ศาสตราจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร

ภาคีสมาชิก  วันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          –กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๙–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

          – เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยโมแนช ประเทศออสเตรเลีย

         – เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยโมแนช ประเทศออสเตรเลีย

          – Doctor of Philosophy (Economics) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – ศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์วิจัย ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปี (A๑) ประจำจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตุลาคม ๒๕๕๖–เมษายน ๒๕๖๓)

         – Chairperson ของ International Development Economics Associates (IDEAS),  London, United Kingdom. (พ.ศ. ๒๕๔๔–ปัจจุบัน)

         – ศาสตราจารย์ระดับ ๑๑ ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๗–ปัจจุบัน)

          – ศาสตราภิชาน ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๐–๒๕๕๒)

          – ศาสตราจารย์กิตติคุณ ด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๕–ปัจจุบัน)

          – Research Fellow, Institute of South-East Asian Studies, Singapore (พ.ศ. ๒๕๓๑–๒๕๓๒)

          – Expert, Development  Economist ปฏิบัติงานในองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO-ARTEP) ณ กรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๒๗)

          – Visiting Professor School of Advanced International Studies, John Hopkins University, USA. (ตุลาคม–ธันวาคม ๒๕๔๔)

          – Visiting Professor Centre for Southeast Asian Studies, Kyoto University (ตุลาคม ๒๕๔๖–มีนาคม ๒๕๔๗)

          – Visiting Professor Institute of Social Science, Tokyo University (ตุลาคม ๒๕๔๙–มีนาคม ๒๕๕๐)

ผลงานวิชาการ

          – เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ (ฉบับภาษาอังกฤษชื่อ  Thailand Economy and Politics, ๑๙๙๗ โดย Oxford University Press, พิมพ์ครั้งแรก ๑๙๙๕ Paperback ๑๙๙๗ พิมพ์ใหม่ ๒ ครั้งปรับปรุงและพิมพ์ใหม่เป็น Second Edition ในปี ๒๐๐๒ และมีฉบับภาษาญี่ปุ่น)

          – Populism in Asia (Kosuke Mizuno and Pasuk Phongpaichit, eds) จัดพิมพ์โดย Singapore and Kyoto: National University of Singapore Press and Kyoto University Press

          – ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย (ฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ A History of Thailand พิมพ์โดย Cambridge University Press, ๒๐๐๕, Second Edition, ๒๐๐๙, Reprinted ๒๐๑๐, ๒๐๑๑, ๒๐๑๓, Third Edition ๒๐๑๔ มีฉบับภาษา Polish)

          – ภาษีเงินได้เป็นธรรมหรือไม่  (ผาสุก  พงษ์ไพจิตร และนวลน้อย  ตรีรัตน์ บรรณาธิการ)

          – สู่สังคมไทยเสมอหน้า  (ผาสุก พงษ์ไพจิตร บรรณาธิการ) (ฉบับภาษาอังกฤษ ชื่อ Unequal  Thailand: Aspects of Income, Wealth and Power, edited by Pasuk Phongpaichit and Chris Baker National University of Singapore Press (NUS Press), 2016

          – From Peasant Girls to Bangkok Masseuses

          – The Tale of Khun Chang Khun Phaen: Siam’s Great Folk Epic of Love and War, แปลและบรรณาธิการ มีคำอธิบายประกอบ (ได้รับรางวัล Association of Asian Studies Becker Prize for the Best Translation of Asian Literature)

          – Pasuk Phongpaichit, “Inequality, Wealth and Thailand’s Politics”   (Journal of Contemporary Asia, special issue)

          – Pasuk Phongpaichit, Chris Baker, “The Political Economy of the Thai Crisis” (Journal of the Asia Pacific Economy)

เกียรติคุณที่ได้รับ

– รางวัล Recommended Book on Asia: The New Wave of Japanese Investment in ASEAN จาก Meinichi Shimbun ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. ๒๕๓๓)

– รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นเรื่องคอร์รัปชัน จากสำนักงาน ป.ป.ป. (พ.ศ. ๒๕๔๐)

– เมธีวิจัยอาวุโส สกว. (พ.ศ. ๒๕๔๐, ๒๕๔๕)

– รางวัลผลงานวิจัยดีเยี่ยม จากสภาวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๐)

– นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สภาวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๑)

– Star of Asia จาก Business Week (พ.ศ. ๒๕๔๒)

– รางวัลผลงานที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุด จาก สกว. (พ.ศ. ๒๕๔๓)

– Distinguished Alumni Award จาก Monash University, Australia (พ.ศ. ๒๕๔๔)

– Outstanding Book of the year by (for Thailand’s Crisis) จาก Choice Magazine, American Library Association (พ.ศ. ๒๕๔๕)

– ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่นสาขาเศรษฐศาสตร์ จาก สกว. (พ.ศ. ๒๕๕๒)

– Becker Prize for the Best Translation of Asian Literature  The Tale of Khun Chang Khun Phaen จาก Association of Asian Studies, USA (พ.ศ. ๒๕๕๖)

Fukuoka Grand Prize with Chris Baker จาก City of Fukuoka, Japan (พ.ศ. ๒๕๖๐)

– งานวิจัยเรื่อง ภาษีเงินได้เป็นธรรมหรือไม่  ได้รับรางวัลผลงานวิจัยเด่น สังคมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๖๐ จาก สกว. และสมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๖๐)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙)