แต่งตั้งเมื่อ วันที่ ๕ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สาขาวิชาเทคโนโลยีทางภูมิศาสตร์ ประเภทวิชาภูมิศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๓ – พ.ศ. ๒๕๖๒)
ประวัติการศึกษา
– ปริญญาตรี อบ. (ภูมิศาสตร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. ๒๕๓๐
– ปริญญาโท วท.ม. (วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๑
– ปริญญาเอก PhD. (Geomatics), Newcastle University, Newcastle Upon Tyne, UK. ปีที่สำเร็จการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๒
ประวัติการทำงานวิชาการ
– อาจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ.๒๕๕๔
– ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๖๑
– รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๑ – ปัจจุบัน
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
– พนักงานฝ่ายสนับสนุนการพัฒนาระบบงาน บริษัท อี เอส อาร์ ไอ (ประเทศไทย) จำกัด พ.ศ. ๒๕๓๓ – พ.ศ. ๒๕๓๙
– ผู้จัดการส่วนงานการพัฒนาระบบงาน บริษัท อี เอส อาร์ ไอ (ประเทศไทย) จำกัด พ.ศ. ๒๕๓๙ – พ.ศ. ๒๕๔๒
ประวัติการทำงานบริหาร
– หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๗ – พ.ศ. ๒๕๖๐
– รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๒
– ผู้ช่วยอธิการบดี (ด้านวิจัย) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน
ผลงานวิชาการ
– Duangyiwa, C., Cheewinsiriwat, P. ๒๐๒๓. Flood Susceptibility Mapping Using a Frequency Ratio Model: A Case Study of Chai Nat Province, Thailand. In: Boonpook, W., Lin, Z., Meksangsouy, P., Wetchayont, P. (eds) Applied Geography and Geoinformatics for Sustainable Development. Springer Geography. Springer, Cham.
– Langkulsen, Uma*, Desire T. Rwodzi, Pannee Cheewinsiriwat*, Kanchana Nakhapakorn, and Cherith Moses. ๒๐๒๒. “Socio-Economic Resilience to Floods in Coastal Areas of Thailand” International Journal of Environmental Research and Public Health ๑๙, no. ๑๒: ๗๓๑๖.
– Cheewinsiriwat, Pannee, Chanita Duangyiwa*, Manlika Sukitpaneenit, and Marc E.J. Stettler. ๒๐๒๒. Influence of Land Use and Meteorological Factors on PM2.5 and PM10 Concentrations in Bangkok, Thailand. Sustainability. ๑๔, no. ๙: ๕๓๖๗.
– พรรณี ชีวินศิริวัฒน์. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
ความเชี่ยวชาญ
– ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ภูมิศาสตร์ประชากร
เกียรติคุณที่ได้รับ
– รางวัลหน่วยปฎิบัติการวิจัย (Research Unit) ที่มีผลงานดีเด่น รางวัลเกียรติยศ มอบให้โดยสำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อหน่วย ภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ หัวหน้าหน่วย รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ – ตริตาภรณ์ช้างเผือก ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๓