รองศาสตราจารย์วุฒิชัย มูลศิลป์

ราชบัณฑิต   วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่ ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

         – ประธานคณะบรรณาธิการ ในคณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)

         – ประธานคณะกรรมการ ในคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ประวัติศาสตร์ไทย (พ.ศ. ๒๕๖๑–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยจากคำบอกเล่า (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)

         – กรรมการ ในคณะกรรมการชำระและศึกษากฎหมายตราสามดวง (พ.ศ. ๒๕๔๔–ปัจจุบัน)

         – กรรมการที่ปรึกษา ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมวิสามานยนามไทย (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)

ประวัติการศึกษา

         – การศึกษาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) (พ.ศ. ๒๕๐๗)

         – การศึกษามหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) วิทยาลัยวิชาการศึกษา (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) (พ.ศ. ๒๕๑๓)

          – ศึกษาเพิ่มเติมที่สถาบันภาษาปักกิ่ง (มหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง) สาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. ๒๕๒๗–๒๕๒๘)

ประวัติการทำงานวิชาการ

         – รองศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. ๒๕๑๓–๒๕๔๔)

         – Visiting Professor Tenri University, Nara, Japan (พ.ศ. ๒๕๓๘–๒๕๔๐)

ผลงานวิชาการ

          – จีน : การต่อสู้เพื่อมหาอำนาจ (พ.ศ. ๒๕๑๗ และ ๒๕๒๑)

          – พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (แต่งร่วมและบรรณาธิการ) (ม.ป.พ.)

          – ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔–พ.ศ. ๒๔๗๕ (ร่วมเขียน) (พ.ศ. ๒๕๒๕)

          – มหาราชไทย (พ.ศ. ๒๕๔๑)

          – เมื่อเริ่มปฏิรูปการศึกษาสมัยรัชกาลที่ ๕–รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑)

          – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการวางรากฐานประชาธิปไตย (พ.ศ. ๒๕๔๑)

          – พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) (พ.ศ. ๒๕๔๓)

          – การปฏิรูปการศึกษาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พิมพ์ครั้งที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๗)

          – ประวัติศาสตร์ชาติไทย (พ.ศ. ๒๕๔๗)

          – ใต้ร่มพระบารมีจักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช (ร่วมเขียน) (พ.ศ. ๒๕๔๗)

          – ไทยสมัยโบราณ : ถิ่นเดิมและน่านเจ้า ฉบับปรับปรุงและขยาย (พ.ศ. ๒๕๕๐)

          – การปรับตัวของไทย จีน ญี่ปุ่น ในยุคจักรวรรดินิยมใหม่ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ (พ.ศ. ๒๕๕๑)

          – การปฏิรูปการศึกษาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๕๕๔)

          – วิกฤติการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ : ป้อมพระจุลจอมเกล้ากับการรักษาเอกราชของชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๗)

          – ประวัติศาสตร์หลากมิติ (พ.ศ. ๒๕๕๙)

          – ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี (ร่วมเขียน) (พ.ศ. ๒๕๖๑)

          – ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑–รัชกาลที่ ๓ (ร่วมเขียน) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๒)

          – บทความในวารสารราชบัณฑิตยสถานหลายเรื่อง

          – เขียนคำในสารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

          – เขียนคำในสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑, ๒, ๓

          – เขียนคำในสารานุกรมประวัติศาสตร์เอเชีย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑, ๒

          ฯลฯ

ความเชี่ยวชาญ

          ประวัติศาสตร์ไทย  ประวัติศาสตร์จีน  ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

เกียรติคุณที่ได้รับ

– รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น จากมูลนิธิสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (พ.ศ. ๒๕๑๒)

– ประธานสิ่งพิมพ์ภาษาไทย สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๒๖)

– ศาสตราจารย์อาคันตุกะ มหาวิทยาลัยเทนรี ประเทศญี่ปุ่น (พ.ศ. ๒๕๓๘–๒๕๔๐)

– ได้รับการยกย่องให้เป็นนักปราชญ์ของจังหวัดอุบลราชธานี (พ.ศ. ๒๕๔๒)

– ศิษย์เก่าดีเด่น คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ. ๒๕๔๗)

– นายกสมาคมประวัติศาสตร์ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พ.ศ. ๒๕๔๙–๒๕๕๓)

– รองประธานคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย กระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. ๒๕๕๗–ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

          – ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑)

          – มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒)