ราชบัณฑิต โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– เลขานุการสำนัก วาระ (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)
– ประธานกรรมการคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์บริหารธุรกิจ
– บรรณาธิการคณะกรรมการจัดทำสารานุกรมศัพท์การเมืองการปกครองไทย
ประวัติการศึกษา
– บธ.บ. (การจัดการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๒๕
– สม.บ. (สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๖
– พบ.ม. (รัฐประศาสนศาสตร์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๘
– M.A. (Economics) University of Illinois at Chicago, U.S.A. พ.ศ. ๒๕๓๑
– Ph.D. (Business Administration) University of Illinois at Chicago, U.S.A. พ.ศ. ๒๕๓๗
– Microeconomics of Competitiveness (MOC): Institute for Strategy and Competitiveness
– Harvard Business School: Harvard University, Boston, U.S.A. พ.ศ. ๒๕๕๕
ประวัติการทำงานวิชาการ
– กรรมการโครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๕
– นักวิจัย ศูนย์วิจัยเอเซียแปซิฟิก มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๖
ประวัติการทำงานบริหาร
– ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจภาคภาษาอังกฤษ โครงการศึกษาการจัดการธุรกิจในภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (I-MBA: Asia-Pacific Focus) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๖–ปัจจุบัน
– ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร (E-MBA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๖
– รองประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๗
– ผู้อำนวยการโครงการปริญญาโททางบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหารรุ่นใหม่ (Y-MBA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔
– รองคณบดี ฝ่ายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔
– กรรมการบริหารสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔
– รองผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัท คาเธ่ย์ทรัสต์ จำกัด ในความร่วมมือของ Wardley Asia Limited Member of Hong Kong and Shanghai Banking Corporation (HSBC) พ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗
ผลงานวิชาการ
หนังสือ
– Phoocharoon, P. (2001). Relocation in Thailand: Two Case Studies. In L. Cuyvers (Eds.), Globalisation and Social Development: European and Southeast Asian Evidence. MA: Edward Elgar.
– ผลิน ภู่จรูญ, ๒๕๕๕. การจัดการธุรกิจร่วมสมัย: กรอบแนวคิดใหม่ทางการจัดการในการสร้างและพัฒนาพลวัตในการแข่งขัน; Contemporary Business Management: New Management Paradigm to Create and Develop Competitive Dynamic (Edition 2). พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทย.
– ผลิน ภู่จรูญ, ๒๕๕๔. อินโนจิเนียริง: แนวคิดการจัดการร่วมสมัยในการก้าวสู่ความเป็นองค์การระดับโลก; Innogineering: Contemporary Management Approach to Become World-class Organization. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทย.
– ผลิน ภู่จรูญ, ๒๕๕๖. ความพอดีที่มีพลวัต: การคิดทบทวนใหม่เรื่องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน; Dynamic Optimum: Rethinking of Creating Competitive Advantage. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : เอกพิมพ์ไทย.
งานวิจัย
– Albrecht, M., Pagano, A., and Phoocharoon, P. (1996). International Joint Ventures : An Integrated Conceptual Model for Human Resource and Business Strategies. Journal of Euromarketing Vol. 4 (3/4), pp. 89-127.
– Chomvilailuk, C., and Phoocharoon, P. (1998). Enhancing Effectiveness and Efficiency of International Joint Venture: Multi-level Value Chain Model. Journal of Euro-Asian Management 12(1), pp. 13-21.
– Phoocharoon, P., Cuyvers, L., and Chomvilailuk, R. (2001). Cooperative Strategy to Strategic Competitiveness Through International Joint Ventures Between ASEAN and EU Companies. Discussion Paper #33 of Center for ASEAN Studies; Center for International Management and Development Antwerp (CIMDA), University of Antwerp, Antwerp: EU.
– Phoocharoon, P. (2011). Architecture Engagement Dynamic: Contemporary Approach to Enhance Employee Creativity. International Journal of Innovation, Management and Technology 2(4), pp. 335-341.
– Phoocharoon, P. (2012). Embedding from Inside: Transformational Teacher on Promoting Transformational Leadership Behavior Through Innovative-Driven Action Learning. International Journal of Innovation, Management and Technology, 4(2), pp. 213-217.