รองศาสตราจารย์ชาย โพธิสิตา

ภาคีสมาชิก วันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔  สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๖๐)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา (พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๕)

ประวัติการศึกษา

          – พธ.บ. (ครุศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๒)

         – M.Sc. (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยเดลฮี ประเทศอินเดีย (พ.ศ. ๒๕๑๙)

          – M.A. (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๕)

          – Ph.D. (มานุษยวิทยา) มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๘)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – ประธานหลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต (นานาชาติ) สาขาประชากรศาสตร์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๕๑)

         – ศาสตราจารย์วุฒิคุณ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๕๒–ปัจจุบัน)

ประวัติการทำงานวิชาชีพ

          – คณะบรรณาธิการ หนังสือ รายงานสุขภาพคนไทย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๗–ปัจจุบัน)

          – กรรมการประสานงาน โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๖๐)

          – บรรณาธิการ Journal of Population and Social Studies สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๕๓–๒๕๕๘)

          – กรรมการที่ปรึกษาโครงการ International Fellowship Program (AFP) ของมูลนิธิฟอร์ด (พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๓)

          – ผู้อำนวยการ Asia Fellows Program (AFP) เพื่อส่งเสริมเอเชียศึกษาในเอเชียโดยนักวิจัยจากประเทศในเอเชีย ของมูลนิธิฟอร์ด (พ.ศ. ๒๕๔๑–๒๕๔๓)

          – กรรมการ Scientific and Ethical Review Group  ในโครงการวิจัย พัฒนา และฝึกอบรมการวิจัยทางการเจริญพันธุ์ ขององค์การอนามัยโลก (พ.ศ. ๒๕๔๑–๒๕๕๒)

          – กรรมการกำกับทิศ Task Force for Social Science Research on Human Reproduction, (HRP) องค์การอนามัยโลก (พ.ศ. ๒๕๓๔–๒๕๓๙)

ประวัติการทำงานบริหาร

          – รองผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิชาการ

          – ชาย  โพธิสิตา. ๒๕๖๒. ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ _๘ ปรับปรุงใหม่ เพิ่มเนื้อหา). กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

          – Phonchua, J., Podhisita, C., Jampaklay, A., and Rittirong, J. 2017. Marriage in Knachanburi Province, Thailand: Who Delays, Who Does Not? Journal of Population and Social Studies, 25(4): 358-372.

          – Podhisita, Chai. 2017. Household Dynamics, the Capitalist Economy and Agricultural Change in Rural Thailand. Southeast Asian Studies, 6(2): 247-273.

          – Podhisita, C. and Xenos, P. 2015. Living Alone in South and Southeast Asia: An Analysis of Census Data. Demographic Research, 32: 1113-1146.

          – Hu, Jian and Podhisita, Chai. 2008. Differential Utilization of Health Care Services among Ethnic Group on the Thailand-Myanmar Border: A Cases Study of Kanchanaburi Province, Thailand. Journal of Population and Social Studies, 17(1): 115-134).

          – Thanyansil, Sawitri and Podhisita Chai. 2008. Influence of Connectedness to Parents and Peers on Drug Use among Male Youth. Journal of Population and Social Studies, 16(2): 121-142.

          – Xenos, P., Achmad,S., Lin, H.S., Luis, P.K., Podhisita, C. Raymundo, C. and Thapa, S. 2006. Delayed Asian Transition to Adulthood: Evidence from National Youth Surveys. Asian Population Studies, 2(2):149-186.

          – Saifi, R. A., Podhisita, C., Guest, P., and Bryant, J. 2006. The Effect of Migration on Health. Journal of Population and Social Studies, 15 (1): 81-108.

          – Podhisita, C. Xenos, P. and Varangrat, A. 2004. The risk of Premarital Sex among Thai Youth: Individual and Family Influence. Journal of Population and Social Studies, 12(2):1-31.

          – Choe, M. K., Thapa, S., Podhisita, C., Raymundo, C. M., Lin, H-S, and Achmad, S. 2004. The Teen Tobacco Epidemic in Asia: Indonesia, Nepal, the Philippines and Thailand. Journal of Youth Studies, 7(1): 73-87.

          – Choe, M. K., Hatmadji, S. H., Podhisita, C., Raymundo, C. M., and Thapa, S. 2004. Substance Use and Premarital Sex among Adolescents in Indomnesia, Nepal, the Philippines and Thailand. Asia-Pacific Population Journal, 19(1): 5-26.

          – Juntarodjana, J. and Podhisita, C. 2003. Transition from School to work: Experience of Thai and Hong Kong Youth. Journal of Population and Social Studies, 11(2): 71-94.

ความเชี่ยวชาญ

          มานุษยวิทยา, ประชากรศึกษา, ครอบครัวศึกษา, ชนบทศึกษา

เกียรติคุณที่ได้รับ

– รางวัลอาจารย์ตัวอย่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. ๒๕๔๓)

– รางวัลผลงานตีพิมพ์ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ได้รับการอ้างอิงสูง จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (พ.ศ. ๒๕๔๔)

– รางวัลยอดเยี่ยมมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาผลงานแต่งตำรา (พ.ศ. ๒๕๔๙)

– รางวัล For the People’s Health, จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (พ.ศ. ๒๕๕๘)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (๒๕๔๔)

          – ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (๒๕๔๑)