ศาสตราจารย์ ดร.มิ่งสรรพ์  ขาวสอาด

แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สาขาวิชา เศรษฐศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย (พ.ศ. ๒๕๑๖) (ได้รับการยกเว้นในระดับปริญญาโท) 
  • ปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย
    (พ.ศ. ๒๕๒๐)
  • ประกาศนียบัตร ๑) หลักสูตรการวิจัยด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม ณ ม.ฮาร์วาร์ด (พ.ศ. ๒๕๓๔)

๒) หลักสูตร “The Oxford Scenarios Programme” ณ ม. อ๊อกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร
(พ.ศ. ๒๕๕๐)  

๓) หลักสูตร “สถาบันกรรมการบริษัทไทย” (Director Certification Program – DCP) (พ.ศ. ๒๕๕๘)

ประวัติการทำงานวิชาการ

  • ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๔๙)
  • ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๑ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๓)
  • ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

  • Vice Chair, Board of Trustees, International Centre for Research in Agroforestry (ICRAF), Nairobi, Kenya. (1998 – 2004)
  • Member, Advisory Committee, DANIDA Seed Center. Denmark. (2002 – 2004)
  • Regional Committee for Asia and the Pacific, International Council for Science (ICSU), Paris, France. (2005 – 2010)  
  • คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๔๕) 
  • คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๕๐) 
  • กรรมการบริหารและกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๔) 
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๘)
  • กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๒) 
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในคณะกรรมการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๖)
  • กรรมการจริยธรรมการวิจัย (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานบริหาร

  • Transnational Affairs Officer สำนักงานคณะกรรมาธิการเอเชียแปซิฟิก (ESCAP) องค์การสหประชาชาติ ศูนย์ศึกษาบรรษัทข้ามชาติ (พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๖)
  • รองประธานสถาบัน ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) (พ.ศ. ๒๕๓๙ – ๒๕๔๑)
  • ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยสังคม ม.เชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๒)
  • ประธานบริหารแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม คนไทย ๔.๐ (พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๖)
  • ประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (พ.ศ. ๒๕๕๕ – ปัจจุบัน) 

ผลงานวิชาการ

  • Santikarn, M. 1981. Technology Transfer: A Case Study. Singapore: Singapore University Press.
  • Kaosa-ard, M.S. 1987. Technology Transfer under Alternative Arrangements with Transnational Corporations: Selected Industries. ESCAP/UNCTC Publication Series B, No. 11, UN.
  • Kaosa-ard, M.S. and Rerkasem, B. 2000. The Growth and Sustainability of Rural Asia. Asian Development Bank and Oxford University Press. 
  • Kaosa-ard, M. and Dore, J. (editor). 2003. Social Challenges for the Mekong Region. White Lotus, Bangkok.
  • Mingsarn Kaosa-ard. 2005. “Natural Resources and the Environment” in Warr, P. 2005. Thailand Beyond the Crisis. New York: Routledge Curzon. pp. 315 – 340.
  • Mingsarn Kaosa-ard and A. Andrew (editors). 2009. Feeding the Dragon Agriculture-China and the GMS. CMU Mekong Series. Chiangmai: Chiang Mai University Press.
  • อานันท์ กาญจนพันธุ์และมิ่งสรรพ์ ขาวสอาด. ๒๕๓๘. วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า: กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน. Research Monograph No.13. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดีเด่น จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘
  • มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. ๒๕๔๔. แนวนโยบายการจัดการน้ำสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับชมเชย จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๔๕
  • อัครพงศ์  อั้นทอง, ปเนต มโนมัยวิบูลย์ และมิ่งสรรพ์  ขาวสอาด. ๒๕๕๘. โครงสร้าง วิสัยทัศน์ การขับเคลื่อนสุขภาวะ และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น. เชียงใหม่: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ. ได้รับรางวัลผลงานวิจัยระดับดี จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ปี พ.ศ. ๒๕๕๙

ความเชี่ยวชาญ ด้านเศรษฐศาสตร์นโยบายสาธารณะ/ การท่องเที่ยว/ สิ่งแวดล้อม

เกียรติคุณที่ได้รับ

  • The Australia Alumni Award 2018: Australian Embassy Bangkok ‘Alumni of the Year Award.
  • นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๘ 
  • อาจารย์/ นักวิจัยดีเยี่ยม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐
  • รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑ 
  • รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • พ.ศ. ๒๕๕๐ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (สาขาเศรษฐศาสตร์)
  • พ.ศ. ๒๕๕๓ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)