ศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

ราชบัณฑิต  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สาขาวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ประเภทวิชานิติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

ประวัติการศึกษา

          – นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๘
          – เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา พ.ศ. ๒๕๑๙
          – Diplôme Supérieur de L’ Université (droit adminstratif) Université de paris II ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๒๒
          – D.E.A. (mention bien) Université de paris X (Nanterre) ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๒๔
          – Docteur en droit (3e Cycle en droit public général (mention trés bien) Université de paris X (Nanterre) ประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. ๒๕๒๕

          –ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น ๔๑๑๑

          – บ.ย.ส. รุ่น ๑๕, นธป. รุ่น ๔, วตท. รุ่น ๘, วพน. รุ่น ๙

ประวัติการทำงานวิชาการ

– ศาสตราจารย์กิตติคุณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– สมาชิกวุฒิสภา (๒๕๓๓-๒๕๓๔)

– สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (๒๕๓๙-๒๕๔๐)

ประวัติการทำงานบริหาร

– คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

– เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า (พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖, พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๗)

– ประธานกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑๓

– เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (พ.ศ. ๒๕๔๖-๒๕๔๙)

– รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๓๔)

– ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘)

– รองประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๘)

ผลงานวิชาการ

          – พัฒนาการกฎหมายป่าไม้ไทย : จาก “บุกเบิก” ที่ได้รับการส่งเสริมบทเป็น “บุกรุก” ที่ต้องจับกุม, ๒๕๓๖
          – ทิศทางวิจัยทางนิติศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ, ๒๕๓๗
          – ระบบการตรวจสอบทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง, ๒๕๓๘
          – ศาลรัฐธรรมนูญ, ๒๕๔๑
          – การสร้างธรรมาภิบาลในสังคม, ๒๕๔๔
          – ทศพิธราชธรรมกับพระมหากษัตริย์ไทย, ๒๕๔๙
          – กฎหมายมหาชน, เล่ม ๑-๔
          – คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งว่าด้วยมรดก
          – พลวัตของการเมืองไทย, ๒๕๕๐
          – ภาพรวมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ (๒๕๕๐)
          – มาตรการและกลไกในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ, ๒๕๕๑
          – แฉเอกสาร “ลับที่สุด” ปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕-๒๕๕๑ (๒๕๕๑)

เกียรติคุณที่ได้รับ

– เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

– Grand Cross of the Order of Orange Nassau จากประเทศเนเธอร์แลนด์
          – Officer de L’Ordre National du Mérite จากประเทศฝรั่งเศส
          – นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ประจำปี ๒๕๔๓ จากสภาวิจัยแห่งชาติ
          – นิสิตเก่านิติศาสตร์ดีเด่นจากสมาคมนิสิตเก่า คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          – นักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น
          – พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขารัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
          – ผู้ชายแห่งปี
          – นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
          – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาวชิรมงกุฎ
          – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ