รองศาสตราจารย์ ดร.นิยม รัฐอมฤต

แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๕  สิงหาคม  พ.ศ. ๒๕๖๓

           สาขาวิชารัฐศาสตร์ ประเภทวิชาสังคมศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

-ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต สาขาการปกครอง (เกียรตินิยมดี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๑๐)

-ปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๑๕)

          -M.A. in Comparative Politics, University of Pittsburgh, Pennsylvania, USA. (1981)

-ปริญญาเอก  Ph.D. in Comparative Politics, University of Pittsburgh, Pennsylvania, USA. (1984)

ประวัติการทำงานวิชาการ/วิชาชีพ

          – อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. ๒๕๑๖-พ.ศ. ๒๕๔๗)

          -กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๑-พ.ศ. ๒๕๓๕

-คณบดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๙-พ.ศ. ๒๕๔๑

          -รองเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๔๖-พ.ศ. ๒๕๔๙

          -กรรมการเลือกตั้งประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๖-พ.ศ. ๒๕๕๐

-ที่ปรึกษาประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐

          -กรรมการข้าราชการตุลาการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. ๒๕๕๐-พ.ศ. ๒๕๕๑

          -ผู้อำนวยการ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๕๔-พ.ศ. ๒๕๕๗

          -คณบดี วิทยาลัยนานาชาติ ปรีดีพนมยงค์ พ.ศ. ๒๕๕๗-พ.ศ. ๒๕๖๐

          -กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ พ.ศ. ๒๕๖๔-ปัจจุบัน

          -ที่ปรึกษาด้านการต่างประเทศ สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน

ผลงานวิชาการ/วิชาชีพที่สำคัญ

          ๑. การเมืองไทย.. พัฒนาการ ปัญหา และแนวทางแก้ไข  (๒๕๔๐) กรุงเทพฯ เอื้ออาทร

๒. Capacity Building of Thai Local Authorities (co-researcher) (2002) Thailand’s Ministry of Interior and JICA.

๓. การปกครองระบอบประชาธิปไตยในนานาประเทศ (๒๕๕๓) กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๔. Eye on Thai Democracy: National and Local Issues (ed.) (2549) Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.        

๕. การปกครองท้องถิ่นจีน (๒๕๕๗) กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า

๖. สารานุกรมการเมืองการปกครองไทย (ร่วมเขียน) (๒๕๕๙) กรุงเทพฯ ราชบัณฑิตยสภา

๗. กฎหมายรัฐธรรมนูญจีน (วิจัยร่วม) (๒๕๕๙) กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์วิญญูชน

๘.  การปกครองท้องถิ่นในมณฑลซานตง สาธารณรัฐประชาชนจีน (๒๕๖๐) กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า

๙. องค์กรอิสระกับการสร้างความสมดุลในระบบการเมือง (วิจัยร่วม) (๒๕๖๒)  กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า

๑๐. State-Building in ASEAN Member Countries (2017) in Thammasat University PBIC Journal of ASEAN-Plus, Vol. 1 No. 1 January 2017, pp. 209-226 

๑๑. รัฐกับการแก้ไขปัญหาความยากจนในบริบทของจีนฯ (ผู้วิจัยร่วม) (๒๕๖๓) กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า

๑๒. การเสริมสร้างพรรคการเมืองให้เข้มแข็งเป็นสถาบันของประชาชน (วิจัยร่วม) (๒๕๖๔) กรุงเทพฯ สถาบันพระปกเกล้า

๑๓. กระบวนการไต่สวนและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง…ในอำนาจหน้าที่ของป.ป.ช. (วิจัยร่วม) (๒๕๔๙) กรุงเทพฯ  สถาบันพระปกเกล้า

          ๑๔. Re-establishing Democracy: How Kriangsak and Prem Managed Political Parties (2549) Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

          ๑๕. สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวโน้มบริบทการเปลี่ยนแปลงสังคมโลกและสังคมไทยภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ด้านการเมืองการปกครอง (๒๕๕๑) กรุงเทพฯ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ

๑๖. Codes of Conduct for Parliamentarians: A Comparative Study (co-researcher) (2551) Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

๑๗. ความก้าวหน้ากระบวนการกระจายอำนาจในประเทศไทยและข้อเสนอ (วิจัยร่วมกับนครินทร์ เมฆไตรรัตน์และคณะ) (๒๕๕๒) กรุงเทพฯ  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ความเชี่ยวชาญ     การเมืองเปรียบเทียบ การเมืองการปกครองไทย การเมืองการปกครองจีน

เกียรติคุณที่ได้รับ

          -ประกาศนียบัตรชั้นสูงกิตติมศักดิ์ สถาบันพระปกเกล้า ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ 

          -โล่ประกาศเกียรติคุณของคณะรัฐศาสตร์และสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๑

            -เกียรติบัตรศิษย์เก่าผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕

            -โล่เกียรติยศประจำปี ๒๕๖๖ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖