ศาสตราจารย์ ดร. ครองชัย หัตถา

ภาคีสมาชิก      แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๖ สาขาวิชาภูมิศาสตร์ภูมิภาค ประเภทวิชาภูมิศาสตร์  สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา

-บรรณาธิการในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมผังเมือง ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชา  (พ.ศ.๒๕๖๕-ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา -ปริญญาตรี สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (พ.ศ.๒๕๑๙)

-ปริญญาโท สาขาวิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ประสานมิตร (พ.ศ. ๒๕๒๒)

-ปริญญาเอก สาขาวิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๒)

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ
-อาจารย์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ.๒๕๒๒-๒๕๒๖)

-ผู้ช่วยศาสตราจารย์-ศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ.๒๕๒๗-๒๕๕๘) (เกษียณราชการ ปี ๒๕๕๘)

 -ศาสตราจารย์ ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๓)

ประวัติการทำงานบริหาร -ผู้อำนวยการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ (พ.ศ.๒๕๖๐)                                                             -ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพัฒนาที่ยั่งยืน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ (พ.ศ.๒๕๖๑-๒๕๖๓)

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพสำคัญ หนังสือ ครองชัย หัตถา. ๒๕๖๕. ภูมิภาคมลายู-ปาตานีกับการเมืองการปกครอง ของไทย. นครศรีธรรมราช : บีแอนด์บี. ครองชัย หัตถา. ๒๕๕๘. “พหุวัฒนธรรมภาคใต้ในมิติภูมิรัฐศาสตร์” ใน สมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. ทิศทางอนาคตภูมิศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.  ครองชัย หัตถา. ๒๕๕๗. มัสยิดกรือเซะในประวัติศาสตร์นครปตานี. ปัตตานี: ภูรีปริ้นช็อป. ครองชัย หัตถา.  ๒๕๕๓. ลังกาสุกะ พัฒนาการทางภูมิรัฐศาสตร์. ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ครองชัย หัตถา. ๒๕๕๒. ประวัติศาสตร์ปัตตานีสมัยอาณาจักรโบราณถึงการปกครอง ๗ หัวเมือง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย. ครองชัย หัตถา. ๒๕๕๐. สังคมพหุวัฒนธรรมกับความมั่นคงของชาติ กรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. ครองชัย หัตถา. ๒๕๔๖. ภูมิลักษณ์อ่าวปัตตานี. ปัตตานี : โรงพิมพ์มิตรภาพปัตตานี.

งานวิจัยและบทความวิชาการ ครองชัย หัตถา และคณะ. ๒๕๖๒. การศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองเก่าปัตตานีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวฮาลาล. ยะลา : ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้. ครองชัย หัตถา. ๒๕๕๙. “ประวัติศาสตร์จังหวัดหลักฐานทางโบราณคดี”. ใน สุภาสเมต ยุนยะสิทธิ์ (บรรณาธิการ). หนังสือรวมบทความศึกษาสถานภาพทางประวัติศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพฯ : สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. Krongchai Hatta & Helmut Lukas. 2015. “Saltpan in Pattani”, Thailand. In Helmut Lukas          (editor and compiler). Christoph Carl Fernberger: The First Austrian In Patani and Ayudhya (1624 – 1625). Bangkok: Centre for European Studies, Chulalongkorn University. pp. 201–211

ความเชี่ยวชาญ

-ด้านการสอนและการวิจัยเพื่อท้องถิ่นและสังคม ภูมิศาสตร์ภูมิภาคมลายู ภูมิศาสตร์บรรพกาล

เกียรติคุณที่ได้รับ

-รางวัลเกียรติคุณเชิดชูเกียรติ คนดีศรีปักษ์ใต้ สาขาการศึกษาดีเด่น ประจำปี ๒๕๖๑ สมัชชานักจัดรายการข่าว วิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท)

-รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปี ๒๕๕๗

-ข้าราชการผู้มีผลการปฏิบัติงานดีเด่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปี ๒๕๕๓ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้