ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มาตรฐาน และคุณภาพทางการศึกษา ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๐
– ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๖
– ปริญญาเอก Ph.D. (อุดมศึกษา) มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก สหรัฐอเมริก พ.ศ. ๒๕๑๙
ประวัติการทำงานบริหาร
– รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๖๐)
– คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒ สมัย (พ.ศ. ๒๕๓๖–๒๕๓๙, พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๕๔๗)
– คณบดีวิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (พ.ศ. ๒๕๕๐–๒๕๕๘
– ประธานกรรมการคุรุสภา (พ.ศ. ๒๕๕๖–๒๕๕๘)
– กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๔–๒๕๓๖)
– กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๔๔)
– กรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๙–๒๕๔๕)
– อนุกรรมการปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๔๔)
– ประธานคณะทำงานด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๓๔–๒๕๓๖)
ที่ปรึกษา
– สภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษากรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๓๘–๒๕๔๐)
– วุฒิสภา ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการอุดมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๓๐–๒๕๓๑)
– ทบวงมหาวิทยาลัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๔๑)
ผลงานวิชาการ
ตำรา
– ความรู้คู่คุณธรรม
– หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา
– หลักสูตรการศึกษาทั่วไป : หลักการและวิธีดำเนินการ
– จำเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย
– ต้องก้าวให้พ้นจากวังวลเดิม : รวมบทวิจารณ์การศึกษากับสังคมไทย
– ความเป็นผู้นำทางการศึกษา
งานวิจัย
– มหาวิทยาลัยไทยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ : หลักการและวิธีการดำเนินการ, ๒๕๕๐
– กระบวนทัศน์ใหม่ในการบริหารจัดการอุดมศึกษาของประเทศไทย, ๒๕๔๖
– กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษษของประเทศไทย, ๒๕๔๘
– สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาการศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย, ๒๕๔๙
– การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในระดับบัณฑิตศึกษา, ๒๕๔๓
เกียรติคุณที่ได้รับ
– อาจารย์ดีเด่นสาขาสังคมศาสตร์ของที่ประชุมอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๙
– ศิษย์เก่าดีเด่นภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๘
– ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ พ.ศ. ๒๕๔๔
– รางวัลผู้เขียนบทความทางการศึกษาดีเด่น โล่รางวัลศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) พ.ศ. ๒๕๕๓
ความเชี่ยวชาญ
– อุดมศึกษา
– บริหารศึกษา
– หลักสูตรและการสอน
– การศึกษากับการพัฒนาประเทศ