ศาสตราจารย์พิเศษอดิศักดิ์ ทองบุญ

ราชบัณฑิต   วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา ประเภทวิชาปรัชญา สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

         – เลขานุการสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง (พ.ศ. ๒๕๔๘–๒๕๕๐)

         – ผู้อำนวยการกองธรรมศาสตร์และการเมือง (พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๓๓)

         – ราชบัณฑิตที่ปรึกษา (พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๗)

         – ประธานบรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำนามานุกรมศาสนาสากล (พ.ศ. ๒๕๕๘–ปัจจุบัน)

         – ประธานบรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมปรัชญา (พ.ศ. ๒๕๖๑–ปัจจุบัน)

         – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมไทย (พ.ศ. ๒๕๓๓–ปัจจุบัน)

         – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมการเมืองการปกครองไทย (พ.ศ. ๒๕๕๕–ปัจจุบัน)

         – บรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. ๒๕๓๓–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๕๕–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการชำระพจนานุกรม (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

         – พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๐๔)

         – ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศาสนาและปรัชญาอินเดีย) (Indian Philosophy and Religion), มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย (พ.ศ. ๒๕๐๙)

          – ประกาศนียบัตรวิชาครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) (สมัครสอบส่วนกลาง) (พ.ศ. ๒๕๑๔)

          – เปรียญธรรม ๗ ประโยค (หลักสูตรภาษาบาลีสนามหลวง) (พ.ศ. ๒๕๕๐)

          – เข้ารับการอบรมหลักสูตรการรักษาความปลอดภัย (รปภ.) รุ่น ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๑๕)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – อาจารย์ประจำวิชาปรัชญาอินเดีย คณะพุทธศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๑) และเป็นอาจารย์พิเศษ ต่อมา จนถึง พ.ศ.๒๕๓๕

         – อาจารย์พิเศษวิชาประวัติศาสตร์อินเดียโบราณ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ.๒๕๐๙–๒๕๑๑)

         – อาจารย์พิเศษวิชาปรัชญาตะวันตก ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๓–๒๕๓๘)

ประวัติการทำงานบริหาร

         – รักษาการคณบดี คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๐๙–๒๕๑๑)

ผลงานวิชาการ

          –  รับพระราชทานรางวัลชั้นที่ ๑ หนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก รวม ๔ เรื่อง คือ การสงเคราะห์บุตร (พ.ศ. ๒๕๑๓) การสงเคราะห์ภริยา (พ.ศ. ๒๕๑๔) การงานไม่อากูล (พ.ศ. ๒๕๑๕) และธรรมจริยา การประพฤติธรรม (พ.ศ. ๒๕๑๗)

          –  ปรัชญาอินเดียร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ ๓, พ.ศ.๒๕๔๕)

          –  ปรัชญาอินเดีย (พิมพ์ครั้งที่ ๔, พ.ศ.๒๕๕๕)

          –  คู่มืออภิปรัชญา (พิมพ์ครั้งที่ ๔, พ.ศ.๒๕๔๖)

          – วิเคราะห์อภิปรัชญาในพระพุทธศาสนา (พ.ศ. ๒๕๔๗)

          –  บาปแค่ไหนก็ไม่ขวางทางนิพพาน : คำสารภาพของพระเทวทัตและองคุลิมาล (พ.ศ. ๒๕๕๑)

          –  ปรัชญาพุทธกับการเมืองการปกครอง (พ.ศ. ๒๕๕๖)

          –  จดหมายเปิดผนึกเล่าเรื่องปรัชญาอินเดีย (พ.ศ. ๒๕๕๗)

          – ชีวิตและความตาย (พ.ศ. ๒๕๕๙)

ความเชี่ยวชาญ

          ศาสนา  ปรัชญา  ภาษาไทย  ภาษาบาลี

เกียรติคุณที่ได้รับ

– ได้รับพระราชทานรางวัลในการประกวดหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก รวม ๕ ครั้ง เป็นรางวัลชั้นที่ ๑ จำนวน ๔ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓, ๒๕๑๔, ๒๕๑๕, ๒๕๑๗ และเป็นรางวัลชั้นที่ ๒ จำนวน ๑ ครั้ง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙

– ได้รับประกาศยกย่องจากสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒ ครั้ง คือ ได้รับเกียรติบัตรในฐานะศิษย์เก่าแห่งปี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๙ และเกียรติบัตรในฐานะศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๐

– ได้รับเข็มเกียรติคุณจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒

– ได้รับพระราชทานเสมาธรรมจักรและเกียรติบัตรในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้านการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๖

– ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคัมภีร์พุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๕๕๓

– ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชาปรัชญา ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ (ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙)

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕)