ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์

ภาคีสมาชิก      แต่งตั้งวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์
     สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา

          – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๘–๒๕๖๓)

            – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๖๔–ปัจจุบัน)

            – ทีมวิจัยเรื่อง “ประเทศไทยในอนาคต : มิติทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย”

– วิทยากรผู้ดำเนินรายการเสวนาวิชาการ : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  เรื่อง “ศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม” ในการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๕๖๑ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ห้องราชา ๒ โรงแรมปรินซ์พาเลซ ชั้น ๑๑ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

  •  วิทยากรผู้ดำเนินการอภิปราย เรื่อง “ความเสมอภาคในสังคมไทย” ในการประชุมวิชาการ
    ราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๕๖๒ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง สังคมใหม่ สังคมเสมอภาค เมื่อวันพุธที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ
  •  วิทยากรผู้ดำเนินการอภิปราย ในโครงการราชบัณฑิตสัญจร สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง “ซอฟต์พาวเวอร์  : สื่ออัตลักษณ์ไทยสู่ใจชาวโลก” เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๕  โดยการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์        

ประวัติการศึกษา

            – ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๓)

            – ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๖)

          – Doctor of Philosophy, University of Durham, สหราชอาณาจักร (พ.ศ. ๒๕๒๗)

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

          – ศาสตราจารย์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

            – อาจารย์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗)

ประวัติการทำงานบริหาร

            – หัวหน้าภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๗–๒๕๓๘)

          – รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๘–๒๕๔๑, ๒๕๔๒–๒๕๔๕)

ผลงานวิชาการ

            – งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาวิวัฒนาการหุ่นกระบอกไทย สื่อพื้นบ้านในภูมิภาคตะวันตก” (พ.ศ. ๒๕๓๕)

            – งานวิจัยเรื่อง “วาทศิลป์ของพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญในยุคสุโขทัยและอยุธยา” (พ.ศ. ๒๕๕๒)

            – ตำราเรื่อง “บุคลิกภาพและมรรยาทวัฒนธรรม” (พ.ศ. ๒๕๕๒)

เกียรติคุณที่ได้รับ

            – ผลงานวิจัยดีเยี่ยม พ.ศ. ๒๕๓๙ จากสภาวิจัยแห่งชาติ

            – นักวิจัยดีเด่น พ.ศ. ๒๕๕๗ จากสภาวิจัยแห่งชาติ

          – เกียรติบัตรและเข็มเครื่องหมาย “แสนยาธิปัตย์” พ.ศ. ๒๕๓๗ จากกองทัพบก

            – เกียรติบัตรและเข็มเครื่องหมาย “สหัทยานาวี” พ.ศ. ๒๕๓๘ จากกองทัพเรือ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

            – ประถมาภรณ์มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๔๗

– ประถมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ., ๒๕๕๐