์เชิงภูมิศาสตร์มนุษย์

ศ. ดร.มนัส สุวรรณ
ราชบัณฑิต

ภูมิศาสตร์ (Geography) ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยพื้นดินหรือพื้นโลกสามารถแบ่งสาระได้ออกเป็น 3 แขนงคือ ภูมิศาสตร์กายภาพ (Physical Geography) ภูมิศาสตร์มนุษย์ (Human Geography) และเทคนิคทางภูมิศาสตร์ (Techniques in Geography)  ในแขนงภูมิศาสตร์มนุษย์เองยังสามารถแบ่งออกเป็นแขนงย่อยได้อีกหลายแขนงย่อย  ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน (Geography of Settlement) คือหนึ่งในแขนงย่อยเหล่านั้น  ในฐานะราชบัณฑิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ ผู้เขียนมีความประสงค์ที่จะนำเอาแขนงย่อยทั้งหมดของภูมิศาสตร์มนุษย์มาทยอยสาธยายตามที่โอกาสจะอำนวย

“การตั้งถิ่นฐานของสังคมไทย: ปริทัศน์เชิงภูมิศาสตร์มนุษย์” เป็นปฐมบทที่ถูกนำมาเสนอเป็นเรื่องแรก สาระที่นำเสนอเป็นการผสมผสานกันระหว่าง (1) พื้นฐานความรู้เชิงทฤษฎีของภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน (2) การทบทวนการตั้งถิ่นฐานของสังคมไทยใน 3 บริบทคือ การตั้งเมืองและเมืองหลวง การตั้งถิ่นฐานของสังคมชนบท และการตั้งถิ่นฐานของสังคมเมือง และ (3) วิเคราะห์แนวโน้มการตั้งถิ่นฐานของสังคมไทยในอนาคต รวมตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดตามมาและแนวทางในการแก้ไข

Academy of Moral and Political Sciences

สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา

View all posts by Academy of Moral and Political Sciences →