ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ

ราชบัณฑิต   วันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ สาขาวิชาตรรกศาสตร์ ประเภทวิชาปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          – ประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๖–๒๕๔๙)

          – เลขานุการสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง (พ.ศ. ๒๕๒๙–๒๕๓๙)

          – เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน (พ.ศ. ๒๕๓๘–๒๕๔๒)

          – ผู้อำนวยการกองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน

         – ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์พระไตรปิฎก

         – กรรมการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการชำระพจนานุกรม

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย

         – กรรมการ ในคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย)

         – บรรณาธิการและที่ปรึกษา ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญา (พ.ศ. ๒๕๖๑–ปัจจุบัน)

         – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมไทย

         – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำนามานุกรมศาสนาสากล

ประวัติการศึกษา

          – เปรียญธรรม ๙ ประโยค (พ.ศ. ๒๔๙๕)

         – ปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (รุ่นแรก) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๙๗)

          – ปริญญาโท (Philosophy and SEAsia Studies) มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๐๔)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประวัติการทำงานบริหาร

          – เลขาธิการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานวิชาการ

          – บ่อเกิดลัทธิประเพณีจีน ภาค ๑–๕

          – บ่อเกิดลัทธิประเพณีญี่ปุ่น ภาค ๑–๔

          – บ่อเกิดลัทธิประเพณีอินเดีย ภาค ๑–๓

          – ตรรกศาสตร์

          – เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น

          – วัฒนธรรมไทย ภาษาไทย

          – ปรัชญาตะวันตกสมัยโบราณ

          – ปรัชญาตะวันตกสมัยกลาง

          – ปรัชญาตะวันตกสมัยใหม่

          – ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลังกา

          – ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์

          – ปรัชญาประยุกต์ชุดจีน

          – ปรัชญาประยุกต์ชุดอินเดีย

          – ปรัชญาประยุกต์ชุดตะวันตก

          – ประสบการณ์รอบโลก

          – ประวัติความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน ถึง พ.ศ. ๒๕๒๓

          – ศรีมัทภควัทคีตา

          – พระพุทธศาสนากับจักรวาลวิทยา

          – ภาษาของเรา ชุดที่ ๑–๑๐

          – ภาษาไทยไขขาน ชุดที่ ๑-๘

          – ภาษาไทย ๕ นาที ชุดที่ ๑–๑๐

          – ศาสนาปรัชญาประยุกต์

          – ปรัชญาศาสนาประยุกต์

          – พระพุทธศาสนากับสังคมและการเมือง

ความเชี่ยวชาญ

          ศาสนา  ปรัชญา  ประวัติศาสตร์  ภาษาไทย

เกียรติคุณที่ได้รับ

– เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขามนุษยศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๖)

– ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. ๒๕๓๑)

– ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๓)

– ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ. ๒๕๔๔)

– ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๙)

– ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๐)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗)

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)