ภาคีสมาชิก แต่งตั้งวันที่ ๒ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สาขาวิชาโบราณคดี ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา
–กรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า ในคณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากการบอกเล่า (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน)
-กรรมการเฉพาะกิจจัดทำประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ๑๐๐ ปี ราชบัณฑิตยสภา ในคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ๑๐๐ ปี ราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๕ – พ.ศ. ๒๕๖๙)
ประวัติการศึกษา
-ปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) (เกียรตินิยมอันดับ ๒) มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๑๕)
-ปริญญาโท อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๙)
ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ
-รับราชการเป็นอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ ประจำหมวดวิชาประวัติศาสตร์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๑ – พ.ศ. ๒๕๕๙
-เปิดหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่นวิชาโท-วิชาเอก (พ.ศ. ๒๕๓๐ – พ.ศ. ๒๕๕๙)
-อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม
ประวัติการทำงานบริหาร
-กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้เชี่ยวชาญสาขาประวัติศาสตร์) ในคณะกรรมการบริหารศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร (องค์การมหาชน) (พ.ศ. ๒๕๕๒ – พ.ศ. ๒๕๕๖)
ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ
-รายงานวิจัย ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน (พ.ศ. ๒๕๓๒)
-งานวิจัย “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง ศึกษากรณี ชุมชนมอญบ้านม่วง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี” ลุ่มน้ำแม่กลอง : พัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรม (กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๓๖)
–การวิจัยศึกษาและพัฒนาเพี่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมตามเส้นทางสัญจรทางน้ำและคูคลองโบราณสู่เมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๕๖๒)
–ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน (กรุงเทพฯ : บริษัท สำนักพิมพ์สร้างสรรค์จำกัด), ๒๕๕๔.
–ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นลุ่มน้ำแม่กลอง ความหลากหลายของผู้คน ชุมชน และวัฒนธรรม บ้านโป่ง–เจ็ดเสมียน (กรุงเทพฯ : หจก. เอราวัณการพิมพ์), ๒๕๕๔.
–ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นย่านเก่าในกรุงเทพมหานครฯ (พ.ศ. ๒๕๕๔) (หัวหน้าโครงการวิจัย)
-“ประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำท่าจีนจากการบอกเล่า กรณีศึกษา : บ้านเก้าห้องสุพรรณบุรี” ศิลปวัฒนธรรม (กันยายน ๒๕๒๘)
-“บ้านไหล่หินกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” ใน พิพิธภัณฑ์ภาคสนาม ประสบการณ์จากคนลองทำ (พ.ศ. ๒๕๕๑)
-“กรุงเทพฯ : ความหลากหลายของผู้คน ชุมชน และวัฒนธรรม,” ๒๒๕ ปี กรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. ๒๕๕๒)
-“ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชาวสวน จังหวัดสมุทรสงครามตอนบน (ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา และตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที)”, ใน วารสารหน้าจั่ว (พ.ศ. ๒๕๕๓)
-“นายฮ้อยเกลือ และนายฮ้อยวัว-ควาย แห่งดินแดนที่ราบสูงโคราช”, คน ของ ท้องถิ่น เรื่องเล่า “สยามใหม่” จากมุมมองของชุมชน (พ.ศ. ๒๕๕๔)
ความเชี่ยวชาญ
-ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและชุมชน การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม (วัฒนธรรม ภูมิปัญญา พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน การท่องเที่ยวชุมชน และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน)
เกียรติคุณที่ได้รับ
-รางวัล หนังสือส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นดีเด่น จากสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ฯ เรื่อง ประวัติศาสตร์สังคมของชุมชนลุ่มน้ำท่าจีน (พ.ศ. ๒๕๕๘)
-ประกาศเกียรติคุณเป็นผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น (พ.ศ. ๒๕๖๑)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
-ประถมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๕๓
-มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. ๒๕๕๘