ราชบัณฑิต โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประวัติการทำงานวิชาการ
– ศาสตราจารย์ กิตติคุณ สาขาวิชาประวัติศาสตร์
– ข้าราชการบำนาญ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานวิชาการ
– ปิยนาถ บุนนาค. การวางรากฐานการคมนาคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : ทุนวิจัย รัชดาภิเษกสมโภช สาขามนุษยศาสตร์ ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, ๒๕๑๘.
– ปิยนาถ บุนนาค. การวางรากฐานการคมนาคมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : ทุนวิจัย รัชดาภิเษกสมโภช สาขามนุษยศาสตร์ ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, ๒๕๑๘.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. คลองในกรุงเทพฯ : ความเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อกรุงเทพฯ ในรอบ ๒๐๐ ปี (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๕๒๕). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๕.
– ปิยนาถ บุนนาค. การวิเคราะห์โอกาสในการเลื่อนชั้นทางสังคมในสังคมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ.๒๓๒๕–๒๓๙๔). กรุงเทพฯ : ฝ่ายเผยแพร่งานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๘.
– ปิยนาถ บุนนาค.ประวัติศาสตร์และอารยธรรมของศรีลังกาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนถึงสมัยอาณานิคม และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างศรีลังกากับไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔.
– ปิยนาถ บุนนาค. การปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับผลกระทบต่อโลกทัศน์และภูมิปัญญาทางการเมืองของข้าราชการ (พ.ศ.๒๔๓๕-๒๔๗๕). กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙. พิมพ์เผยแพร่ในวารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒ มกราคม–มีนาคม ๒๕๔๐, ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑ (กรกฎาคม ๒๕๔๐–มกราคม ๒๕๔๓) และปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๑ (ตุลาคม ๒๕๔๓–มกราคม ๒๕๔๔)
– ปิยนาถ บุนนาค. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๕๑๖). พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. เก้าแผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), ๒๕๔๙.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว : พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.), ๒๕๔๙.
– ปิยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริงถึง “เหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม” พ.ศ. ๒๕๑๖. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์–รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๖–๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑). กรุงเทพฯ : ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๕๑.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. นโยบายการปกครองของรัฐบาลต่อชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน–รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๑–๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙). กรุงเทพฯ : ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. ๒๕๕๒.
– ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. ประวัติศาสตร์กิจการสื่อสารโทรคมนาคมไทย : พระมหากษัตริย์กับการสื่อสารโทรคมนาคม. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ, ๒๕๕๕.
เกียรติคุณที่ได้รับ
– ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์
– อาจารย์ดีเด่นด้านการเรียนการสอนสาขามนุษยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ๒๕๔๙
– ผู้อำนวยการหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศหน่วยงานที่ให้การบริการที่ประทับใจ รางวัล ประเภทที่ ๑ “การบริการที่ประทับใจ” กิจกรรม “การให้บริการของหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” โครงการรางวัลคุณภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับ CU-Quality Prize ประจำปี ๒๕๕๐
– ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน
– รางวัลรัตโนบล ประเภทบุคคลทั่วไป ประจำปี ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
– รางวัลอักษรจรัส อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๐๐ ปี
– เป็นประธานหญิงคนแรกของการจัดประชุมนานาชาตินักประวัติศาสตร์แห่งเอเชีย ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ ๑๔ ของโลก และครั้งที่ ๒ ของประเทศไทย พ.ศ.๒๕๓๙