ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี (กศ.บ., ภูมิศาสตร์) วิชาโท: อังกฤษ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
(วิทยาลัยวิชาการศึกษา): บางแสน ชลบุรี (พ.ศ. ๒๕๑๓)
– ปริญญาตรี (น.บ., นิติศาสตรบัณฑิต) จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง: กรุงเทพฯ (พ.ศ. ๒๕๒๓)
– Master’s Degree ( M.A.T., Geography) จาก Indiana University, Bloomington, Indiana,
U.S.A. (พ.ศ. ๒๕๒๑) (ทุน UNDP. Scholarship)
– Doctoral Degree (Ph.D., Geography: Industrial Location Analysis) จาก University of
Cincinnati, Cincinnati, Ohio, U.S.A. (พ.ศ. ๒๕๓o) (ทุน Teaching Assistantship Scholarship)
ภาคีสมาชิก วันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ สาขาวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์ ประเภทวิชาภูมิศาสตร์
สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา
กรรมการจัดทำพจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากล (พ.ศ. ๒๕๓๗–ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานวิชาการ
– อาจารย์ตรี วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ กรุงเทพฯ ช่วยราชการที่วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา
จังหวัด ฉะเชิงเทรา (พ.ศ. ๒๕๑๔)
– อาจารย์ตรี-โท และอาจารย์ ๑ วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา (พ.ศ. ๒๕๑๔–๒๕๑๗)
– นักวิชาการศึกษา ๔ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. ๒๕๒๒–๒๕๒๓)
– อาจารย์ประจำ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๒๓)
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๒๓–๒๕๔๖)
– Associate Instructor (AI), Geography Department, Indiana University,
Bloomington, Indiana, U.S.A. (พ.ศ. ๒๕๒๔–๒๕๒๖)
– Teaching Assistant (TA), Geography Department, University of Cincinnati,
Cincinnati, Ohio, U.S.A. (พ.ศ. ๒๕๒๗–๒๕๓o)
– รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๕๓)
– ศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
(พ.ศ. ๒๕๕๔–ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานวิชาชีพ –
ประวัติการทำงานบริหาร
– หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๓๑–๒๕๓๔)
– คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. ๒๕๓๔–๒๕๓๕)
– นายกสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๒–๒๕๕๖)
ผลงานวิชาการ
เขียนหนังสือ ตำรา เอกสารคำสอน และเอกสารประกอบการสอน ๓๒ เล่ม งานวิจัย และบทความวิจัย ๑๑ เรื่อง บทความทางวิชาการ ๔๗ เรื่อง และจัดทำพจนานุกรมภูมิศาสตร์สากล ฉบับราชบัณฑิตยสถานร่วมกับคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมภูมิศาสตร์สากล ๑ เล่ม เช่น การวิจัยทางภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์อุตสาหกรรม ภูมิศาสตร์เมืองและการวางแผน สถิติอนุมานทางภูมิศาสตร์ การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรมผลิตกรรมในประเทศไทย
ผลงานวิชาชีพ –
สาขาที่เชี่ยวชาญและสนใจ
การวิเคราะห์ที่ตั้งอุตสาหกรรม ภูมิศาสตร์เมืองและการวางแผน ทฤษฎีที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สถิติทางภูมิศาสตร์ การวิจัยทางภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์กายภาพ ภูมิศาสตร์ภูมิภาค ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (G.I.S.)
เกียรติคุณที่ได้รับ
– ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (พ.ศ. ๒๕๕๘)
– ได้รับการคัดเลือกเป็นศิษย์เก่าดีเด่นของมหาวิทยาลัยบูรพา(พ.ศ. ๒๕๖o)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มีเกียรติยศยิ่งช้างเผือก (ประถมาภรณ์ ช้างเผือก:
ป.ช.) เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
– ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย (มหาวชิรมงกุฎ: ม.ว.ม.)
เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕