ภาคีสมาชิก วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
– กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์เศรษฐศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๖๐–ปัจจุบัน)
– กรรมการ ในคณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทำข้อเสนอแผนแม่บทเรื่องสังคมผู้สูงอายุต่อรัฐบาล (พ.ศ. ๒๕๖๒–ปัจจุบัน)
ประวัติการศึกษา
– Bachelor of Arts (Economics), Swarthmore College, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๕)
– Master of Arts (Economics), University of Pennsylvania, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๗)
– Doctor of Philosophy (Economics), University of Pennsylvania, สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๑)
ประวัติการทำงานวิชาการ
– ทำงานในตำแหน่ง Young Professional ที่ธนาคารโลก กรุงวอชิงตัน ดี. ซี. สหรัฐอเมริกา, พ.ศ. ๒๕๒๑–๒๕๒๒
– อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ๒๕๒๒ และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
ประวัติการทำงานบริหาร
– คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. ๒๕๔๖–๒๕๔๙
– กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. ๒๕๔๗–๒๕๔๘
– ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, พ.ศ. ๒๕๕๐–๒๕๕๑
– กรรมการนโยบาย องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๕๕–๒๕๕๙ และดำรงตำแหน่งประธานกรรมการตรวจสอบขององค์การฯ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๗–๒๕๕๙
– กรรมการอิสระ และประธานกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน), พ.ศ. ๒๕๕๖–ปัจจุบัน
– กรรมการสภา มหาวิทยาลัยเกริก, พ.ศ. ๒๕๕๓–ปัจจุบัน
– กรรมการสภา มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๔๙–ปัจจุบัน และกรรมการ
บริหารมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, พ.ศ. ๒๕๕๑–ปัจจุบัน
ผลงานวิชาการ
– “เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยความทุกข์” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๑, หน้า ๑๐๓–๑๗๘.
– “ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ในช่วงสี่ทศวรรษของการพัฒนาประเทศ : ๒๕๐๔–๒๕๔๔” วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒–๓ (มิถุนายน–กันยายน ๒๕๔๕), หน้า ๑๔๑–๒๐๘.
– “การวิเคราะห์ดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจสำหรับประเทศไทย” รายงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ภายใต้โครงการแบบจำลองพยากรณ์เศรษฐกิจระยะสั้น เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กันยายน ๒๕๔๑.
– “ประสิทธิภาพการผลิตในประเทศไทย” (เขียนร่วมกับฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์) วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ ปีที่ ๑๒ ฉบับที่ ๔, ธันวาคม ๒๕๓๗, หน้า ๕–๔๑ และตีพิมพ์ในหนังสือ ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่… บทความเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริพระราชสมบัติครบ ๕๐ ปี : ว่าด้วยเศรษฐกิจไทย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ๒๕๓๙.
– “การศึกษาแนวทางในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลไทย : กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างประเทศ” (เขียนร่วมกับฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์) รายงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เสนอต่อสำนักงบประมาณ, มกราคม ๒๕๓๙.
– “Indicators and Analysis of Vulnearability to Currency Crisis: Thailand” in Recent Financial Crises: Analysis, Challenges and Implications, edited by Lawrence R. Klein and Tayyeb Shabbir, Edward Elgar Publishing, Inc., 2006, pp. 69–117.
– “Thai Current Quarter Model (CQM)” (with W. Wannitikul, Y. Kumasaka, F. G. Adams, L. R. Klein and S. Ozmucur.), a research report submitted to the National Economic and Social Development Board, Economic Research and Training Center (ERTC), Faculty of Economics, Thammasat University, 2005.
– “The Surprisingly Limited Impact of the Thai Crisis on Labor, Including on Many Allegedly More Vulnerable Workers” (with J. R. Behrman), a TDRI research report submitted to the International Centre for the Study of East Asian Development (ICSEAD), published as ICSEAD Working Paper Series, Vol. 2000-08, June 2000, and also published in Indian Journal of Labour Economics 43:3 (October 2000), 513–544.
– “Total Factor Productivity and the Service Sector in Thailand: 1980–1995,” APO Productivity Journal,Summer 1999, pp. 122–149.
– “Productivity Growth in Thailand” (with Chalongphob Sussangkarn), Research Monograph No. 15 by Thailand Development Research Institute, 1996.
ความเชี่ยวชาญ
เศรษฐศาสตร์
เกียรติคุณที่ได้รับ
– สอบได้ที่หนึ่งชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ แผนกศิลปะ (ภาษาฝรั่งเศส), ปีการศึกษา ๒๕๑๐
– ทุนเล่าเรียนหลวง (King’s Scholarship) พ.ศ. ๒๕๑๑–๒๕๑๕
– ทุน Rockefeller Scholarship พ.ศ. ๒๕๑๕–๒๕๑๘
– รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๕ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
– กีรตยาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๐
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทยชั้นสูงสุด (มหาวชิรมงกุฎ) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓)
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ ๔ (จตุตถดิเรกคุณาภรณ์) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖)
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด (มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก) (๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘)