ศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว

ราชบัณฑิต   วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ สาขาวิชาโบราณคดี ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

         – ศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          – อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผลงานวิชาการ

          – พ.ศ. ๒๕๕๓ (เมษายน–มิถุนายน)วิจัยร่วมเรื่อง “Paleoclimate Shocks : Environmental Variability, Human Vulnerability, and Social Adaptation during the  Last Millennium in the Greater Mekong Basin” ที่ Lamont-Doherty Earth Observation of Columbia University, N.Y, U.S.A.

          – พ.ศ. ๒๕๔๘ (เมษายน–ตุลาคม) วิจัยร่วมเรื่อง “Lan Na in Chinese Historiography Sino Tai Relationship in theYuan and Ming Sources” ที่ Institute of Ethnology, Munster University, Germany.

          – พ.ศ. ๒๕๔๕–๒๕๔๖ (กุมภาพันธ์–กุมภาพันธ์) วิจัยร่วมเรื่อง “ฐานข้อมูลเรื่อง กลุ่มชาติพันธุ์ไทและกลุ่มอื่นในเอเชียอาคเนย์ภาคพื้นทวีปจากคัมภีร์ใบลาน” (Database on Tai and Their Neighbors in Mainland Southeast Asia : Society and Culture Seen from Palm-leaf Texts) ที่ Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan.

          – พ.ศ. ๒๕๔๓ (มีนาคม–กันยายน) วิจัยร่วมเรื่อง “ดรรชนีกฎหมายตราสามดวง” ที่ Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University, Japan.

          – พ.ศ. ๒๕๔๒ (เมษายน–มิถุนายน) วิจัยร่วมเรื่อง “ประวัติศาสตร์ล้านนา : สมัยราชวงศ์มังราย” ที่ Department of Research School and Pacific Studies, Faculty of Asians Studies, The Australian National University (A.N.U.), Australia.

          – พ.ศ. ๒๕๓๗ (สิงหาคม-มกราคม) วิจัยร่วมเรื่อง “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ /The Chiang Mai Chronicle” ที่ Department of History, Cornell University, N.Y, U.S.A.

          – พ.ศ. ๒๕๒๖ (มีนาคม–กันยายน) วิจัยร่วมเรื่อง “กฎหมายมังรายธรรมศาสตร์ /The Laws of King Mangrai” ที่ Department of Anthropology, Research School of Pacific Studies, The Australian National Univerysity (A.N.U.), Australia.

๑. งานวิจัยในประเทศ                        ๑๕  เรื่อง

๒. งานวิจัยในต่างประเทศ                      ๙  เรื่อง

๓. หนังสือวิชาการ                              ๘  เรื่อง

๔. บทความภาษาไทย                        ๓๕  บทความ

๕. บทความภาษาอังกฤษ                     ๑๐  บทความ

๖. พจนานุกรมภาษาถิ่นล้านนา                 ๔  เล่ม

๗.งานปริวรรตเอกสารโบราณ (ใบลาน และ พับสา) ๖๖  เรื่อง  ๒,๑๙๒ ใบลาน

๘. บรรยายวิชาการในประเทศ               ๓๘  ครั้ง

๙. บรรยายวิชาการในต่างประเทศ           ๑๔ ครั้ง

ความเชี่ยวชาญ

          – ประวัติศาสตร์ล้านนา และประเทศเพื่อนบ้านที่ใช้อักษรธรรมล้านนา

          – อ่านและปริวรรตเอกสารคัมภีร์ใบลาน ๖๐ เรื่อง เผยแพร่

เกียรติคุณที่ได้รับ

– ได้รับยกย่องเป็น “ครูภูมิปัญญาไทย” รุ่นที่ ๖ (ประวัติศาสตร์ล้านนา) จากสภาการศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ(พ.ศ. ๒๕๕๒)

– ได้รับการประเมินความรู้เทียบเท่าปริญญาดุษฎีบัณฑิต  สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Ph.D Waiver, Cornell University) (พ.ศ. ๒๕๓๗)

– ได้รับทุนจากมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน ( Fulbright Visiting Program) เพื่อไปทำวิจัยเรื่อง “ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่/ The Chiang Mai Chronicle)” ที่ มหาวิทยาลัย คอร์แนล (Cornell University) (พ.ศ. ๒๕๓๗)

– ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Fellow)  สาขาประวัติศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University) (พ.ศ. ๒๕๓๗)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) (พ.ศ. ๒๕๕๔)