ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์

ภาคีสมาชิก      แต่งตั้งเมื่อ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ สาขาวิชาโบราณคดี ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

– ปริญญาตรี ศศ.บ. (โบราณคดี) (เกียรตินิยมอันดับ ๒) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๕๒๕

– ปริญญาโท ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๕๓๒

– D.E.A. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) (Histoire de l’art) มหาวิทยาลัยปารีส-ซอร์บอนน์ (ปารีส ๔) (Université de Paris-Sorbonne, Paris IV) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๕๓๘

– ปริญญาเอก (ประวัติศาสตร์ศิลปะ) Doctorat (Histoire de l’art) มหาวิทยาลัยปารีส-ซอร์บอนน์ (ปารีส ๔) (Université de Paris-Sorbonne, Paris IV) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปี พ.ศ. ๒๕๔๒

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

          – ศาสตราจารย์ (ที่ได้รับเงินประจำตำแหน่งขั้นสูง) คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

(พ.ศ. ๒๕๓๕- ปัจจุบัน)

– กรรมการสภามหาวิทยาลัย ประเภทคณาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ปัจจุบัน)

– กรรมการสภามหาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๖)

– คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน)

– คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน)

– คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน)

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ

          ผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ๑๑ เรื่อง ตำรา ๖ เรื่อง หนังสือ ๑๓ เรื่อง บทความทางวิชาการ ราว ๖๐ เรื่อง ตัวอย่างผลงานที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่และบางเรื่องที่ได้รับรางวัล

  • ศิลปะทวารวดี : วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย, ๒๕๔๗.
  • ศิลปะสุโขทัย บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม, ๒๕๔๘.
  • งานช่างสมัยพระนั่งเกล้าฯ, ๒๕๕๑.
  • ศิลปะล้านนา, ๒๕๕๖.
  • เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน, ๒๕๕๕.
  • พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและศรัทธาของคนไทย. ๒๕๕๕.

พุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ : พัฒนาการของงานช่างและแนวคิดที่ปรับเปลี่ยน, ๒๕๕๖.

  • เจดีย์ในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และพลังศรัทธา, ๒๕๖๐.
  • คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในล้านนา, ๒๕๖๓.
  • ศิลปกรรมวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม, ๒๕๖๓.
  • พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิศิลปะชั้นสูงในงานช่างไทย : แบบอย่างศิลปะ คติ และเทคนิคการสร้าง, ๒๕๖๓.
  • คู่มือนำชมศิลปกรรมโบราณในอยุธยา, ๒๕๖๔.
  • ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย, ๒๕๖๕.

ความเชี่ยวชาญ

          –ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี ในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เกียรติคุณที่ได้รับ

     – ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๓

รางวัล

  • รางวัลดีเด่นและรางวัลชมเชย ในงานประกวดหนังสือดีเด่น จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ประเภทหนังสือสารคดี ด้านการท่องเที่ยว อาหาร ฯลฯ 
  • รางวัลดีเด่น ๒ รางวัล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และ ๒๕๖๕
  • รางวัลชมเชย ๓ รางวัล ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕, ๒๕๖๑, ๒๕๖๔
  • รางวัลผลงานวิชาการดีเด่น TTF AWARD ด้านมนุษยศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๓ จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย
  • ผลงานวิจัยดีเยี่ยม สาขาปรัชญา ประจำปี .. ๒๕๕๑ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาปรัชญา ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
  • ได้รับทุน ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส) สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๓.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • มหาวชิรมงกุฎ
  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก