นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ

ภาคีสมาชิก    ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่  สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
                  ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๙

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา

     -กรรมการในคณะกรรมการวิชาการ ได้แก่ กก. ชำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ, กก. ศึกษาและพัฒนา

ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย, กก. จัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย, กก. จัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทย

สมัยใหม่, กก. จัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า, คณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย, กก.จัดทำคำอธิบายความรู้ในสาส์นสมเด็จ, กก. จัดทำพจนานุกรมวิสามานยนามไทย

ประวัติการศึกษา

         -การศึกษาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  บางเขน (๒๕๒๓)

         -อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (๒๕๒๘)

         -ปริญญาบัตร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (๒๕๕๒)

         -ประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ ๑๕ สถาบันพระปกเกล้า

ประวัติการทำงานวิชาการ

           กรรมการทางวิชาการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา และหน่วยงานอื่น ๆ เช่น กรมศิลปากร สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ

ประวัติการทำงานบริหาร

           -เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา (๒๕๕๙-๒๕๖๒)

           -เลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (๒๕๕๘)

           -เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๒-๒๕๕๗), เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา(๒๕๕๘)

           -รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๕๑)

           -ผู้อำนวยการวิชาการของราชบัณฑิตยสถาน ได้แก่ กองวิทยาศาสตร์ (๒๕๔๓-๒๕๔๖) กองธรรมศาสตร์และ

            การเมือง (๒๕๔๖-๒๕๔๘) และกองศิลปกรรม (๒๕๔๘-๒๕๕๑)  

ผลงานทางวิชาการ เช่น

           ๑. งานวิจัย ของสำนักงาน กพร. ใน ศ. ดร.ปิยนาถ บุนนาค ราชบัณฑิต หัวหน้าคณะวิจัย ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช:พระมหากษัตริย์นักพัฒนาผู้ทรงเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการสมัยใหม่ ใน ๙ แผ่นดินของการปฏิรูประบบราชการ พระปรีชาสามารถในการบริหารจัดการ” “พระผู้ทรงเป็นแบบอย่างของการบูรณาการทำงาน” “จอมปราชญ์ของแผ่นดินกับการจัดการความรู้และ พระผู้ทรงเป็นผู้นำในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระอัจฉริยภาพในการบริหารจัดการ.

           ๒. พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม (ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่)

           ๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับทรัพย์สินทางปัญญา ใน ตำรากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา. (เนติบัณฑิตยสภาในพระบรมราชูปถัมป์จัดพิมพ์)

           ๔. หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก : พระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว.  ใน ๑๒๐ ปี ผ่านฟ้าประชาธิปก. (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดพิมพ์)

            ๕. หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก:การสืบสานพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจัดพิมพ์)

            ๖. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ใน นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรจัดพิมพ์)

             ๗. หนังสือที่เขียนร่วมกับ รศ. วุฒิชัย มูลศิลป์ ราชบัณฑิต ได้แก่ เจ้านายในราชวงศ์จักรี เล่ม ๑

เจ้านายในราชวงศ์จักรี เล่ม ๒ และ เจ้านายในราชวงศ์จักรี เล่ม ๓, หนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ชั้นประถมปีที่ ๖. จำนวน ๖ เล่ม

            ๘. หนังสือที่เขียนร่วมกับนายกฤษฎา บุณยสมิต ได้แก่ ประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑ ประวัติศาสตร์ไทย สมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๒  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ พระเจ้าอยู่หัวของประชาชน, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช :พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่โลกยกย่อง, บุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกย่อง, หนังสือชุด บุคคลสำคัญของไทยที่โลกยกย่อง  ๑๕ เล่ม ได้แก่ ๑.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ๒.สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ๓. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๔. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๕. สุนทรภู่ ๖. พระยาอนุมานราชธน ๗. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ๘. พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ๙. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ๑๐. สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ๑๑. นายปรีดี  พนมยงศ์ ๑๒. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑๓. หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ๑๔. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ๑๕. นายกุหลาบ  สายประดิษฐ์, สังคมสมานฉันท์ในสารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กษัตริย์นักพัฒนา ใน ใต้ร่มพระบารมีจักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช (ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์)

          ๙. บทความทางประวัติศาสตร์และไทยศึกษาที่ตีพิมพ์ในหนังสือและวารสารทางวิชาการ เช่น บทความในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย และสารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้แก่ กบฏไทรบุรี,  กบฏญาณพิเชียร, กรมพระกลาโหม, กรมยุทธนาธิการ, กรุงเทพมหานคร, การเสด็จประพาสต่างประเทศ, กรมตรวจเงินแผ่นดิน, คะเด็ตสกูล, คองคอเดีย,หอ, จิตรลดารโหฐาน, จักรีมหาประสาท, พระที่นั่ง, จักรพรรดิพิมาน,พระที่นั่ง, เจ้าคุณทหาร, จรูญศักดิ์กฤดากร,พระองค์เจ้า, ยะหริ่ง, สุรศักดิ์มนตรี,เจ้าพระยา, สมุหนายก, สมุหพระกลาโหม และ เสือป่า 

          ๑๐. บทความในวารสารวิชาการ เช่น วารสารโลกประวัติศาสตร์ เช่น ชาวต่างประเทศกับประวัติศาสตร์ไทย : ควอริตช์เวลส์, กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในสมัยรัตนโกสินทร์, พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ทองคำ พระราชลัญจกรประจำแผ่นดินองค์ที่ ๒ ในรัชกาลปัจจุบัน, นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์, พระพุทธบาทกับพระมหากษัตริย์ไทย, พระแก้วเชียงแสน พระแก้วประจำรัชกาลที่ ๔, ชื่อนั้นสำคัญไฉน สาธร-สาทร,แคลาย-แคราย, นิราศเมืองแกลง นิราศเรื่องแรกของสุนทรภู่, หลักรัฐประศาสโนบายสำหรับมณฑลปัตตานีในสมัยรัชกาลที่  ๖, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา วารสารราชบัณฑิตยสถาน เช่นงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี และพระราชพิธีกาญจนาภิเษก, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ และพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนยุหยาตราชลมารค,      ศึกอะแซหวุ่นกี้ : ใครแพ้ ชนะ  บทความในจดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ประมาณ ๒๐ เรื่อง

ความเชี่ยวชาญ  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่

เกียรติคุณที่ได้รับ ข้าราชการพลเรือนดีเด่น ราชบัณฑิตยสถาน, ศิษย์เก่าดีเด่น สถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์  มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. ๒๕๕๘) ประถมาภรณ์ช้างเผือก  (พ.ศ. ๒๕๕๕)