ศาสตราจารย์เกียรติคุณสัญชัย สุวังบุตร

ภาคีสมาชิก  วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๖  สาขาวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          – ประธานบรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์สากล ภูมิภาคยุโรป (พ.ศ. ๒๕๕๖–ปัจจุบัน)

          – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์สากล ภูมิภาคยุโรป (พ.ศ. ๒๕๓๑–๒๕๕๖)

ประวัติการศึกษา

          – อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๔)

         – M.A. in History, University of Northern Colorado สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๗)

ผลงานวิชาการ

          – ยุโรปสามทศวรรษหลังสงคราม ค.ศ. ๑๙๔๕–๑๙๗๕ (๒๕๓๑)

          – รวมบทความประวัติศาสตร์ : ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญศรี  ดุ๊ก (บรรณาธิการ) (๒๕๓๑)

          – ปัญญาหลังม่านเหล็ก:ประวัติศาสตร์วรรณกรรมโซเวียต ค.ศ. ๑๙๑๗–๑๙๙๑ (๒๕๔๐)

          – รวมบทความประวัติศาสตร์และวรรณกรรมโซเวียต (๒๕๔๑)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๓ อักษร E–G (๒๕๔๓)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๒ อักษร C–D พิมพ์ครั้งที่ ๒ (๒๕๔๔)

          – ประวัติศาสตร์วรรณกรรมโซเวียต ค.ศ. ๑๙๑๗–๑๙๙๑ จากเลนินถึงกอร์บาชอฟ (๒๕๔๔)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๔ อักษร H–K (๒๕๔๖)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๑ อักษร A–B พิมพ์ครั้งที่ ๓ (๒๕๔๗)

          – ตรอตสกีบนเส้นทางการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ (๒๕๔๗)

          – จอห์น รีดกับการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. ๑๙๑๗ (๒๕๔๘)

          – เลออน ตรอตสกี ชัยชนะหลังความพ่ายแพ้ (๒๕๔๘)

          – สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๐)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๕ อักษร L–O (๒๕๕๑)

          – นาซีในสมัยไวมาร์ ค.ศ. ๑๙๑๘–๑๙๓๓ (๒๕๕๑)

          – โลกตะวันตกหลังมหาสงคราม (๒๕๕๑)

          – เลนินกับการสร้างรัฐสังคมนิยมโซเวียต (๒๕๕๓)

          – ราชาธิปไตยใต้รัฐธรรมนูญสู่สาธารณรัฐ : ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๘๑๕–๑๙๗๐ (๒๕๕๓)

          – นิโคลัสที่ ๒ กับอวสานราชวงศ์โรมานอฟ (๒๕๕๕)

            – ยุโรป : สงครามและสันติภาพ ค.ศ. ๑๙๓๙–๑๙๔๕ (๒๕๕๕)

          – ราชวงศ์แห่งมหาอำนาจยุโรปในคริสต์วรรษที่ ๑๙ : กษัตริย์และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๕)

          – Mother กำเนิดนวนิยายแนวทางพรรค (๒๕๕๕)

          – นาซีเยอรมัน ค.ศ. ๑๙๓๓–๑๙๔๕ (๒๕๕๖)

          – อีวา เบราน์ ผู้หญิงของฮิตเลอร์ (๒๕๕๖)

          – รัสเซียสมัยซาร์และสังคมนิยม (พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๗)

          – โซเวียตโปสเตอร์ ค.ศ. ๑๙๑๘-๑๙๒๔ (๒๕๕๗)

          – ยุโรปในสงครามเย็น ค.ศ. ๑๙๔๕–๑๙๙๑ (๒๕๕๘)

          – ยุโรป ค.ศ. ๑๘๑๕–๑๙๑๘ (๒๕๕๘)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๖ อักษร P–S (๒๕๕๙)

          – โซเวียตสมัยสตาลิน (๒๕๖๐)

          – ใครเป็นใครในการปฏิวัติรัสเซีย (๒๕๖๑)

          – ทรรปณะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ (พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๑)

          – ประวัติศาสตร์ใน Twentieth Century Impressions of Siam: Its History, People, Commerce, Industries and Resources (๒๕๖๑)

          – โรมานอฟ นิโคลัสที่ ๒ กับจักรวรรดิรัสเซีย (๒๕๖๒)

          – ทรรศนะประวัติศาสตร์ยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ (พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๖๒)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ ๒ (ในภูมิภาคยุโรป) ฉบับราชบัณฑิตยสภา (๒๕๖๒)

          – สารานุกรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : ยุโรป เล่ม ๗ อักษร T–Z (๒๕๖๓)

ความเชี่ยวชาญ

          – ประวัติศาสตร์ยุโรปคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙–๒๐

          – ประวัติศาสตร์รัสเซีย/ยุโรปตะวันออก

เกียรติคุณที่ได้รับ

          – ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พ.ศ.๒๕๕๙

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑)

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖)