ภาคีสมาชิก วันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๗ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ ประเภทวิชานิเทศศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์นิเทศศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๘–ปัจจุบัน)
– กรรมการ ในคณะกรรมการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)
ประวัติการศึกษา
– อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๐)
– M.Comm, U.of Washington, Seattle, USA. (พ.ศ. ๒๕๑๓)
– Certificate in Information Technology U.of Scheffield, U.K. (พ.ศ. ๒๕๓๒)
ประวัติการทำงานวิชาการ
– อดีตรองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา และผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– อดีตคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
– อดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
– อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สรรหาภาควิชาการ) (พ.ศ. ๒๕๕๑–๒๕๕๔)
– อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สรรหาภาควิชาการ) (พ.ศ. ๒๕๕๗)
ผลงานวิชาการ
๔.๑ หนังสือ ตำรา
๔.๑.๑ ประวัติการหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (พ.ศ.๒๕๓๕–๒๔๗๕), ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๗ หนังสือได้รับรางวัลประเภทเรียบเรียงประกอบปาฐกถา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๐
๔.๑.๒ อภิวัฒน์แห่งมณฑลข่าวสาร,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.),๒๕๖๑
๔.๒.งานวิจัย
๔.๒.๑ สุกัญญา สุดบรรทัด งานวิจัยชุดได้รับรางวัลวิจัยทุนรัชดาภิเษกสมโภชน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย “วิกฤติในวิวัฒนาการหนังสือพิมพ์ไทย” (๒๕๔๒), “การยึดครองสิทธิอำนาจระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับกลุ่มก้าวหน้าโดยอาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ก่อนปี ๒๔๗๕” (๒๕๔๓), “พัฒนาการถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ และอุดมการณ์ของหนังสือพิมพ์ไทยภายใต้แรงกดดันของกลุ่มชนชั้นนำและกลุ่ม ผลประโยชน์”
(๒๕๔๔)
๔.๒.๒ สุกัญญา สุดบรรทัด,” เรื่องเล่า กลไกการสื่อสารพระพุทธศาสนา”, ๒๕๕๗ มีบทความวิจัยลงพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตสภา ๒๕๕๘
๔.๒.๓ สุกัญญา สุดบรรทัด, “พฤติกรรมการใช้สื่อใหม่และความคิดเห็นของพลเมืองเน็ตต่างรุ่นเกี่ยวกับสภาพที่เป็นอยู่และความเปลี่ยนแปลงทางสังคม”, ๒๕๖๑
๔.๓ งานแปล
๔.๓.๑ สุกัญญา สุดบรรทัด, บรรณาธิการและผู้แปล, วิภา อุตมฉันท์,ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ, รจิตลักขณ์ แสงอุไร“คลื่นลูกที่สาม” แปลจาก The Third Wave ของ Alvin Toffler (๒๕๓๖)
๔.๓.๒ สุกัญญา สุดบรรทัด หนังสือแปลเรื่อง “สงครามและสันติภาพแห่งศตวรรษที่ ๒๑” จากหนังสือเรื่อง “War and Anti-War” ของ Alvin Toffler (๒๕๓๗) โดยแปลต่อจากเรื่อง “คลื่นลูกที่สาม”
๔.๓.๓ สุกัญญา สุดบรรทัด, ทิพนันทา ตีระวนิช, พลิกสมอง พลิกโลก, แปลจาก A Whole New Mind : Moving from the Information Age to the Conceptual Age โดย Daniel H. Pink, ๒๕๔๙
๔.๔ บทความวิชาการ
๔.๔.๑ บทความเรื่อง “หนังสือพิมพ์” สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม ๓๗, ๒๕๕๕
๔.๔.๒ บทความเรื่อง “พลังการหลากไหลของกระแสข่าวโลก: กรณีศึกษาวินาศกรรมกรุงปารีส” ลงพิมพ์ในวารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๑ ฉบับที่๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๕๙
๔.๔.๓ บทความเรื่อง “วิถีแห่งพลเมืองเน็ต” มีเอกสารประกอบการประชุม ในการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจรเรื่องทิศทางการปฏิรูปประเทศไทย ณ โรงแรมรอยัลปรินเซส, ๒๕๖๐
๔.๔.๔ บทความเรื่อง “ศาสตร์และศิลป์การพัฒนาเพื่อลดการเหลื่อมล้ำด้านการสื่อสาร”, ๒๕๖๑
๔.๔.๕ บทความเรื่อง “ความลึกลับของสื่อสังคม” บรรยายในที่ประชุมสำนักฯ เมื่อ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๒
ความเชี่ยวชาญ
สื่อสารมวลชน (Mass Media) และวารสารสนเทศ (Information Journalism, New Media)
เกียรติคุณที่ได้รับ
– พุทธคุณูปการ กาญจนเกียรติคุณ สมเด็จพระพุทธาจารย์ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ประธาน
รัฐสภา ๒๒ เมษายน ๒๕๕๔
– กิตติบัตรผู้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนสืบสานศาสตร์พระราชา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔)
– มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙)