ราชบัณฑิต โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สาขาวิชาศาสนศาสตร์ประเภทวิชาปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ประวัติการศึกษา
– เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ขณะเป็นสามเณร และเป็นสามเณรนาคหลวงรูปแรกในรัชกาลปัจจุบัน)
สำนักวัดทองนพคุณ พ.ศ. ๒๕๐๓
– ปริญญาตรี (Oriental Studies) (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พ.ศ. ๒๕๑๒
– ปริญญาโท (Oriental Studies) (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ พ.ศ. ๒๕๑๔
ประวัติการทำงานวิชาการ
– รองศาสตราจารย์ระดับ ๙ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประวัติการทำงานบริหาร
– ประธานกรรมการแต่งคู่มือการสอนวิชาพระพุทธศาสนา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
– ประธานกรรมการการผลิตตำราระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของกรมการศึกษานอกโรงเรียน
– สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๐)
ผลงานวิชาการ
– คาถาพาหุงคาถาแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๑.
– คิดเป็นทำเป็นตามแนวพุทธธรรม. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, ๒๕๔๑.
– พระสูตรดับทุกข์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๑. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในดิถีคล้ายวันเกิด ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑).
– คาถาชินบัญชรพร้อมประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) (แปลและเรียบเรียง). กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๒.
– สมาธิ. กรุงเทพฯ : ชมรมพุทธศาสน์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ๒๕๔๒.
– ชีวิตตัวอย่าง : หมอชีวกโกมารภัจจ์. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
– พระพุทธเจ้ากับพระเยซูคริสต์ พระพุทธเจ้ามิได้ปรินิพพานด้วยโรคอะไร. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, ๒๕๔๓.
– มีศัพท์มีแสง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๓.
– สติสมาธิ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : อักษรสยามการพิมพ์, ๒๕๔๓. (พิมพ์เป็นที่ระลึกในดิถีคล้ายวันเกิดศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓).
– บางแง่มุมเกี่ยวกับพระพุทธองค์. กรุงเทพฯ : หอรัตนชัยการพิมพ์, ๒๕๔๔.
– สิบล่อหั่น. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย, ๒๕๔๕.
– ไปสืบพระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : น้ำฝนไอเดีย, ๒๕๔๘.
เกียรติคุณที่ได้รับ
– เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๔๖
– ศาสตรจารย์พิเศษ สาขาปรัชญาศาสนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม