รองศาสตราจารย์วนิดา ขำเขียว

ภาคีสมาชิก  แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา ประเภทวิชาปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

          – ปริญญาตรี (คบ.) สาขาวิชาครุศาสตรศิลปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๖

          – ปริญญาโท (อม.) สาขาวิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๓

          – ปริญญาเอก (พธ.ด.) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๑

          – ประกาศนียบัตร  Cert. in Professional Development Program College Advanced Education (Sydney University) ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. ๒๕๓๒

ประวัติการทำงานวิชาการ

          – เป็นอาจารย์พิเศษ วิชาปรัชญาสุนทรียศาสตร์ ระดับปริญญาเอก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๕๓

          – เป็นประธานกรรมการพัฒนาหลักสูตรและมาตรฐานการศึกษา ภาควิชาศึกษาทั่วไป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก ๒๘ ก.ย. ๒๕๕๔

          – บรรณาธิการจัดทำนามานุกรมศาสนาสากล (พ.ศ. ๒๕๕๖-ปัจจุบัน)

          – กรรมการผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา จัดทำสารานุกรมศัพท์ปรัชญา (พ.ศ. ๒๕๕๖-๒๕๕๘)

          – คณะกรรมการเฉพาะกิจปรับปรุงพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา (พ.ศ. ๒๕๕๘)

          – คณะทำงานจัดการสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “วิกฤตจริยธรรมและทางออกของประเทศไทย” ในคณะกรรมการดำเนินงานจัดปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ปี ๒๕๕๖

          – ผู้กลั่นกรองผลงานวิชาการในการประชุมวิชาการเนื่องในวันสหวิทยาการประจำปี ๒๕๕๗

          – บรรณาธิการจัดทำวารสารราชบัณฑิตยสถาน (สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง) ปีที่ ๓๕ ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๖), ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๘) และปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙)

          – บรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญา (พ.ศ. ๒๕๖๒)

          – เป็นอาจารย์พิเศษ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัย        ศรีนครินทรวิโรฒ วิชาสุนทรียศาสตร์ และวิชาปรัชญาเบื้องต้นในปี ๒๕๖๑, วิชาพุทธปรัชญาในปี ๒๕๖๒

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

          – เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการคุณธรรมและจริยธรรม รัฐสภาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

          – เป็นกรรมการสมาคมสภาองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๕๖-๒๕๖๒

ประวัติการทำงานบริหาร

          – หัวหน้าภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ            พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๔๐ และได้รับแต่งตั้งอีกในปี พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔

          – รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๗

          – ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๐

ผลงานวิชาการ

         – มีการเขียนและเรียบเรียงเป็นหนังสือและตำราออกเผยแพร่มีดังนี้ สุนทรียศาสตร์, สมาธิพุทธตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก, พุทธศาสน์, ปรัชญา:วิวัฒน์แห่งความคิด,ปรัชญาวิวัฒนาการแห่งความคิดบนเส้นทางการศึกษา, ญาณวิทยา และมีผลงานวิจัยคือ “การวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านการพัฒนามนุษย์จากองค์ความรู้ทางพระพุทธศาสนา” และ “การสร้างสันติภาพโลกด้วยวิธีคิดแบบอริยสัจ ๔” ผลงานบทความที่ได้ลงในวารสารราชบัณฑิตยสถานปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๕๕๗ คือ มนุษย์บนเส้นทางสู่เสรีภาพของซาทร์ ที่ลงในวารสารราชบัณฑิตยสภาปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๓ พ.ศ.๒๕๕๘ คือ เซมาวิถีสู่ความจริงสูงสุดของรูมี และลงในวารสารราชบัณฑิตยสภาปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๙ คือ หนทางแห่งการหลุดพ้นจากความทุกข์บนเส้นทางปรัชญาของโชเพนเฮาเออร์

ผลงานวิชาชีพ

          – เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ          ปี พ.ศ.๒๕๓๗ และเป็นผู้สร้างหลักสูตรปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปีพ.ศ.๒๕๓๗ และปรับปรุงใช้จนถึงปัจจุบัน

ความเชี่ยวชาญ

          – ทางด้านปรัชญาตะวันตก มีอภิปรัชญา ญาณวิทยา สุนทรียศาสตร์ และทางด้านศาสนามีการฝึกสมาธิ พุทธปรัชญา และศาสนาเปรียบเทียบ

เกียรติคุณที่ได้รับ

          – ข้าราชการดีเด่น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (พ.ศ. ๒๕๓๑ และ พ.ศ. ๒๕๓๒)

          – ได้รับรางวัลอาจารย์ดีเด่นในการทำกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในระดับอุดมศึกษา รางวัล “หม่อมงามจิตต์  บุรฉัตร” ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) ได้รับเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘

          – ชั้นที่ ๑ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ได้รับเมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑