ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์

ราชบัณฑิต   วันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒  สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ทางวิทยวิธี ประเภทวิชาศึกษาศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

          – ราชบัณฑิตที่ปรึกษา (๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘–๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ และ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒– ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔)

          – ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๘–๒๕๖๐)

         – กรรมการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

         – กรรมการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๘–ปัจจุบัน)

         – กรรมการและที่ปรึกษา ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา (พ.ศ. ๒๕๘๘–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

          – อักษรศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๙๖)

         – ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญรางวัลคะแนนเยี่ยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                   (พ.ศ. ๒๔๙๘)

          – M.S. in Education มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๒)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – ศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๙๘–๒๕๓๖)

         – หัวหน้าโครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยแก่เยาวชนไทยในสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๔๒๗–๒๕๓๕)

         – ประธานโครงการค่ายภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย สำหรับชุมชนไทยในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๓๗–๒๕๓๙)

         – ผู้เชี่ยวชาญ : ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๓๙–๒๕๔๔)

          – กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

          – กรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการนโยบายกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

          – กรรมการบริหารและสาราณียกร สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ประวัติการทำงานบริหาร

          – หัวหน้าภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๒๐–๒๕๒๓)

          – กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๒–๒๕๒๓)

          กรรมการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๐–๒๕๓๔)

ผลงานวิชาการ

          – การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๓๑

          – การอบรมเลี้ยงดูเด็กตามวิถีชีวิตไทย : การศึกษาเชิงมานุษยวิทยา. (ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
            คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๓

          – ภูมิปัญญาไทยด้านการศึกษา. ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๔

          – ปรีชาญาณสยาม : บทวิเคราะห์ด้านการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๕

          – การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์. โครงการกิตติเมธี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๑

          – หลักบูรณาการทางการศึกษาตามนัยแห่งพุทธธรรม. โครงการกิตติเมธี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,
            ๒๕๔๓

ผลงานวิชาชีพ

          – เขียนบทความวิชาการและบรรยายปาฐกถาในการประชุมระดับชาติและระดับนานาชาติ

ความเชี่ยวชาญ

          – หลักสูตรและการสอนระดับประถมศึกษาและระดับอุดมศึกษา

          – การสร้างเสริมและปลูกฝังคุณธรรมแก่เด็กและเยาวชน

          – การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้

เกียรติคุณที่ได้รับ

– บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาการพัฒนาสังคม ด้านการศึกษา สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ

          – บุคลากรดีเด่นประเภทความเป็นครู จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          – ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๘)

          – ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ. ๒๕๕๒)

          – ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. ๒๕๕๒)

            – พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๕๓)

          – กิตติเมธี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ. ๒๕๔๑)

          – รางวัลวัฒนคุณาธร กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๙)

          – รางวัลพุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. ๒๕๕๙)

– รางวัลค่าของแผ่นดิน ด้านการศึกษาของชุมชน สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๑)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓)

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๘)

          – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา ประจำปี ๒๕๔๗