รองศาสตราจารย์ทิศนา แขมมณี

ราชบัณฑิต   วันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มาตรฐานและคุณภาพทางการศึกษา ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๖–๒๕๕๕)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๖๑)

         – ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

          – ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๐๙)

         – M.A. in Ed., Chico State College, แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๓)

          – Ph.D. (Curriculum & Instruction) มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๕)

ประวัติการทำงานวิชาการ

          – อาจารย์ประจำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม (พ.ศ. ๒๕๐๙–๒๕๑๐)

          – Teaching Assistant ปฏิบัติงานในโรงเรียนอนุบาลของ Chico State College รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๑–๒๕๑๓)

          – Teaching Associate ปฏิบัติงานสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ณ College of Education มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๓–๒๕๑๕)

          – อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิบัติการสอน (สาขาประถมศึกษา) ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท (พ.ศ. ๒๕๑๕–๒๕๒๐)

          – รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปฏิบัติการสอนในระดับปริญญาโท (สาขาประถมศึกษา) และระดับปริญญาเอก (สาขาหลักสูตรและการสอน) (พ.ศ. ๒๕๒๐–๒๕๔๘)

          – ทำงานด้านวิจัยทางด้านการศึกษา ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา มีผลงานวิจัยรวม ๒๑ เรื่อง

          – เขียนตำราละหนังสือตีพิมพ์เผยแพร่ รวม ๔๐ เล่ม

          – เขียนหนังสือวิชาการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ รวม ๔ เล่ม

          – เขียนบทความตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ (ไทย) ประมาณ ๑๓๐ เรื่อง และในวารสารวิชาการ (ภาษาอังกฤษ) รวม ๑๐ เรื่อง

          – เป็นวิทยากร ผู้จัดการอบรม ที่ปรึกษาทางวิชาการ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

ประวัติการทำงานบริหาร

          – หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยการศึกษาปฐมวัย (พ.ศ. ๒๕๒๗–๒๕๓๐)

          – หัวหน้าภาควิชาประถมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๒๖–๒๕๓๐)

          – รองคณบดีฝ่ายวิจัย (พ.ศ. ๒๕๓๕–๒๕๓๙)

– ประธานสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พ.ศ. ๒๕๒๖–๒๕๒๘ และ ๒๕๔๗–๒๕๓๘)

ผลงานวิชาการ

          ก. หนังสือ

          – การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พ.ศ. ๒๕๔๒)

          – วิทยาการด้านการคิด (พ.ศ. ๒๕๔๔)

          – ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พ.ศ. ๒๕๔๔)

          – กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน (พ.ศ. ๒๕๔๕)

          – กระบวนการเรียนรู้ : ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้องใจ (พ.ศ. ๒๕๔๕)

          – เก้าก้าวในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการสังเคราะห์งานวิจัย (พ.ศ. ๒๕๔๖)

          – การปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน : เรื่องยากที่ทำได้จริง ! (พ.ศ. ๒๕๔๘)

          – ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด (พ.ศ. ๒๕๕๘)

          – สัมมนาอารมณ์ : เวทีแห่งเรื่องราวของการแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง (พ.ศ. ๒๕๖๑)

          – การฝึกทักษะกลุ่มสัมพันธ์และการรับรู้แก่อาจารย์สถาบันฝึกหัดครู (พ.ศ. ๒๕๑๖–๒๕๒๐)

          ข. งานวิจัย

          – การพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา (พ.ศ. ๒๕๒๖–๒๕๓๒)

          – การพัฒนาหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย (พ.ศ. ๒๕๒๘–๒๕๓๖)

          – การนำเสนอรูปแบบเสริมสร้างทักษะการคิดขั้นสูงของนิสิตนักศึกษาครูระดับปริญญาตรี สำหรับหลักสูตรครุศึกษา (พ.ศ. ๒๕๔๓–๒๕๔๔)

          – การวิจัยและพัฒนารูปแบบการปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งโรงเรียน (พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๕๔๗)

          – การวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น สำหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. ๒๕๖๑)

ความเชี่ยวชาญ

          การพัฒนาหลักสูตรและการสอน  การประถมศึกษา  การพัฒนาคุณธรรม  การวิจัยทางการศึกษา

เกียรติคุณที่ได้รับ

– รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น (๒๕๒๑) และรางวัลผลงานวิจัยดี (๒๕๓๔) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          – นักการประถมศึกษาดีเด่น (๒๕๒๗) จากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

          – โล่ประกาศเกียรติคุณจาก World Council for Curriculum and Instruction (WCCI) (๒๕๔๑)

          – รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติอาจารย์ดีเด่น ระดับหน่วยงานที่สังกัด จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๔)

          – รางวัล Shoji Award จาก World Council for Curriculum and Instruction (WCCI) (๒๕๔๔)

            – รางวัลอาจารย์แบบอย่าง จากสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๔๔)

          – โล่ประกาศเกียรติคุณผลงานวิจัยดีเด่น ประจำปี ๒๕๔๗ จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

          – โล่ประกาศเกียรติคุณศิษย์เก่าเกียรติยศ ประจำปี ๒๕๕๐ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          – โล่ยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นปูชนียาจารย์ จากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๕

          – โล่ประกาศเกียรติคุณนักเรียนเก่าดีเด่น จากสมาคมนักเรียนเก่าเรยีนาเชลีวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๖๑

          – รางวัล Angela Award 2019 รางวัลเกียรติคุณเซอร์เวียม ประจำปี ๒๕๖๒ จาก Inter Ursuline Student Community (Thailand) ในฐานะผู้ที่ได้ทำประโยชน์แก่สังคม สอดคล้องกับจิตตารมณ์เซอร์เวียมของโรงเรียนอุร์สุลิน

          – ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          – รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี ๒๕๖๓ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)