นางสุนันท์ ไทยลา

ภาคีสมาชิก  วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

         –กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

          – ปริญญาตรี สังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๐๖)

          – ประกาศนียบัตร

– นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ จากสภาวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๒๐)

– ระดับหัวหน้าโครงการจาก NIDA (พ.ศ. ๒๕๒๘)

– วิทยากรฝึกอบรมด้านบริหารจาก NIDA (พ.ศ. ๒๕๒๑)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – ประชาสัมพันธ์ โครงการ พบส. (การพัฒนาระบบวิชาการด้านสาธารณสุข) ของโรงพยาบาลราชวิถี (พ.ศ. ๒๕๓๓–๒๕๔๒)

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

          – นักสังคมสงเคราะห์ตรี โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๐)

          – นักสังคมสงเคราะห์ตรี โรงพยาบาลหญิง หรือโรงพยาบาลราชวิถีในปัจจุบัน (๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๑–๒๕๔๒)

          – หัวหน้าแผนกสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลหญิง (๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘–๒๕๔๒)

ประวัติการทำงานบริหาร

          – หัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ (พ.ศ. ๒๕๑๘–๒๕๔๒)

ผลงานวิชาการ

          – อาจารย์ฝึกภาคปฏิบัติแก่นักศึกษาสังคมสงเคราะห์ ระดับปริญญาตรี (พ.ศ. ๒๕๑๐–๒๕๔๒)

          – อาจารย์ปรึกษาวิทยานิพนธ์แก่นักศึกษาชั้นปริญญาโท สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๒๕–๒๕๔๒)

          – อาจารย์พิเศษของคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ทั้งปริญญาตรีและปริญญาโท

          – กรรมการจัดการสัมมนาทางวิชาการ วิชาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

          – รองประธานคณะทำงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

          – ผู้ริเริ่ม “วิธีการป้องกันการทอดทิ้งบุตรของมารดานอกสมรส” โดยเริ่มใช้ที่โรงพยาบาลราชวิถี และขยายความรู้สู่หน่วยงานที่ให้บริการทางสังคมทั่วไป จนได้รับการพิมพ์เผยแพร่ในวารสารกรมการแพทย์ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (กันยายน–ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๔) ได้รับความสนใจจากประชาชนทั่วไป ตลอดจนผู้บริหารของโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้ส่งนักสังคมสงเคราะห์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคมาศึกษาดูงานเป็นประจำ จึงเกิดผลดี คือจำนวนเด็กถูกทอดทิ้งหลังคลอดลดลงจากปีละ ๑๕๐–๒๐๐ ราย เหลือปีละ ๙–๑๐ รายเท่านั้น และบทความนี้ได้ถูกนำเสนอต่อที่ประชุม The VI Asian Regional Seminar on “Social Development in the 80’s and The Disadvantaged Group” ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ “Prevention of the unwanted Child Neglected by unmarried mothers”

          – ริเริ่มนำความรู้ทางด้านงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของผู้มารับบริการ และเพื่อให้เป็นแนวทางในการป้องกันปัญหามากยิ่งขึ้น กล่าวคือ เป็นการป้องกันปัญหามากกว่าการติดตามแก้ไขปัญหา

          – งานรณรงค์ให้นักสังคมสงเคราะห์ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญในการพัฒนาสถาบันครอบครัว โดยเริ่มจากผู้รับบริการในหน่วยงานทางราชการแพทย์ก่อนให้ผู้รับบริการได้เข้าใจปัญหาครอบครัว และรู้วิธีการป้องกันปัญหาครอบครัวในเบื้องต้น

          – รวบรวมและเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและภาวะสังคม-จิตใจของผู้ป่วยเสนอต่อสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          – เผยแพร่ผลงานวิจัยเรื่อง ปัญหาของผู้ป่วยสูติกรรมและการทอดทิ้งบุตร ศึกษาเฉพาะกรณีปัญหาของผู้ป่วยสูติกรรมที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลราชวิถี สู่สถาบันต่าง ๆ และในกระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. ๒๕๓๕)

ความเชี่ยวชาญ

          สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์

เกียรติคุณที่ได้รับ

– โล่เกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะบำเพ็ญประโยชน์ และสร้างชื่อเสียงมหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๖)

– โล่สรรเสริญเกียรติคุณ เป็นนักสังคมสงเคราะห์ดีเด่น สาขาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จากมูลนิธิศาสตราจารย์ปกรณ์ อังศุสิงห์ (พ.ศ. ๒๕๒๘)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖)

          – ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)