นายกฤษฎา บุณยสมิต

ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

                ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๐

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา

          -ประธานกรรมการ ใน กก.ชำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน). กรรมการใน

           คณะกรรมการวิชาการ เช่น กก.ชำระพจนานุกรม ,กก.ศึกษาและพัฒนาความรู้ประวัติศาสตร์ไทย

           ,คณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย,กก.พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย, กก.จัดทำ

            พจนานุกรมโบราณศัพท์ และที่ปรึกษาสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๔๕-ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

         -ปริญญาตรี  นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (๒๕๑๘)

         -ประกาศนียบัตร เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (๒๕๑๙)

         -ประกาศนียบัตรวิทยาลัยการทัพเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง กองทัพเรือ (๒๕๔๖)

ประวัติการทำงานวิชาการ

          -คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชา ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย

           (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน), อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต, ประธานกรรมการสอบ

           วิทยานิพนธ์ หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารงานยุติธรรม (พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน)

          -คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจผลงานวิชาการระดับรอง

           ศาสตราจารย์

          -คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต

          -คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ อาจารย์พิเศษ ระดับปริญญาตรี วิชาอารยธรรมไทย (พ.ศ.

      ๒๕๕๒-๒๕๕๘), ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖)

          -สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก่ อาจารย์ผู้บรรยาย การร่างสัญญา, การตีความกฎหมาย รวม ๓

           หลักสูตรสำหรับนิติกรปฏิบัติการ, นิติกรชำนาญการ และนิติกรชำนาญการพิเศษ (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน)

          -สำนักงานอัยการสูงสุด ได้แก่ อาจารย์ผู้บรรยายในการอบรมหลักสูตรอัยการผู้ช่วย, อัยการจังหวัด

         -วิทยากรบรรยายในหลักสูตรต่างๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานศาลปกครอง

           สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข การท่าเรือแห่ง

           ประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บมจ. ทีโอที บริษัท ไปรษณีย์ไทย ธนาคารออมสิน

      สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ส.

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

           -พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (พ.ศ. ๒๕๒๒-ปัจจุบัน)

           -กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.

            ๒๕๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน)

           -กรรมการในคณะกรรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกรรมการใน

            คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. ๒๕๖๐

           -อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ อนุกรรมการทะเบียน เนติบัณฑิตยสภา

           -อนุกรรมการในอนุกรรมการกฎหมายและระเบียบ สำนักงาน ป.ป.ช. ฯลฯ

ประวัติการทำงานบริหาร

           -ผู้ตรวจการอัยการ (ข้าราชการอัยการชั้น ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒)

            -อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ (ข้าราชการอัยการชั้น ๖ พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑)

            -กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๙-ปัจจุบัน)

            -กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ( พ.ศ. ๒๕๖๒-ปัจจุบัน)

            -กรรมการในคณะกรรมการ บมจ. ทีโอที (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๐)

            -กรรมการในคณะกรรมการองค์การตลาด (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๐)

            -กรรมการในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๗)

ผลงานวิชาการ ประกอบด้วยหนังสือ งานวิจัย และบทความทางวิชาการ เช่น

            –หนังสือและงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่แล้วในโครงการวิจัยเมธีอาวุโส สกว. ดร.วินัย พงศ์ศรีเพียร เช่น กฎหมายตราสามดวง : การพิจารณาใหม่, พระอัจฉริยภาพด้านนิติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ใน กฎมณเทียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ,ติงทุเลา ใน ศรีชไมยาจารย์, พระสงฆ์และสถาบันพระพุทธศาสนานอก กฎพระสงฆ์ ใน พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กับสังคมไทย , พระไอยการลักษณรับฟ้อง, ศัพท์กฎหมายเก่า” ใน ภาษาไทยในกฎหมายตราสามดวง.,กฎหมายตราสามดวงสำหรับเด็กโต ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม ๓๐, (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว),ตระลาการ  หรือ กระลาการ ลูกขุน และผู้ปรับ” ใน ความรู้ในประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใน นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ,ประวัติความเป็นมาขององค์กรอัยการไทยโครงสร้างกฎหมายตราสามดวง และ ความรู้ความสามารถและจริยธรรมของตุลาการไทยโบราณในพระธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นหนังสืออ่านประกอบ ในวิชา น. ๔๖๒ ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย หนังสือที่มีผู้เขียนร่วม (กนกวลี  ชูชัยยะ) ได้แก่ ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑   รัชกาลที่ ๑–รัชกาลที่ ๓, ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒ รัชกาลที่ ๔–พ.ศ. ๒๔๗๕, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช :พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่โลกยกย่อง, หนังสือชุด บุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกย่อง จำนวน ๑๕ เล่ม,สังคมสมานฉันท์ในสารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ

           บทความวิชาการ ที่มีการพิมพ์หรือเผยแพร่แล้วในวารสารต่าง ๆ เช่น คอลัมน์ “เพลินอดีตพิศปัจจุบัน”ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (๒๕๖๑-ปัจจุบัน รวม ๑๘๖ เรื่อง) ,บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทยและประวัติศาสตร์กฎหมายไทย ในวารสารอัยการ, วารสารวิชาการศาลปกครอง, วารสารตำรวจ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วารสารโลกประวัติศาสตร์, จุลสารข่าวเนติบัณฑิตยสภา รวมทั้งการเอกสารประกอบบรรยายในสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง “โทษประหารชีวิตของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน”และ “คดีพญาระกา บทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทย”

ความเชี่ยวชาญ  ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

เกียรติคุณที่ได้รับ โล่ และประกาศเกียรติคุณผู้ได้ทำคุณประโยชน์แก่ราชการของราชบัณฑิตยสถาน จาก

ราชบัณฑิตยสถานในโอกาสวันสถาปนาฯครบ ๘๐ ปี, โล่ เข็มเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ “กัลยาณมิตร กรมบัญชีกลาง”, โล่ เข็มเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ “เพชรพัสดุ” บุคคลผู้มีคุณูปการยิ่งต่อการบริหารงานพัสดุภาครัฐ จากสมาคมพัสดุแห่งประเทศไทย, โล่ประกาศเกียรติคุณ “รำเพยจรัสแสง” นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์, ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก  (พ.ศ. ๒๕๔๘) มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. ๒๕๔๓)