ศาสตราจารย์สิทธิ์ บุตรอินทร์

ภาคีสมาชิก      วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ สาขาวิชาตรรกศาสตร์ ประเภทวิชาปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์

และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

–   กรรมการวิชาการในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา กองธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ในพระบรมมหาราชวัง ตามคำสั่งที่ ๘๗/๒๕๔๘

–   กรรมการวิชาการในคณะบรรณาธิการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ตามคำสั่งที่ ๗๓/๒๕๕๓

–   กรรมการวิชาการในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมศัพท์ปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ตามคำสั่งที่ ๙๘/๒๕๕๓

–   กรรมการในคณะกรรมการเฉพาะกิจปรับปรุงพจนานุกรมศัพท์ปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา ตามคำสั่งที่ ๑๕๖/๒๕๕๘

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี ศ.บ.ปรัชญา  สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย) กรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๕๑๐) โดยทุนการศึกษาของ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ปริญญาโท M.A. in Philosophy, Banaras Hindu University, India (พ.ศ. ๒๕๑๒) โดยทุนการศึกษาของรัฐบาลอินเดีย
  • ปริญญาเอก D. Litt. in Philosophy, The State University of Utrecht, The Netherlands (พ.ศ. ๒๕๑๖) โดยทุนการศึกษาของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์
  • Post-grad.Dip.in Journalism, London, England (พ.ศ. ๒๕๑๕)
  • Post-grad.Dip.in International Relations, The Haque, The Netherlands (พ.ศ. ๒๕๑๔)
  • ประกาศนียบัตรพิเศษครูมัธยม (พม.) กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๕๐๙)
  • ประกาศนียบัตรเปรียญธรรม ๖ ประโยค สำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๕๐๖)

ประวัติการทำงานวิชาการ

          –    อาจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๑๖–๒๕๑๘)

          –    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๑๙–๒๕๒๒)

          –    รองศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๓–๒๕๓๓)

          –    ศาสตราจารย์ทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๓๔–ปัจจุบัน)

          –    ศาสตราจารย์เกียรติคุณทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๗–ปัจจุบัน)

          –    ผู้ได้รับเชิญประชุมวิชาการนานาชาติและเสนอบทความวิชาการ ๓๒ ครั้ง (พ.ศ. ๒๕๒๔–ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานบริหาร

  • หัวหน้าภาควิชามนุษยสัมพันธ์ (สาขาวิชาปรัชญา วิชาศาสนา วิชาบ้านและชุมชน วิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและวิชาศิลปะ) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๒๗)
  • ประธานโครงการจัดตั้งภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๗–๒๕๒๘)
  • ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมตำราและเอกสารวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๒๘–๒๕๓๔)
  • ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๓๘)
  • ประธานกรรมาธิการบริหารที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ (พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๓๘)
  • กรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยอื่นๆในประเทศและต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๓๒–๒๕๕๔)
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ และวิจิตรศิลป์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๐–๒๕๔๔)
  • อนุกรรมการปฏิรูปอุดมศึกษาแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัย (พ.ศ.๒๕๔๒–๒๕๔๔)
  • Member of Advisory Committee of PWPA, New York, USA (พ.ศ. ๒๕๒๘–๒๕๓๙)
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและประเมินผลงานวิชาการปรัชญาและศาสนาเพื่อดำรงตำแหน่งทางวิชาการทุกระดับของสถาบันอุดมศึกษาไทยและต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๒๗–ปัจจุบัน)
  • กรรมการพิทักษ์สิทธิสวัสดิภาพป้องกันภยันตรายและจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพและคณะวิชาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพทุกคณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๓–ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการ

  • งานตำรา อาทิ  –  The Social Philosophy of Buddhism 7th Ed., Mahamakutrajavidayaraya, Bangkok ๒๕๕๓    ตรรกศาสตร์ : วิชาการใช้เหตุผล ๕th Ed. มหามกุฏราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ ๒๕๕๗
  • งานวิจัย   อาทิ  โลกทัศน์ชาวไทยลานนา สำนักพิมพ์ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ เชียงใหม่ ๒๕๒๓ และ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส : พระดำริด้านการศึกษาและการปกครอง สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ ๒๕๔๖
  • งานหนังสือ อาทิ  ปรัชญาเปรียบเทียบมนุษยนิยมตะวันออกกับตะวันตก บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด  กรุงเทพฯ ๒๕๕๔   และปรัชญานิพนธ์  สำนักพิมพ์ศยาม กรุงเทพฯ ๒๕๕๙
  • งานตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติและนานาชาติ อาทิ บทความตีพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน–ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๔๖–๒๕๖๒ รวม ๘ เรื่อง และบทความตีพิมพ์ในสำนักพิมพ์นานาชาติ พ.ศ. ๒๕๒๘–๒๕๔๒ รวม ๗ เรื่อง

ความเชี่ยวชาญ

  • ตรรกศาสตร์ ปรัชญาประยุกต์ ปรัชญาเปรียบเทียบ ศาสนศาสตร์

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • ผู้ประสบความสำเร็จโครงการพัฒนานักบริหารและวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันอุดม
    ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๑
  • ผู้บริหารราชการดีเด่นด้วยความเสียสละและมีประสิทธิภาพสูง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๕
  • Honourable Receiver of Very-distinguished Honour and Great Prestige of being selected as Man of the Year ๒๐๐๘ in Philosophy, ABI, USA พ.ศ. ๒๕๕๑
  • ผู้มีผลงานดีเด่นสาขาวิชาปรัชญา ของมูลนิธิจำนง  ทองประเสริฐ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๖๑
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณทางปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๗

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓)
  • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎไทย (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘)