ทฤษฎีระบบราชการกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา

รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ภาคีสมาชิก ทฤษฎีการบริหารองค์การขนาดใหญ่ที่เป็นที่ยอมรับและมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมาจนกระทั่งปัจจุบันคือ ทฤษฎีระบบราชการ (Bureaucracy) ของแมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ซึ่งประกอบด้วยหลักการ ๗ ประการ โดยหลักการที่สำคัญที่สุด คือ หลักสายการบังคับบัญชา (Hierachy) ซึ่งแมกซ์ เวเบอร์ เห็นว่าการบริหารองค์การขนาดใหญ่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของตำแหน่งต่าง ๆ เป็นลำดับชั้น  อย่างในโครงสร้างขององค์การซึ่งเป็นลักษณะเป็นพีระมิด เช่นเดียวกับโครงสร้างในฝ่ายบริหารของรัฐบาลในประเทศไทย กล่าวคือ …

ปัจจัยเชิงปฏิกิริยาที่ก่อกำเนิดรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

รศ. ดร.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ภาคีสมาชิก การกำเนิดขึ้นของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีและตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอังกฤษเกิดจากปัจจัยหลากหลายประการที่สะสมกันมาและส่งผลกระทบต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ หรือเรียกว่าเป็น “ปัจจัยเชิงปฏิกิริยา” เริ่มตั้งแต่ “พัฒนาการของการปกครองในอังกฤษ” ซึ่งมีพัฒนาการผ่านระยะเวลามาเกือบพันปีนับแต่การจากไปของชาวโรมันกระทั่งการมีรัฐสภาเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก อำนาจเด็ดขาดของพระมหากษัตริย์ค่อย ๆ ถูกจำกัดลงเป็นลำดับ ได้สั่งสมและก่อสร้างรากฐานรูปแบบการปกครองที่มีรัฐสภา มีการแบ่งอำนาจให้แก่ขุนนาง เสนาบดี รวมถึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ต่าง ๆ กระทั่งมาถึงราชวงศ์ทิวดอร์  ซึ่งในช่วงนี้เป็นจุดกำเนิดของ “ปัญหาด้านศาสนาในอังกฤษ” ส่งผลให้มีการแยกนิกายของคริสต์ศาสนาออกมาเป็นนิกายอังกฤษ จนกลายเป็นที่ยึดถือและค่านิยมของชาวอังกฤษว่าพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษจะต้องเป็นโปรเตสแตนต์ที่นับถือนิกายอังกฤษเท่านั้น ปัจจัยเช่นนี้เองที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางการปกครองในอังกฤษและก่อให้เกิด “กฎหมายเกี่ยวกับการสืบราชสันติวงศ์” ที่สำคัญได้แก่ …